การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การรับประทานยาก่อนอาหาร หรือหลังอาหารมีความสำคัญอย่างไรมาดูกันค่ะ
ทานยาก่อนอาหาร – หลังอาหาร สำคัญอย่างไร
ยาก่อนอาหาร
ควรรับประทานในช่วงที่ท้องว่าง ก่อนมื้ออาหาร 30 นาที เนื่องจากตัวยานั้นสามารถถูกทำลายได้ด้วยกรดในกระเพาะอาหาร หากรับประทานอาหารเข้าไปก่อนแล้วทานยาตามจะทำให้ตัวยาถูกทำลาย อีกทั้งอาหารบางอย่าง อาจมีส่วนประกอบที่ลดการดูดซึมของตัวยานั้นๆ ทำให้ยาไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคค่ะ
ยาหลังอาหาร
ควรรับประทานหลังอาหารทันที หรือ ไม่เกิน 15 นาทีหลังอาหาร หรืออาจทานพร้อมกับอาหารก็ได้ค่ะ ยาประเภทนี้ส่วนใหญ่จะอาศัยกรดในกระเพาะอาหารเป็นตัวช่วยในการดูดซึมค่ะ ซึ่งการรับประทานในตอนท้องว่าง อาจทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้
ยาก่อนนอน
ยาประเภทนี้มีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงนอน หรือเวียนศีรษะ ซึ่งควรรับประทานก่อนเข้านอน 15-30 นาที เพื่อให้ยาออกฤทธิ์พอดีกับเวลานอนค่ะ หากทานยานี้ก่อนจะถึงเวลาเข้านอนเป็นเวลานานมาก จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานอื่นๆลดลง จึงไม่ควรทานยา โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องขับรถนะคะ
ยาที่รับประทานเมื่อมีอาการ
ยาประเภทนี้มักระบุว่าให้รับประทานได้เมื่อมีอาการ โดยให้เว้นช่วงห่างในแต่ละครั้งที่ทานยา ตามฉลากบอก เช่นทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการสามารถรับประทานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอมื้ออาหารใดๆ เพราะยาเหล่านี้ไม่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ไม่ทำให้ง่วงนอนค่ะ
ในกรณีที่ลืมรับประทานยา มื้อใดๆก็ตาม ให้หยุดยามื้อนั้นไปเลยค่ะ แล้วให้เริ่มต้นใหม่ในมื้อถัดไป เช่น มื้อเช้าลืมรับประทานยาก่อนอาหาร แต่ทานอาหารเช้าเข้าไปแล้ว ก็ให้เก็บยาก่อนอาหารเม็ดนั้น ไว้รับประทานในรอบถัดไปแทนค่ะ
Photo Credit : livescience.com
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ