สมองมีต้นกำเนิดมาจากซีรีบรัม(สมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย) ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 5 สัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิ แยกออกจากกันโดยระนาบ เป็น ซ้ายกับขวา จึงพรรณนาได้ว่าสมองแบ่งออกเป็น สมองซีกซ้าย (left cerebral hemisphere) และสมองซีกขวา (right cerebral hemisphere) ลักษณะภายนอกของ สมองทั้งสองซีก หากมองด้วยตาเปล่าก็ไม่แตกต่างกัน แต่ภายในแต่ละซีก มีรายละเอียดที่ซ้ำซ้อนแตกต่างกันอย่างชัดเจน
สมองทั้งสองซีก ทำการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้ แต่ละซีกรับข้อมูลความรู้สึกมาจากด้านตรงข้ามของร่างกาย สัญญาณควบคุมการเคลื่อนไหวที่สมองส่งไปยังร่างกายก็มาจากซีกสมองด้านตรงข้ามเช่นกัน เช่น ร่างกายด้านซ้ายจะถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา เป็นต้น ประสาทสัมผัสของร่างกาย จะเป็นตัวรับข้อมูลและส่งข้อมูลให้สมองแปลความหมาย การใช้สมองทั้งสองซีกจึงเป็นการใช้สมองที่มีศักยภาพมากที่สุด
หน้าที่การทำงานของสมองซีกขวา มีอะไรบ้าง?
สมองซีกขวาทำหน้าที่ ในเรื่องของความเข้าใจการเห็นภาพสามมิติ ความรู้สึกที่มีต่องานศิลปะ ความมีสุนทรียะด้านดนตรี เสียงเพลง การใช้จินตนาการ รสนิยม รวมทั้งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของมือซ้ายและร่างกายซีกซ้าย หรือเข้าใจง่ายๆว่า สมองซีกขวา = ใช้ในการจินตนาการ ความจำ ซึ่งบ่อยครั้งเราจะสังเกตุเห็นได้ว่า เด็กที่ถนัดซ้าย มักมีความจำดี และมีจินตนาการเป็นเลิศ
หน้าที่การทำงานของสมองซีกซ้าย มีอะไรบ้าง?
สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ ในเรื่องของการใช้ภาษา การเขียน การอ่าน ทักษะด้านตัวเลข การใช้เหตุผล การควบคุม การพูด ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ การควบคุมการทำงานของมือขวาและร่างกายซีกขวา หรือเข้าใจง่ายๆว่า สมองซีกซ้าย = ใช้ในเรื่องตรรกะ เหตุผล ซึ่งในการวัด IQ ส่วนมากจะวัดจากสมองซีกซ้ายนี่เอง
สมองซีกขวาพัฒนาก่อนสมองซีกซ้าย เด็กที่อยู่ในวัยทารกจนถึงวัย 2 ขวบ จะสามารถพัฒนาสมองซีกขวาได้ดี เพราะสมองซีกขวาเปิดและเป็นซีกที่มีอิทธิพลในช่วงวัยเด็ก การเรียนรู้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย
ส่วนสมองซีกช้ายจะเริ่มมีอิทธิพลก็เมื่อเด็กมีอายุ 3 ขวบขึ้นไป ซึงการเรียนรู้ด้วยสมองซีกซ้ายนั้น เด็กต้องมีสติ มีสมาธิและความพยายาม มากกว่าสมองซีกขวา
ซึ่งเด็กที่อยู่ในวัยทารกจนถึง 2 ขวบนั้น สมองซีกขวาเปิดอยู่แล้วและเรียกได้ว่าเปิดรับข้อมูลได้เต็มที่และพร้อมใช้งาน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองของลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในช่วงวัยทารกเลยทีเดียวค่ะ
ถึงแม้ว่าสมองทั้งสองซีกของเรานั้นจะมีการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ถ้าหากเราสามารถพัฒนาสมองของลูกน้อยให้ใช้สมองทั้งสองซีกในเวลาเดียวกันได้ล่ะก็ จะทำให้ลูกน้อยเพิ่มศักยภาพในการเรียนได้เป็นอย่างดีทีเดียวเลยล่ะค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ