เชื่อว่าคุณแม่ที่เป็นมือใหม่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ว่ากระหม่อมของลูกน้อยแรกคลอดนั้นยังไม่ปิดสนิท และเมื่อเอามือสัมผัสดูก็จะรู้ถึงรอยบุ๋มเหมือนมีชีพจรเต้นตุบๆ และกระหม่อมจะเริ่มปิดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป และจะปิดสนิทเมื่ออายุประมาณ 12 – 18 เดือน ซึ่งจะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน ในระยะนี้คุณแม่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด คอยระมัดระวังอย่าให้หัวของลูกเกิดการกระทบกระเทือนที่เป็นอันตราย วันนี้เราจึงได้นำวิธี ดูแลทารกแรกเกิดที่ กระหม่อมบาง อย่างถูกวิธีมาฝาก จะมีวิธีดูแลลูกน้อยอย่างไรนั้นมาดูกันเลยดีกว่า
ทำไมทารกจึงมี กระหม่อมบาง
เด็กทารกแรกเกิดจะมาพร้อมกระหม่อมที่บางที่ยังปิดไม่สนิท กะโหลกศีรษะ 4 แผ่นจะค่อยๆ มาประกบกัน โดยส่วนของกระหม่อมบาง จะอยู่ด้านหน้าผากมีเนื้อเยื่อบางๆ เชื่อมกระดูกทั้ง 4 แผ่นเอาไว้ให้ติดกัน แต่กะโหลกจะยังไม่ปิดสนิท และจุดที่ยังไม่ปิดสนิทนั้นจะเรียกว่ากระหม่อม ที่จะมีเพียงเนื้อเยื่อบางๆ หุ้มไว้เท่านั้น ในช่วงกระหม่อมของลูกยังไม่ปิดสนิท คุณแม่จะต้องคอยระวังให้มากที่สุด บริเวณหน้าผากที่กระหม่อมยังไม่ปิดสนิทนั้นหากถูกการกระทบกระเทือนจะทำให้เป็นอันตรายได้ ซึ่งเราจะสังเกตเห็นว่ามีชีพจรเต้นตุบๆ อยู่ตลอดเวลา และบริเวณท้ายทอยด้านหลังที่ยังไม่ปิดสนิทนั้นไม่มีอะไรมาก เพียงแค่ไม่ไปจับหรือกดแรงๆ ก็พอ
กระหม่อมทารกแรกเกิดจะปิดสนิทเมื่อไหร่
กระหม่อมเด็ก (Fontanels) เป็นส่วนกะโหลกศีรษะที่จะมาประกบกัน ทารกแรกเกิดไปจนถึง 6 เดือน กระหม่อมทารก จะยังไม่ปิดสนิท และเมื่อคลำดูจะรู้สึกว่านิ่มๆ คล้ายกับมีน้ำอยู่ข้างใน กระหม่อมที่ยังไม่ปิดสนิทจะมีสองตำแหน่งด้วยกัน คือด้านหน้า และด้านหลังท้ายทอย และกระหม่อมหลังจะปิดก่อน เมื่ออายุ 6 เดือน ส่วนกระหม่อมด้านหน้าจะปิดสนิทเมื่ออายุตั้งแต่ 12 – 18 เดือน จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน
วิธีสังเกตกระหม่อมลูก แบบไหนไม่ปกติ
กระหม่อมบางยังไม่ปิดสนิท จำเป็นจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด คอยระมัดระวังไม่ให้ศีรษะของลูกได้รับการกระทบกระเทือนที่รุนแรง พร้อมทั้งคอยสังเกตความผิดปกติของลูก และถ้าพบว่ากระหม่อมลูกมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ก็ควรพาไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็นสัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้นกับลูก
1.กระหม่อม บุ๋ม เยอะผิดปกติ
โดยปกติแล้วกระหม่อมบาง ที่ยังไม่ปิดสนิทจะมีรอยบุ๋มเพียงเล็กน้อยซึ่งถือว่าไม่มีความผิดปกติอย่างไร แต่หากสังเกตเห็นว่ากระหม่อมของลูกบุ๋มลงจากเดิมอย่างชัดเจน ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะนี่อาจจะเป็นสัญญาณว่า ร่างกายของลูกขาดน้ำ (dehydration) ซึ่งร่างกายขาดน้ำอาจจะเกิดจากเด็กได้รับนมไม่เพียงพอ หรือมีอาการป่วย เด็กอาเจียน หรือท้องร่วง
2.กระหม่อมโป่งตึง บวม ผิดปกติ
โดยปกติแล้วเด็กทารกเวลาร้องไห้ หรือเวลาที่เบ่งอุจจาระ อาจจะทำให้กระหม่อมโป่งตึงได้ แต่ไม่นานก็กลับมาเป็นปกติ แต่หากคุณแม่พบว่ากระหม่อมบาง ของลูกมีอาการโป่ง ตึง บวมนูนขึ้นมา ร่วมกับมีไข้ นี่อาจจะเป็นสัญญาณว่า ศีรษะของลูกอาจได้รับบาดเจ็บ หรือมีการติดเชื้อภายในสมอง ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ
ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในช่วงที่กระหม่อมบาง
กระหม่อมทารก ถือเป็นจุดที่บอบบาง ในช่วงที่ยังไม่ปิดสนิทคุณแม่จะต้องใส่ใจคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตราย หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงทางศีรษะ โดยการดูแลกระหม่อมของลูกน้อยนั้นก็จะมีวิธีดูและดังนี้
- ระวังไม่ให้กระทบกระเทือน เนื่องจากทารกแรกเกิดนั้น กระหม่อมบาง ยังไม่ปิดสนิทมีเพียงเนื้อเยื่อบางๆ ที่ปิดเอาไว้ คุณแม่จึงต้องคอยระมัดระวังไม่ให้ศีรษะของลูกเกิดการกระทบกระเทือนใดๆ เพราะข้างในมีเพียงสมอง แต่ยังไม่มีกระโหลกห่อหุ้มอย่างสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นจะต้องคอยดูแลอย่างดี เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนกับศีรษะของลูก
- จัดท่านอนที่เหมาะสม เด็กทารกยัง กระหม่อมบาง การให้ลูกนอนในท่าใด ท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ จะทำให้หัวของลูกบิดเบี้ยวได้ คุณแม่บางท่านกลัวว่าลูกนอนคว่ำจะเป็นอันตรายจึงจับแต่ลูกนอนหงาย ทำให้หัวของลูกแบน ซึ่งท่านอนที่เหมาะสมสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน คุณแม่ควรจัดให้ลูกนอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา และนอนหงายสลับกัน พร้อมทั้งหาหมอนหลุมสำหรับเด็กมาให้ลูกนอนจะทำให้ศีรษะกลมสวยได้รูปมากยิ่งขึ้น
- ระวังเรื่องอุณหภูมิ เพราะเด็กทารก กระหม่อมบาง ยังไม่ปิดสนิท จึงทำให้อาจเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุณหภูมิห้อง ไม่ให้ร้อน หรือหนาวเกินไป เพราะจะทำให้ลูกป่วยไม่สบาย และการอาบน้ำสระผมให้กับลูกก็ต้องใช้น้ำอุ่นทุกครั้งถึงแม้อากาศข้างนอกจะร้อนก็ตาม
- สังเกตดูกระหม่อมของลูกประจำ กระหม่อมของลูกบอกโรคได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องคอยสังเกตกระหม่อมของลูกเป็นประจำ หากพบว่ากระหม่อมของลูกบุ๋มเกินไป และลูกมีอาการท้องเสีย อาเจียน และตาโหล อาการนี้ลูกอาจเกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง แต่หากกระหม่อมของลูกโป่งตึง นูนขึ้น พร้อมทั้งมีไข้ อาการนี้แสดงว่าลูกอาจมีปัญหาด้านประสาทและสมอง ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง
เพราะเด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมบาง ยังไม่ปิดสนิท มีเพียงเนื้อเยื่อบางๆ คอยห่อหุ้มสมองข้างในไว้ เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนใดๆ ต่อกระหม่อมทารกที่อาจก่อให้เกิดอันตราย พร้อมทั้งสังเกตกระหม่อมของลูกเป็นประจำ หากมีความผิดปกติอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง จะได้รักษาทันท่วงที
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ
- คุณแม่ใกล้คลอดเมื่อเข้าห้องคลอดแล้ว เกิดอะไรบ้าง
- อาการแบบนี้ใกล้คลอดแน่นอน เตรียมตัวไว้ให้ดีค่ะ
- คุณแม่ใกล้คลอด เตรียมตัวไปโรงพยาบาลกันเถอะ!