เป็นอีกโรคทางพันธุกรรมอีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวเป็นอย่างมาก เป็นโรคที่เมื่อมีอาการแล้ว จะมีความรุนแรงและสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นจำนวนมาก สาเหตุที่ส่งผลโดยตรง คือการบริโภคอาหาร คนไทยมีนิสัยที่ชอบรับประทานอาหารหวาน อาหารทอด และอาหารจำพวกไขมันสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเป็นโรคนี้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อทำการสำรวจจำนวนผู้ป่วยโรคนี้ มีปริมาณใกล้เคียงกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง หลอดเลือดหัวใจตีบ อาการ จะไม่ปรากฏหากไม่เข้าภาวะฉุกเฉิน เพราะฉะนั้นแล้วเราควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพราะหากพบช้าเกินไป อาจจะรักษาไม่ทันเวลา
หลอดเลือดหัวใจตีบ อาการเป็นอย่างไร รีบเช็กด่วน!
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เมื่อพบแล้ว ยากที่จะรักษาและหายขาด ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นจะไม่ค่อยปรากฏออกมา เพราะระดับไขมันที่สะสมอยู่ในเส้นเลือดยังไม่เยอะ แต่เมื่อเกิดการสะสมของไขมันมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการที่พบได้บ่อยจะมี ดังนี้
- รู้สึกเจ็บและเกิดอาการแน่หน้าอก
- เกิดอาการเหนื่อย หอบง่ายมากกว่าปกติ
- ใจสั่น
- เหงื่อออกง่าย
- หมดสติ
- เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
รู้สักนิด สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
หลอดเลือดหัวใจตีบ อาการที่แสดงนั้น จะเริ่มจากการเหนื่อย หอบง่าย และเริ่มเจ็บหน้าอก จนรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งมีสาเหตุมากจากการมีไขมันเกาะที่ผนังของเส้นเลือด ในช่วงแรกที่ปริมาณไขมันยังมีน้อยอยู่ จะไม่ปรากฏอาการใด แต่เมื่อเริ่มสะสมไขมันที่ผนังของหลอดเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงหัวใจได้หรือเข้าไปในปริมาณที่น้อย ไม่เพียงพอต่อร่างกาย ไขมันที่เข้าไปเกาะตามผนังหลอดเลือดนั้น โดยสาเหตุหลักเกิดมาจากการบริโภคอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต จำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันเกินความจำเป็น และส่วนหนึ่งเกิดมาจากการคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อนอยู่แล้ว จึงถ่ายทอดมายังพันธุกรรมของเรา โดยหลอดเลือดหัวใจตีบ จะเกิดกับผู้สูงอายุ และผู้ชายเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง
วิธีการดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการที่ปรากฏออกมาเริ่มรุนแรงมากขึ้น อาทิ เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก มีอาการของใจสั่นร่วมด้วย เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ควรที่จะไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน โดยวิธีการรักษาในปัจจุบันการใส่บอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดหรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่อีกชื่อที่เรารู้จักกันก็คือ การทำบายพาส แต่ถ้าหากอาหารของผู้ป่วยยังไม่แสดงออกรุนแรง การควบคุมอาหารเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องลดอาหารจำพวกน้ำตาล แป้ง และลดอาหารเค็มลง รวมถึงทานอาหารที่มีไขมันน้อย เพื่อลดการไปสะสมในหลอดเลือด ทานผัก ผลไม้ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียด และทำจิตใจให้สงบ สิ่งที่สำคัญคือต้องดื่มน้ำให้มาก อย่างน้อยควรที่จะเริ่มต้นที่ 2 ลิตร
อาหารที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง
การเลือกบริโภคอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่สุด สำหรับผู้ป่วยโรคนี้ กลุ่มอาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงเลย คือ อาหารจำพวกไขมันสูง หรือมีปริมาณน้ำตาล แป้งมากเกินไป เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรือกลุ่มอาหารฟาสฟูดต่าง ๆ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เช่น ชานมไข่มุก น้ำอัดลม ชาที่มีน้ำตาล เป็นต้น อาหารรสจัดที่มีโซเดียมสูง ๆ ก็ไม่ควรนำมารับประทาน รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
อาหารที่ผู้ป่วยควรกิน
กลุ่มหลักที่ควรทานเป็นประจำคือ ผัก ผลไม้ที่มีกากใยและไฟเบอร์ปริมาณสูง และกลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แครอท ฟักทอง แคนตาลูป ผักโขม มะเขือเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามร่างกายของเรายังต้องการพลังงานจากไขมันอยู่ ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการรุนแรง อาจเปลี่ยนจากน้ำมันปาล์มที่เราใช้เป็นประจำ เปลี่ยนมาใช้น้ำมันรำข้าว ที่มีเป็นไขมันดี มีค่า HDL สูง อีกด้วย
การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ การป้องกันการเกิดย่อมดีกว่าการรักษา ซึ่งสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการรุนแรง การปฏิบัติตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้อาการและสุขภาพดีขึ้นได้ แต่สำหรับผู้ที่อายุน้อยและกลัวจะเป็น สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
- เลือกบริโภคอาหาร โดยทานให้ถูกหลักโภชนาการ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด เช่น ชานมไข่มุก กาแฟ น้ำอัดลม
- ควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามค่ามาตรฐาน ตามดัชนีมวลกาย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากสูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราการเกิดโรคหัวใจให้ได้ง่ายขึ้น
- นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- ตรวจสุขภาพประจำปี ทุกปี
เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่ควรประมาท ตอนนี้เราอาจมีอายุที่ยังน้อย ระบบต่าง ๆ ในร่างกายยังสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แต่เมื่ออายุเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยระบบของร่างกายจะเริ่มถูกขัดขวาง จากพฤติกรรมและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ สำหรับโรค หลอดเลือดหัวใจตีบ อาการ รุนแรง เป็นอีกโรคที่รักษาไม่หาย และเมื่อเป็นแล้วมีค่าใช้จ่ายที่สูง รวมถึงการนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นป้องกันตั้งแต่วันนี้ เพื่ออายุที่ยืดยาวที่ปราศจากโรคภัย
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ