คุณแม่…ทราบหรือไม่!
สารสื่อประสาทคือต้นกำเนิดการทำงานของสมอง
ความสามารถในการทำงานต่างๆ ของสมองนั้นล้วนเกิดขึ้นจาก การสื่อสารกันอย่างเป็นระบบระหว่างเซลล์ประสาทในสมองนับล้านๆเซลล์ การสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทต้องอาศัย “สารสื่อประสาท” ซึ่งเป็นสารเคมีที่สมองสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาททำให้เกิดการทำงานของสมองสร้างความทรงจำการเรียนรู้ ส่งผลต่อความคิดการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการพัฒนาการด้านอารมณ์พฤติกรรมและบุคลิกภาพอีกด้วย ร่างกายเด็กไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาทขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีน เช่น แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ให้กรดอะมิโนจำเป็นเพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท
“แอลฟา-แล็คตัลบูมิน สารอาหารที่ให้กรดอะมิโนจำเป็นเพื่อใช้สร้างสารสื่อประสาท ช่วยในการทำงานของสมอง”
“แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” พบได้น้อยในนมผสมทั่วไป โดย แอลฟา-แล็คตัลบูมินที่ให้กรดอะมิโนจำเป็นที่ใช้เป็นสารตั้งต้น สำหรับการสร้างสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารที่สำคัญ ต่อการทำงานของสมอง
คำถาม: แอลฟา-แล็คตัลบูมิน คืออะไร มีความสำคัญสำหรับลูกน้อยอย่างไร?
คำตอบ: แอลฟา-แล็คตัลบูมินคือโปรตีนคุณภาพสูง พบมากที่สุดในน้ำนมแม่ ย่อยง่าย และให้กรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วย การเจริญเติบโตและพัฒนาสมอง อย่างเช่น ทริปโตแฟน หนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท และ เซราโตนิน ช่วยในการควบคุมการนอนหลับ กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญา แอลฟา-แล็คตัลบูมิน นอกจากจะย่อยง่ายแล้ว เมื่อย่อยแล้วยังให้เปปไทด์และกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายเด็กต้องการในปริมาณสูง
คำถาม: แอลฟา-แล็คตัลบูมิน คือ โปรตีนหลักในนมแม่ จริงหรือ ?
คำตอบ: เนื่องจากนมแม่เป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และเต็มไปด้วย สารอาหารต่างๆที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาและการทำงานของสมอง เป็นโปรตีนหลักที่พบมากในนมแม่นั้น เป็นโปรตีนคุณภาพสูง ชื่อ “แอลฟา- แล็คตัลบูมิน” Alpha Lactalbumin)2
คำถาม: แอลฟา- แล็คตัลบูมิน กับผลวิจัยทางการแพทย์ในต่างประเทศเป็นอย่างไร
คำตอบ: มีผลวิจัยทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ทานนมแม่ซึ่งมีปริมาณแอลฟา-แล็คตัลบูมินสูงจะได้รับทริบโตเฟนสูง และอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กที่ทานนมแม่ที่มีทริบโตเฟนสูงสามารถนอนหลับได้ดีกว่าและมีอารมณ์ดีกว่าเด็กที่กินนมผสมทั่วไป
“มั่นใจด้วย ผลงานวิจัยทางวิชาการ”
แอลฟา-แล็คตัลบูมิน มีผลงานวิจัยทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกว่า 3,903 งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน US National Library of Medicine.
National Institute of Health.
*http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/?term=alphalactalbumin
[access on 21 April 2016]
Reference:
1. http://www.jewishvirtuallibrary.org/jsource/biography/Kandel.html [11/26/2012 11:14:24 AM]
2. Lonnerdal B, Lein EL. Nutritional and Physiologic of Alpha-Lactalbumin in infants. Nutrition Reviews 2003: 61(9); 295-305