ขวดนม และจุกนมคืออุปกรณ์ที่เข้าไปสัมผัสกับปากของลูกน้อยโดยตรง หากดูแลล้างทำความสะอาดไม่ดี มีสารเคมีตกค้าง หรือแม้แต่มีเศษนมเก่าตกค้างอยู่ในขวดนม ก็อาจเป็นอันตราย เสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ท้องเสีย หรือส่งผลต่อสุขภาพของลูกในระยะยาวได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจ ให้ความสำคัญกับการล้างขวดนมให้สะอาดอยู่เสมอ วิธีล้างขวดนม ที่ถูกต้อง ควรเริ่มตั้งแต่การเลือกน้ำยา และการเตรียมอุปกรณ์ ล้างขวดนมอย่างไรให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรคหรือสารตกค้าง วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝาก
วิธีล้างขวดนมที่ถูกต้อง เริ่มจากเตรียมอุปกรณ์
ก่อนจะไปดู วิธีล้างขวดนม ที่ถูกต้อง เรามาเตรียมอุปกรณ์สำหรับการล้างขวดนมกันก่อนดีกว่า อุปกรณ์ที่คุณแม่ต้องเตรียมในการล้างขวดนมก็จะมีดังนี้
- น้ำยาล้างขวดนม คุณแม่ควรเลือกน้ำยาสำหรับล้างขวดนมโดยเฉพาะ ไม่ใช้น้ำยาล้างจาน หรือ สบู่
- ฟองน้ำสำหรับใช้ล้าง สำหรับฟองน้ำควรใช้ฟองน้ำสำหรับล้างขวดนมโดยเฉพาะ เพราะจะมีความอ่อนนุ่ม และสะอาดกว่าฟองน้ำทั่วไป
- แปรงล้างขวดนมขนาดเล็ก สำหรับ ที่ล้างขวดนม โดยเฉพาะ ที่สามารถซอกซอนเข้าไปในซอกมุมที่ฟองน้ำไม่สามารถเข้าถึงได้
- ผ้าสำหรับใช้เช็ดขวดนม ควรเป็นผ้าแบบ ไมโครไฟเบอร์ เพราะจะช่วยซับน้ำเป็นอย่างดี แถมยังแห้งเร็ว ซักทำความสะอาดง่าย
ขั้นตอนการล้างขวดนมให้สะอาดหมดจด
ขวดนม และจุกนม ถือเป็นอุปกรณ์ที่คุณแม่จะต้องดูแลเป็นพิเศษ ล้างทำความสะอาดให้หมดจด ไม่ให้มีสารเคมี หรือเศษนมเก่าตกค้าง เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายลูก ทำให้เกิดโรคท้องร่วง อาเจียน หรือปากอักเสบจากเชื้อรา การล้างขวดนมจึงสำคัญมาก วิธีล้างขวดนม ให้สะอาดหมดจด คุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
- ถอดชิ้นส่วนของขวดนมออก ไม่ว่าจะเป็น ฝาขวดนม จุดยาง ขวดนม จากนั้นใส่ชิ้นส่วนของขวดนมทั้งหมดลงในอ่างขนาดพอประมาณ จากนั้นเติมน้ำร้อน เทลงไปราดเพื่อชำระคราบนมในชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนแล้วจึงค่อยเทน้ำออก
- จากนั้นผสมผลิตภัณฑ์ล้างขวดนมกับน้ำอุ่น แล้วใช้ฟองน้ำล้างชิ้นส่วนขวดนมให้สะอาด โดยเริ่มจากล้างด้านในขวดนมก่อน แล้วจึงล้างด้านนอก วิธีล้างขวดนม ใช้ฟองน้ำขัดเบาๆ ไม่ขัดแรง เพราะจะทำให้ขวดนมเป็นรอย และอายุการใช้งานที่สั้นลง
- ตัวจุกนม และบริเวณฝา จะเป็นส่วนที่ฟองน้ำเข้าไม่ถึง คุณแม่ก็สามารถใช้แปรงขัดเบาๆ ได้ และอาจจะต้องแหย่เข้าไปในทุกซอกทุกมุม เพื่อป้องกันเศษนมตกค้างอยู่
- ล้างขวดนมด้วยน้ำสะอาด 2 รอบ จากนั้นใช้นิ้วถูขวดนมเบาๆ เพื่อทดสอบว่ายังมีคราบนม หรือน้ำยาล้างขวดนมตกค้างอยู่หรือไม่ รวมทั้งดมกลิ่นดูว่ายังมีกลิ่นนม หรือกลิ่นน้ำยาตกค้างอยู่หรือไม่ เพราะขวดนมที่ล้างสะอาดจะไม่มีกลิ่นใดๆ ตกค้างอยู่
- เมื่อล้างน้ำเปล่าเรียบร้อยแล้ว ใช้ผ้าเช็ดขวดนมภายนอกให้สะอาด ในระดับหนึ่ง แล้วนำไปวางไว้บนตะแกรง ผึ่งลมให้แห้งเป็นอันว่าเสร็จสิ้น
การฆ่าเชื้อขวดนม ทำอย่างไร
เมื่อได้รู้ วิธีล้างขวดนม อย่างถูกต้องไปแล้ว คราวนี้เรามาดูวิธีฆ่าเชื้อขวดนมกันดีกว่า เพราะการล้างขวดนมอย่างเดียวไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนจากคราบนมให้หมดได้ การฆ่าเชื้อสามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้
1.การฆ่าเชื้อด้วยการต้มขวดนม
การฆ่าเชื้อด้วยการต้มสามารถทำได้ง่ายๆ เริ่มจากเติมน้ำลงไปในหม้อ รอให้น้ำเดือด จากนั้นใส่ขวดนม และจุกนมลงไป พร้อมตรวจให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ทุกอย่างอยู่จมอยู่ภายในน้ำ และไม่มีช่องว่างของอากาศ จากนั้นปิดฝาหม้อ และปล่อยต้มทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 นาที และนำขวดขึ้นมาพักไว้ที่ตะแกรง เมื่อขวดนมเย็นแล้ว ให้นำเข้าตู้เย็น ขวดจะปลอดภัยจากเชื้อโรคราว 24 ชั่วโมง
2.การฆ่าเชื้อด้วย เครื่องอบไอน้ำระบบไฟฟ้า
เครื่องอบไอน้ำระบบไฟฟ้า สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของเกี่ยวกับเด็กทั่วไป เครื่องนี้สามารถที่จะทำการฆ่าเชื้อได้ถึง 6 ขวดต่อหนึ่งครั้ง และใช้เวลาในการฆ่าเชื้อเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น การฆ่าเชื้อขวดนมด้วยเครื่องนึ่งขวดนม สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากเติมน้ำในเครื่องอบไอน้ำประมาณ 200 มิลลิลิตร จากนั้นใส่ขวดนมลงไปในเครื่อง โดยขวดนมต้องวางแบบกลับด้าน จุกนมวางไว้ด้านบน ปิดฝาภาชนะให้เรียบร้อย เปิดเครื่องและปล่อยให้เครื่องทำงาน ปกติจะใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที หลังเครื่องทำงานเสร็จไม่ควรจับที่ขวดทันที เนื่องจากขวดจะร้อนมาก สามารถทิ้งขวดนมไว้ในเครื่องได้ถึง 6 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม หลังการเปิดฝาแล้ว ควรนำขวดไปเก็บ เนื่องจากอาจเกิดการปนเปื้อนได้
วิธีสังเกต ขวดนมหมดอายุ ต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่
ขวดนม และจุกนม จะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพผลิตภัณฑ์ และการดูแล วิธีล้างขวดนมที่ถูกต้อง จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น แล้วคุณแม่จะรู้ได้อย่างไร ว่าขวดนมและจุกนมหมดอายุแล้ว ต้องเปลี่ยนแล้ว วิธีสังเกตขวดนม จุกนมหมดอายุสามารถทำได้ง่ายๆ คือ ตัวเลขข้างๆ ขวดนมจะค่อยๆ ลบและจางลง ขวดจะมีสีขุ่นผิดไปจากสีเดิม มีรอยขีดข่วนจำนวนมาก ส่วนจุกนมก็จะยางบางลง เสียรูป น้ำนมไหลออกเป็นสาย ไม่สม่ำเสมอ มีสีซีดไปจากเดิม จุกเริ่มบวม หากสังเกตเห็นแบบนี้ก็ถึงเวลาที่คุณแม่ต้องเปลี่ยนขวดนม และจุกนมใหม่ได้แล้ว
และนี่คือ วิธีล้างขวดนม อย่างถูกต้องที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ในวันนี้ การล้าง ขวดนมเด็ก เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ เพราะหากล้างขวดนมไม่สะอาด มีสารเคมีตกค้าง หรือแม้แต่มีนมเก่าตกค้างอยู่ในขวดนม ก็อาจเป็นอันตรายกับลูกได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องใส่ใจให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ
- 6 วิธีลดอาการคลื่นไส้สำหรับคุณแม่แพ้ท้อง
- 7 วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการแพ้ท้อง
- (การคลอดลูก) อยากคลอดง่าย ทำตามนี้ดูนะคะคุณแม่