สมองทารก คือ ส่วนสำคัญตั้งแต่เริ่มสร้างตัวตนเป็นทารกในครรภ์คุณแม่ เริ่มจากที่ไข่ของคุณผสมกับอสุจิของคุณพ่อ เซลล์จะเกิดการแบ่งตัว อย่างรวดเร็ว และหลังจากที่เริ่มแบ่งตัวแล้ว ส่วนหนึ่งจะเจริญเติบโตเป็นสมอง
แรกปฏิสนธิ
สมองทารก เริ่มแรกมีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ แล้วค่อย ๆ โค้งเข้าบรรจบกันเป็นท่อเหมือนหลอดกาแฟ เรียกว่า “ท่อประสาท” หลังจากนั้นจะเริ่มแบ่งออกเป็น สมองซีกซ้าย ซีกขวา ไขสันหลังเริ่มพัฒนาตามมา
สมองทารกในท้องคุณแม่ เดือนที่ 1
โครงสร้างของสมองในส่วนที่ดูแลเรื่องการหายใจ หัวใจ และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเริ่มปรากฏ ต่อมผลิตฮอร์โมนกำลังพัฒนา พร้อมทั้งการพัฒนาสมองกำลังพัฒนาด้วยเช่นกัน ได้แก่
สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ดูแลอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าใจภาษา สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ดูแลการได้ยิน โพรงสมองทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย และเริ่มพัฒนาสมองในขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง
สมองทารกในท้องคุณแม่ เดือนที่ 2 – 3
เซลล์ประสาทเริ่มแบ่งตัวและแยกเป็นสมองกับไขสันหลังอย่างชัดเจน โดยประมาณสัปดาห์ที่ 6 ไซแนพส์(synapse) หรือจุดประสานประสาทแรกเกิดขึ้นที่ไขสันหลัง เซลล์ประสาทเริ่มสัมผัสกันจนเกิดวงจรประสาท ส่งผลให้เกิดการรับ – ส่งข้อมูล ในสมอง สมองของลูกจะเริ่มทำงาน ลูกเริ่มขยับตัวได้แล้วแต่คุณแม่จะยังไม่รู้สึก
สมองทารกในท้องคุณแม่ เดือนที่ 3 – 4
ในช่วงนี้สมองของทารกจะมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วแขก เส้นใยประสาทเริ่มมีไขมันมาล้อมรอบ ทำให้การสื่อสารรับ – ส่ง ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สมองทารกในท้องคุณแม่ เดือนที่ 4 – 6
ลูกเริ่มหายใจเป็นจังหวะ การดูดกลืนเริ่มทำงานไปพร้อมกันกับการทำงานของก้านสมอง (Brainstem) ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการทำงานของอวัยวะหลักในการดำรงชีวิต เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ เป็นต้น
ในกรณีช่วงใกล้ครบกำหนดคลอด ซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ หรือสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) คือ ส่วนสำคัญที่จะควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกายให้เป็นระบบ ดังนั้น หากลูกคลอดก่อนกำหนดในช่วงนี้ ลูกจะสามารถตอบสนองต่อปฏิกิริยาพื้นฐานได้ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส เป็นต้น
สมองทารกในท้องคุณแม่ เดือนที่ 6 – 7
เริ่มเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายหรือไตรมาสที่สามกันแล้ว ช่วงนี้สมองของลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผิวสมองยังราบเรียบ ไม่มีรอยหยัก มีการสร้างไขมันมากขึ้น จำนวนเซลล์ประสาท เส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น
สมองทารกในท้องคุณแม่ เดือนที่ 7 – 9
ใกล้คลอดเข้าไปทุกทีแล้ว สมองทารกเริ่มมีรอยหยักบนพื้นผิวสมองเพิ่มเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลเซลล์ประสาทและวงจรประสาททำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์ ลูกเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยเสียงที่มีการทำซ้ำ งานวิจัยทางการแพทย์ ระบุว่า ทารกหลังคลอดมีปฏิกิริยาต่อเสียงที่คุ้นเคยขณะอยู่ในท้องแม่โดยเฉพาะเสียงของแม่นั่นเอง
ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า การพัฒนาสมองทารกน้อยเป็นอย่างไรกันบ้างตลอด 9 เดือนที่คุณแม่อุ้มท้อง สิ่งสำคัญ คือ การบำรุงรักษาสุขภาพและร่างกายของคุณแม่ให้แข็งแรง การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่มีผลดีต่อสมอง ที่สำคัญอย่าเครียดนะคะ เพราะความเครียดของคุณแม่จะส่งโดยตรงต่อลูกน้อยโดยตรง อยากให้ลูกเลี้ยงง่ายคุณแม่ต้องอารมณ์ดีนะคะ
เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ