อาหารมีหลากหลายรสชาติ ซึ่งแต่ละรสก็มักจะมีจุดเด่นที่ทำให้อาหารน่ารับประทาน ไม่ว่าจะเป็น รสหวาน รสเปรี้ยว รสเผ็ด และรสเค็ม โดยหากเรารับประทานอาหารแต่ละรสชาติในปริมาณที่มากเกินไป อาจเกิดโรคตามมาได้ เช่นเดียวกับ โรคที่เกิดจากการกินเค็ม ซึ่งหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบกินอาหารรสเค็มจัด อาจจะต้องสังเกตอาการของตนเองดูสักหน่อยแล้ว ว่ากำลังเสี่ยงโรคอะไรอยู่หรือเปล่า โดยการกินเค็มมีผลเสียอย่างไรบ้าง เรามาดูกันเลย
รู้สักนิด! โรคที่เกิดจากการกินเค็ม มีอะไรบ้าง
โรคที่เกิดจากการกินเค็ม มีมากมาย ทำให้ร่างกายของคุณไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ส่งผลในระยะยาว ซึ่งโรคเหล่านี้ได้แก่ โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือด โรคหัวใจ เป็นต้น ปกติแล้ว ร่างกายจะขับโซเดียมออกทั้งหมด 3 ช่องทาง ได้แก่ ทางไต ทางเหงื่อ ทางอุจจาระ หากร่างกายมีโซเดียมในปริมาณมากก็อาจจะทำให้การขับของเสียผิดปกติได้
ปริมาณโซเดียม ที่ควรได้รับในแต่ละวัน
ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวันต้องไม่เกิน 2000 มิลลิกรัม หากเกินจะทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคที่เกิดจากการกินเค็ม ได้ทันที โดยเฉพาะโรคไต เพราะโซเดียมที่มากเกินไปทำให้ไตทำงานหนัก เมื่อไตทำงานหนักอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็จะนำไปสู่การเกิดภาวะไตวายได้เช่นกัน
วิธีลดเค็ม เพื่อการมีสุขภาพที่ดี
วิธีการลดการติดเค็มเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากการกินเค็ม ไม่ยากเลย มาดูกันสิว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง
1.ชิมอาหารก่อนปรุง
ใครที่ไม่เคยที่จะชิมอาหารก่อนปรุงเลย เน้นใส่น้ำปลาแบบจัดเต็ม แบบนี้โรคที่เกิดจากการกินเค็ม โดยเฉพาะโรคไตไม่ถามหาก็อาจจะเป็นเรื่องแปลก ดังนั้น ลองชิมอาหารที่กำลังจะรับประทานดูก่อนว่า รสชาติดีแล้วหรือไม่ หากดีแล้วก็ไม่ต้องปรุงอะไรเพิ่มจะดีมากเลย
2.หลีกเลี่ยงของหมัก ดอง
ของหมักดองที่มีรสเปรี้ยว จริง ๆ แล้ว มีโซเดียมแฝงอยู่ เนื่องจากกระบวนการประกอบอาหารประเภทนี้จะต้องใช้เกลือในการทำอาหาร ดังนั้น ความเค็มจะต้องถูกดูดเข้าไปในอาหารเหล่านี้อย่างแน่นอน หากคุณรับประทานเป็นประจำ จะทำให้คุณได้เกลือไปเต็มๆ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกิดจากการกินเค็ม ได้ง่าย
3.ลองฝึกรับประทานอาหารจืดบ้าง
ไม่ใช่ว่าเราจะรับประทานแต่อาหารเค็มหรือรสจัดอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิด โรคที่เกิดจากการกินเค็ม คุณควรลองรับประทานอาหารรสจืดบ้าง เพื่อเปลี่ยนรสชาติและลดปริมาณโซเดียมในร่างกายลง
4.ลดการชุบน้ำจิ้มในอาหาร
สายชอบกินน้ำจิ้มต้องฟังทางนี้ โรคที่เกิดจากการกินเค็มสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มักจะใส่น้ำจิ้มลงไป ทำให้โซเดียมได้เข้าไปยังร่างกายของคุณเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีอยู่ในอาหารแล้ว ยิ่งได้รับน้ำจิ้มตามไป ปริมาณโซเดียมในร่างกายต่อวันที่ควรได้รับก็จะสูงอย่างแน่นอน ดังนั้นเปลี่ยนจากการราดน้ำจิ้มลงในอาหาร มาเป็นการจิ้มน้ำจิ้มแบบพอดีจะดีกว่า
อาหารโซเดียมสูง ที่ควรหลีกเลี่ยง
โรคที่เกิดจากการกินเค็มเป็นอันตรายอย่างมากเลย ดังนั้น เราก็จะต้องลดการกินอาหารที่มีโซเดียมสูง เพื่อให้ไตของเราทำงานขับของเสียลดลง ไม่ทำให้เกิดโรคตามมา ซึ่งอาหารที่มีรสเค็มก็มีอยู่มากมาย เราขอยกตัวอย่างอาหารโซเดียมสูงที่กินเป็นประจำแล้วอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายดังนี้
1.อาหารประเภทยำ
ใครที่ชอบกินยำ เนื่องจากความเผ็ด ความนัวของยำและเครื่องยำกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ยำมาม่า ยำวุ้นเส้น ยำเล็บมือนาง ยำรวมมิตรหรือยำแบบไหนก็ตาม เพราะส่วนผสมในยำมักจะมีรสเค็ม รสเผ็ด รสเปรี้ยวที่โดดออกมา โดยเฉพาะโซเดียมที่สูงมาก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทยำจะดีที่สุด หากต้องการรับประทานก็สามารถทำได้ แต่นาน ๆ ครั้งก็พอ
2.ส้มตำ
ถัดจากยำก็เป็นส้มตำ อาหารสุดโปรดของใครหลายคน และมีโซเดียมสูงมากเลยทีเดียว จากวัตถุดิบที่นำมาทำส้มตำ รวมไปถึงผงชูรสที่โซเดียมไม่ต้องพูดถึง นอกจากใครที่ลดกินเค็มแล้ว ก็ควรที่จะลดการกินส้มตำลงด้วย
3.การปรุงอาหารด้วยน้ำปลาหรือพริกน้ำปลา
คนที่ติดเค็มก็มักจะมีการปรุงอาหารให้เกิดความเค็มเพิ่มขึ้น เช่น ใส่พริกน้ำปลาลงไปในข้าวที่รับประทาน การกินก๋วยเตี๋ยวที่เน้นเค็ม แบบนี้ไม่ดีแน่นอน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือโรคที่เกิดจากการกินเค็ม ที่ตามมานั่นเอง ดังนั้นลองเปลี่ยนนการกินจากเดิมที่ต้องใส่น้ำปลาเสมอ มาเป็น ชิมรสอาหารก่อนปรุงเพิ่ม และงดการใส่น้ำปลาลงไป
การกินเค็มไม่ใช่เรื่องผิด หากไม่ใช่การกินในปริมาณที่มากเกินไปและไม่ใช่การกินอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นโรคที่เกิดจากการกินเค็ม อาจส่งผลต่อร่างกาย โดยเฉพาะไตของคุณอย่างแน่นอน ไตทำงานหนักทำให้เกิดปัญหาโรคไตที่ตามมา ดังนั้นหากหลีกเลี่ยง ลดและงดการกินเค็มลงได้ ก็จะทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นเช่นกัน
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ: