ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันนี้อย่างที่เราทราบกันดีว่ามีโรคระบาดที่เรียกว่าโควิด 19 แพร่ระบาดอย่างรุนแรงมาเกือบ 2 ปี และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นเลย การเรียนออนไลน์จึงเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเราเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าสำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่มีลูกน้อยอยู่ในช่วงอนุบาลคงจะเจอกับปัญหาในการเรียนออนไลน์อย่างมาก เพราะเด็กในวัยนี้ไม่สามารถอยู่นิ่งได้มักจะซุกซนตามประสาเด็กทั่วไป วันนี้เราจึงอยากให้คุณแม่ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการเรียนออนไลน์อนุบาล พร้อมกับวิธีรับมือ จะเป็นอย่างไรนั้นมาดูกันเลย
เรียนออนไลน์อนุบาล กับปัญหาที่ต้องเจอ
แน่นอนว่าการเรียนออนไลน์อนุบาล อาจไม่ใช่เรื่องที่ง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องคอยควบคุมกำกับดูแล ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเรียนออนไลน์ สำหรับหัวข้อนี้เราจะกล่าวถึงปัญหาหลัก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องพบเจอซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- เรียนออนไลน์อนุบาล 3 อาจเป็นการเรียนที่ขาดประสิทธิภาพเพราะส่วนใหญ่แล้วเด็กมักจะขาดสมาธิในการเรียน และมักจะให้ความสนใจกับสิ่งรอบข้างมากกว่า ด้วยสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียน ครอบครัวบางคนมีสมาชิกในครอบครัวเยอะ ทำให้ส่งเสียงรบกวนสมาธิได้ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นปัญหาของการเรียนออนไลน์
- กิจกรรมต่าง ๆ จากที่เคยได้เรียนรู้ในห้องเรียน พอเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์กิจกรรมนั้นกลับหายไป จึงทำให้เด็ก ๆ ไม่ได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมเหล่านี้ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เรากล่าวมานี้ เช่น การเต้น การร้องเพลง การออกกำลังกาย จะช่วยทำให้เด็กเพลิดเพลินและสนุกสนานกับเพื่อน ๆ ร่วมห้อง
- เด็กจะเริ่มเบื่อหน่ายกับการเรียนทำให้ไม่อยากเรียนซึ่งถือเป็นปัญหาที่คุณแม่จำเป็นจะต้องรับมือและทำให้ลูกน้อยหันมาสนใจกับการเรียนออนไลน์ เราต้องบอกเลยว่าการเรียนออนไลน์อนุบาลนั้นมีปัญหาเยอะมาก ๆ เลยทีเดียว ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นควรจะต้องเปิดเทอมเพื่อให้เด็กได้เข้าไปเรียนรู้ในโรงเรียน จะได้ความรู้มากกว่า
- คุณครูจะสั่งการบ้านเด็กมากขึ้น นั่นเป็นเพราะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดอาจทำให้สอนไม่ทัน บางบทเรียนจึงจำเป็นจะต้องสั่งงานเพิ่ม ปัญหาก็คงตกมาถึงมือคุณแม่ที่จะต้องเคี่ยวเข็ญลูกน้อยให้ทำการบ้าน
- ทำให้เสียสุขภาพไม่ว่าจะเป็น การปวดตาที่ต้องจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการเรียนออนไลน์อนุบาล เพราะในช่วงวัยนี้สายตายังไม่สามารถรับกับแสงหน้าจอได้เป็นเวลานาน ยิ่งถ้าได้เรียนออนไลน์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้ประสาทตาเสียหรือทำงานได้อย่างไร้ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้ปวดเมื่อยร่างกายเพราะต้องนั่งเป็นเวลานานไม่ได้ลุกไปไหน ต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่สามารถวิ่งเล่น เดินไปหาเพื่อนโต๊ะข้าง ๆ ได้
- ไม่ได้ออกไปพบปะเพื่อน ๆในห้องเรียน เด็กจะไม่ได้ร่วมเล่นสนุกสนานกับเพื่อนเป็นเวลานาน ทำให้รู้สึกไม่ร่าเริงและอาจจะมีความเครียดและความกดดันจากการเรียนออนไลน์ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงมองว่าการเรียนออนไลน์ยังไม่ตอบโจทย์สำหรับเด็กอนุบาลสักเท่าไหร่
วิธีการรับมือ การเรียนออนไลน์ของลูกวัยอนุบาล
เมื่อสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องเลื่อนการเปิดเทอมออกไปเรื่อย ๆ การเรียนออนไลน์คงเป็นคำตอบเดียวที่จะช่วยมอบความรู้ให้กับลูกน้อยได้ แต่การจะทำให้ลูกมีสมาธิตั้งใจเรียนนั้นอาจเป็นเรื่องที่ยากสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะต้องเสียเวลาในการทำงานเพื่อมาคอยดูแล แน่นอนว่าในเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็หาวิธีรับมือการเรียนออนไลน์อนุบาลเลยแล้วกัน
1.ส่งเสริมการเรียนของลูก
จัดเตรียมหาอุปกรณ์ให้พร้อมต่อการเรียนไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ สมุด ดินสอ ยางลบ และอื่น ๆ ที่จะช่วยให้การเรียนออนไลน์ของลูกน้อยเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น การที่มีอุปกรณ์พร้อมจะทำให้ลูกมีความสนใจและพร้อมที่จะเรียนมากขึ้น ในระหว่างที่เรียนอยู่นั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถเข้ามากำกับดูแลได้ด้วยเช่นกัน เวลาที่ไม่เข้าใจคุณพ่อคุณแม่จะได้อธิบายให้เข้าใจได้
2.จัดกิจกรรมผ่อนคลายหลังเลิกเรียน
เชื่อว่าหลังจากเรียนออนไลน์เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เด็กจะรู้สึกเครียดและกดดันเนื่องด้วยการบ้านที่คุณครูสั่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่ควรหากิจกรรมที่ผ่อนคลายสมอง เช่น วาดรูป ออกกำลังกาย ปลูกผัก เล่นเกม และอื่น ๆ มาช่วยผ่อนคลาย
3.เตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับการเรียน
การเรียนออนไลน์อนุบาลจำเป็นจะต้องหาพื้นที่ที่เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน เพราะเด็กจะเกิดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ง่ายและไม่สนใจการเรียนและนี่ก็เป็นวิธีการรับมือกับการเรียนออนไลน์ทั้งหมด ที่จะช่วยให้คุณแม่มั่นใจได้มากขึ้นว่าลูกจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
สำหรับปัญหาและวิธีการรับมือที่เราได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เชื่อว่าจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านได้รับสาระความรู้ไปไม่มากก็น้อย ที่สำคัญอย่าลืมลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ รับรองว่าการเรียนออนไลน์อนุบาลจะไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป สุดท้ายนี้เราขอให้สถานการณ์โควิด 19 ดีขึ้นในเร็ววันเพื่อที่เด็ก ๆ จะได้เปิดเทอมพร้อมสนุกสนานไปอย่างเต็มที่และสามารถเรียนรู้บทเรียนที่คุณครูสอนในห้องเรียนได้ดีมากขึ้น
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ
- 3 สิ่งสำคัญที่มีผลต่อสมองลูกน้อย
- พัฒนาการสมองของลูกยามหลับ (วัยแรกเกิด – 6 เดือน)
- ของเล่นพัฒนาสมองลูกในแต่ละวัย