fbpx
Homeการตั้งครรภ์ขนาดท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ มีผลต่อน้ำหนักตัวของลูกในครรภ์ อย่างไร?

ขนาดท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ มีผลต่อน้ำหนักตัวของลูกในครรภ์ อย่างไร?

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าการตั้งท้องต้องมีขนาดท้องที่ใหญ่กว่าปกติ เพราะการที่เราอุ้มท้องลูกคนหนึ่งนั่นหมายถึงขนาดตัวของลูก  ขนาดของท้องไม่ได้แค่บอกถึงรูปร่างของแม่และขนาดตัวของลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อขนาดท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ของขนาดท้องกับขนาดของทารกในครรภ์  ได้แก่  ขนาดของตัวทารก  พันธุกรรมและภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.ขนาดรูปร่างของคุณแม่ตั้งครรภ์

ขนาดรูปร่างของคุณแม่ตั้งครรภ์
ขนาดรูปร่างของคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีรูปร่างเล็กเป็นพื้นฐาน การเจริญเติบโตในช่วงแรก ๆ ของทารกในครรภ์ หรือจนถึงใกล้คลอด ขนาดของท้องจะไม่ใหญ่มากเท่ากับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีรูปร่างที่ใหญ่กว่า ถือเป็นข้อจำกัดทางด้านร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีขนาดท้องแตกต่างกันไปแต่ละคน

2.พันธุกรรมขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของพ่อแม่มีรูปร่างขนาดไหน

ร่างกายของพ่อแม่มีรูปร่างขนาดไหน
ร่างกายของพ่อแม่มีรูปร่างขนาดไหน

หากพ่อแม่มีรูปร่างเล็ก ทารกที่คลอดออกมามักจะมีขนาดตัวที่เล็กตามไปด้วย  แต่ก็ยังมีปัจจัยด้านอื่นประกอบด้วย ได้แก่ การรับประทานอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์   การทำงานภายในของรก  หรือการเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์   หากคุณแม่ตัังครรภ์ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอหรือครบสมบูรณ์ตามร่างกายที่ต้องการ น้ำหนักตัวของลูกในท้องก็จะมีน้ำหนักและขนาดของร่างกายที่เหมาะสม

3.จำนวนครรภ์ของคุณแม่

จำนวนครรภ์ของคุณแม่
จำนวนครรภ์ของคุณแม่

ถ้าคุณแม่ตั้งท้องครั้งแรก ท้องก็จะดูไม่ใหญ่มากนัก  เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องยังไม่ได้ผ่านการยืดขยายมาก ๆ ระยะเวลาจากการตั้งท้องตลอด 9 เดือนในการตั้งครรภ์ปกติจึงทำให้ท้องดูเล็ก ระยะแรกของการตั้งท้องถ้าไม่สังเกตอาจไม่รู้ว่าท้องด้วยซ้ำ จำนวนการตั้งครรภ์ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกคนแรก ขนาดครรภ์มักจะเห็นไม่ชัด เมื่อเทียบกับคุณแม่ที่อายุครรภ์เท่ากัน  แต่เคยตั้งครรภ์มาก่อนแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณแม่ครรภ์แรกยังกระชับอยู่นั่นเอง

4.ความกระชับและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง

หากคุณแม่เป็นคนรักสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอก่อนท้อง กล้ามท้องจะกระชับ แข็งแรงตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง ก็ทำให้ดูว่าท้องเล็กกว่าคุณแม่คนอื่น ๆ ได้ สำหรับขนาดของตัวทารกเองนั้น หากครรภ์มีภาวะผิดปกติจะทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติตามไปด้วยและนอกจากนี้ยังรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น

  • กรณีที่รกทำงานไม่ปกติหรือมีขนาดเล็กก็จะทำให้การส่งผ่านอาหารจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ได้น้อยลงเช่นกัน ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักและขนาดตัวที่เล็กตามไปด้วยได้
  • โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ เช่น  ภาวะครรภ์เป็นพิษ ย่อมส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้โดยตรง ทำให้ทารกมีขนาดเล็กและไม่เจริญเติบโตอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของทารกในครรภ์อีกด้วย

การดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม

  • คุณแแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลครรภ์เป็นอย่างดี กินอาหารดี ๆ มีประโยชน์ได้ครบทั้ง 5 หมู่ พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ควรจัดกการเรื่องฝากครรภ์ให้เรียบร้อยตามขั้นตอน ไปพบคุณหมอตรงตามนัดทุกครั้ง ตรวจดูขนาดและการทำงานของรกอย่างใส่ใจ

กรณี หากผลออกมาว่าอยู่ในเกณฑ์การตั้งครรภ์ปรกติ  ไม่มีผลของการตั้งครรภ์ เช่น เกิดความผิดปรกติกับลูกในท้อง หรือกับร่างกายของแม่เอง หรือมีภาวะเสี่ยงใด ๆ จนต้องเฝ้าระวัง ก็ถือว่าภาวะการตั้งครรภ์เป็นปกติ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular