fbpx
Homeการตั้งครรภ์การคลอดและหลังคลอดโรคน้ำท่วมปอดในเด็ก เกิดจากอะไร และวิธีการป้องกัน

โรคน้ำท่วมปอดในเด็ก เกิดจากอะไร และวิธีการป้องกัน

ภาวะน้ำท่วมปอดในเด็กแรกคลอด เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของเด็กทารกจำนวนไม่น้อยเลย เป็นอีกหนึ่งโรคที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง โดยภาวะน้ำท่วมปอดส่วนใหญ่เกิดจากการที่คุณแม่ผ่าคลอดในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือผ่าคลอดเร็วเกินไป ร่างกายเด็กทารกยังไม่พร้อม ไม่สามารถปรับตัวได้ เมื่อคลอดออกมาจึงพบภาวะน้ำท่วมปอดที่เห็นได้บ่อย ซึ่ง โรคน้ำท่วมปอด ในเด็กเกิดจากอะไร และจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรเพื่อให้ห่างไกลจากโรคนี้ วันนี้เราจะพาคุณแม่มาศึกษาโรคดังกล่าวนี้ไปพร้อมๆ กันเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นและจะได้เฝ้าระวังอย่างถูกต้องนั่นเอง

สาเหตุ โรคน้ำท่วมปอด ในเด็ก

โดยปกติแล้วทารกที่อยู่ในท้องแม่จะได้รับออกซิเจนจากกระแสเลือดผ่านจากรกมาทางสายสะดือ และปอดของเด็กทารกจะยังไม่ทำงาน เมื่อคลอดออกมาแล้วทารกจะเริ่มหายใจได้เอง ปอดก็จะทำหน้าที่ขับของเหลวออกไปเพื่อให้อากาศเข้ามาแทนที่ แต่หากทารกคลอดเร็วเกินไป ปอดก็จะไม่สามารถขจัดของเหลวออกจากปอดได้ทันท่วงที และก็จะเกิดภาวะน้ำท่วมปอด ขาดออกซิเจนคล้ายๆ กับคนที่กำลังจะจมน้ำ เพราะฉะนั้นการคลอดที่เหมาะสมควรเป็นการคลอดทางธรรมชาติ เพื่อให้ร่างกายของเด็กได้เจริญเติบโตและพร้อมทำงานได้อย่างเต็มที่ หรือถ้าคุณแม่ต้องการผ่าคลอดก็ควรจะให้อายุครรภ์มากกว่า 39 สัปดาห์ขึ้นไป เด็กทารกถึงจะปลอดภัยไม่เสี่ยงเจอภาวะโรคน้ำท่วมปอด นั่นเอง

วิธีการรักษา เมื่อลูกมีภาวะน้ำท่วมปอด

เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น คุณแม่ส่วนใหญ่จึงมักจะใช้วิธีผ่าคลอดมากกว่าการคลอดโดยวิธีทางธรรมชาติ การผ่าคลอดเร็วเกินไปทั้งที่ร่างกายเด็กยังไม่พร้อมที่จะคลอดออกมาลืมตาดูโลก โดยยึดถือการผ่าคลอดตามฤกษ์ดี ยามดี จะทำให้เสี่ยงเกิดภาวะน้ำท่วมปอดมากยิ่งขึ้น ทารกที่มีภาวะโรคน้ำท่วมปอด จะหายใจหอบ พยายามดิ้นรนเอาชีวิตรอด เหมือนกับคนตกน้ำและจะค่อยๆ ขาดออกซิเจนไป โดยการรักษาภาวะ น้ำท่วมปอด ในเด็ก แพทย์จะทำการดูดของเหลวออกจากปอดเด็ก และทำการเคาะปอด จากนั้นก็จะให้เด็กอยู่ในตู้อบ 2 – 3 วัน พร้อมทั้งให้ออกซิเจน เด็กบางรายโชคดีก็จะปลอดภัย แต่เด็กบางรายโชคร้ายก็จะเสียชีวิตได้

การป้องกันไม่ให้น้ำท่วมปอด

ภาวะโรคน้ำท่วมปอด เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด โดยปัญหาที่พบบ่อย และทำให้เสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มาจากคุณแม่ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากปัญหาสุขภาพไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น และคุณแม่ผ่าคลอดเร็วเกินไปร่างกายของเด็กยังไม่เจริญเติบโต อวัยวะภายในยังไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดในเด็กแรกเกิด อย่างไรก็ตามเราสามารถป้องกันภาวะน้ำท่วมปอดได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1.ฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ

สำหรับคุณแม่ที่ไม่อยากให้เกิดภาวะเสี่ยงใดๆ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ควรรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะได้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะเมื่อฝากครรภ์แพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลครรภ์อย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารบำรุงครรภ์ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมถึงการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ หรือภาวะครรภ์เป็นพิษและคลอดก่อนกำหนด อันเป็นสาเหตุของการเกิด โรคน้ำท่วมปอด ในเด็กนั่นเอง

2.เลือกการคลอดโดยวิธีทางธรรมชาติ

คุณแม่ที่คลอดโดยวิธีทางธรรมชาติส่วนใหญ่จะไม่มีความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดภาวะน้ำท่วมปอด เพราะคลอดทางธรรมชาติเด็กจะสามารถเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ร่างกายอวัยวะภายในสมบูรณ์พร้อมที่จะทำงาน นอกจากนี้ระหว่างที่คลอดเด็กทารกก็จะกลืนสารคัดหลังในช่องคลอดที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติกมากมายเข้าสู่ลำไส้ เพื่อไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้เด็กแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิด วิธีคลอดทางธรรมชาติจึงเป็นวิธีลดความเสี่ยงภาวะน้ำท่วมปอดในเด็กได้ดีนั่นเอง

3.ผ่าคลอดหลัง 39 สัปดาห์

คุณแม่ที่ต้องการจะผ่าคลอดควรมีอายุครรภ์มากกว่า 39 สัปดาห์ขึ้นไปเพื่อลดความเสี่ยงภาวะโรคน้ำท่วมปอดในเด็ก เพราะอายุครรภ์ยิ่งมากยิ่งลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดในเด็กทารกแรกคลอด ดังนั้นนั้นการผ่าคลอดที่ดีที่สุดคุณแม่ควรจะมีอายุครรภ์มากกว่า 39 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะอายุครรภ์มากกว่า 39 สัปดาห์อวัยวะเด็กทารกในครรภ์สมบูรณ์พร้อมที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะหากผ่าคลอดเร็วเกินไปน้อยกว่า 39 สัปดาห์อวัยวะภายในเด็กยังไม่พร้อม ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ก็จะประสบกับปัญหาภาวะน้ำท่วมปอดได้นั่นเอง

คุณแม่ที่มีความเชื่อในเรื่องของฤกษ์งามยามดีและต้องการผ่าคลอดลูกตามฤกษ์ควรศึกษาให้ดี เพราะการผ่าคลอดเด็กทารกที่เร็วเกิดไป อายุครรภ์ยังไม่พร้อม จะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคน้ำท่วมปอดได้ เพราะฉะนั้นการผ่าคลอดไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ควรศึกษาให้ดีควรมีอายุครรภ์มากกว่า 39 สัปดาห์ขึ้นไป ทำตามที่แพทย์แนะนำจะทำให้เด็กที่คลอดออกมาปลอดภัย ไม่ต้องเจอภาวะเสี่ยงโรคดังกล่าวนั่นเอง

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณแม่

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular