fbpx
Homeการเลี้ยงลูกการดูแลสุขภาพเด็กลูกเลือดดำเดาไหล ทำอย่างไร? เลือดกำเดาไหลแบบไหนที่ต้องไปหาหมอ

ลูกเลือดดำเดาไหล ทำอย่างไร? เลือดกำเดาไหลแบบไหนที่ต้องไปหาหมอ

การมีเลือดไหลออกจากร่างกายคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ โดยเฉพาะเลือดที่ไหลออกจากจมูกเด็ก ๆ ในบ้านของคุณ หรือที่เราเรียกกันว่า เลือดกำเดา ถึงแม้ว่าอาการเลือดกำเดาไหลจะเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ และ ไม่ร้ายแรงอะไร แต่คุณควรสังเกตอาการและเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนที่จะทำการส่งลูกไปโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลเบื่อต้นสำหรับเด็กที่มีอาการเลือดกำเดาไหล

  1. อย่าจับหัวลูกแหงนขึ้นเพราะเลือดอาจไหลลงคอ ทำให้สำลัก หรือ อาเจียนได้
  2. อย่าจับลูกนอนราบ ให้นอนหนุนหมอน ระดับหัวต้องอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ
  3. ให้ลูกนั่งตัวตรง และบีบจมูกเพื่อปิดการไหลของเลือดไว้ประมาณ 5-10 นาที ให้ลูกหายใจทางปากแทน
  4. ใช้ผ้าชุบน้ำแข็งประคบ ความเย็นจะทำให้เลือดหยุดไหล ห้ามใส่อะไรเข้าไปในจมูก ไม่ต้องพยายามใช้อะไรเข้าไปในจมูกเพื่อเช็ดเลือดให้ออก
  5. อย่าให้สั่งน้ำมูก หรือเลือดออกมาแรง ๆ เพราะจะทำให้เยื้อบุในโพรงจมูกอักเสบ และจะทำให้เกิดเลือดกำเดาอีก

ปกติแล้วอาการเลือดกำเดาไหลจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ กับเด็กอายุ 2-10 ปี

แต่ถ้าลูกมีอาการแบบนี้บ่อย หรือมีอาการแนวโน้มดังต่อไปนี้ ต้องรีบพาลูกไปหาหมอทันทีค่ะ

  1. มีเลือดกำเดาไหลก่อนอายุ 2 ขวบ
  2. มีเลือดกำเดาไหลเกินกว่า 20 นาที
  3. มีเลือดกำเดาไหลหลังจากโดยกระแทก หรือ มีอุบัติเหตุที่รุนแรงเกิดขึ้น
  4. มีเลือดกำเดาไหลออกมามากกว่าปกติ กว่าที่ควรจะเป็น
  5. ถ้าลูกกลืนเลือดกำเดาเข้าไปมาก จนมีอาการอาเจียน
  6. ถ้าเลือดกำเดาไหล และ มีอาการอื่น ๆ ด้วย เช่นมีเลือดออกตามไรฟัน เหงือก หรือ ผื่นขึ้นตามตัว อาจเกิดจากอาการไข้เลือดออก

สาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดกำเดาไหล

จมูกเป็นส่วนที่บอบบาง และ มีเนื้อเยื้ออ่อน ทำให้เกิดความเสียหายและมีเลือดออกค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศแห้ง หรือ โดนกระแทก โดนชน อุณหภูมิเปลี่ยนเร็วอย่างเฉียบพลัน ร้อนเกินไป เย็นเกินไป หรือสั่งน้ำมูกแรงเกินไปนั่นเอง

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular