การหายใจเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการมีชีวิต รวมทั้งทารกที่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ด้วย ปกติคนเราจะหายใจได้เพราะมีปอดเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้หายใจได้ แต่สำหรับเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา กว่าปอดจะเริ่มพัฒนาก็ประมาณ เดือนที่ 7 หรือ ประมาณ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป ซึ่งก็ยังไม่สามารถหายใจเองได้ จนกว่าจะคลอดออกมา
โดยในช่วงที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดานั้นหายใจอย่างไร เรามาดูกันค่ะ
ลูกอยู่ในท้องแม่หายใจอย่างไร ?
1.ในช่วงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์
ทารกในครรภ์ของคุณแม่จะได้รับออกซิเจน ซึ่งถูกลำเลียงผ่านสายสะดือ โดยเส้นเลือดดำขนาดใหญ่ ที่ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปสู่ลูกนั่นเองค่ะ
2.ในช่วงอายุครรภ์ 18 สัปดาห์
ปอดเริ่มพัฒนาแล้ว แต่ว่าลูกก็ยังหายใจได้โดยผ่านทางรกอยู่ จนกว่าจะคลอด
3.ในช่วงอายุครรภ์ 26 สัปดาห์
ปอดกำลังพัฒนาไปในทางที่เกือบจะสมบูรณ์ หลอดลมในปอดกำลังเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ถุงลมในปอดของลูกจะเริ่มก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงตอนที่ลูกมีอายุครบ 8 ปี จมูกของลูกเริ่มฝึกการหายใจแล้ว แต่ยังไม่สามารถหายใจได้เองค่ะ
4.ในช่วงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์
ตอนนี้ถุงลมเล็ก ๆ ในปอดของลูกเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ปอดก็ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ในปอดตอนนี้จะมีน้ำหล่อลื่นอยู่รอบ ๆ ถุงลมเพื่อป้องกันการขยายตัวของปอดเมื่อลูกเริ่มหายใจเองครั้งแรกหลังคลอด ตอนนี้แม้ปอดยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าเด็กคลอดก่อนกำหนดในเดือนนี้ก็มีโอกาสที่จะรอดชีวิตได้สูงเช่นกัน
5.ในช่วงอายุครรภ์ 40 สัปดาห์
ปอดของลูกพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว พร้อมที่จะหายใจได้เองแล้ว เมื่อถึงเวลาคลอด ลูกก็สามารถหายใจได้เองแล้วนะคะ
ปอดจะเป็นอวัยวะที่พัฒนาในช่วงท้าย ๆ ของการเจริญเติบโตของทารก ดังนั้นคุณแม่ต้องประคับประคองการตั้งครรภ์นี้ให้สมบูรณ์และให้ถึงเวลาที่เหมาะสมที่ทารกจะสามารถหายใจเองได้หลังคลอด นั่นคือช่วง 38-40 สัปดาห์ นั่นเองค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ