ทารกหลังคลอด มักจะปรับตัวไม่ทันกับอุณหภูมิภายนอกท้องแม่ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำเมื่อลูกคลอดออกมาคือ วางลูกไว้ที่หน้าอก หรือหน้าท้องของคุณโดยมีผ้าห่อตัวคลุมไว้อีกชั้นหนึ่งค่ะ สัมผัสจากผิวหนังของคุณแม่สู่ตัวลูกจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และจะค่อย ๆ ปรับตัวได้ค่ะ หลังจากนั้น จะเป็นหน้าที่ของแพทย์เพื่อนำลูกไปดูแลตัวอีกทีค่ะ
สิ่งที่แพทย์จะทำคือ ตัดสายสะดือลูกและนำเลือดไปตรวจสอบกรุ๊ปเลือด และเริ่มตรวจสอบร่างกายลูกโดยละเอียดเช่น การเต้นของหัวใจ กล้ามเนื้อแขนขา การตอบสนองเสียง และการมองเห็น เป็นต้น
6 สิ่งสำคัญที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ทารกหลังคลอด
1. คุณแม่จะให้นมลูกได้เมื่อไหร่?
หลังคลอดบุตร คุณสามารถให้นมลูกได้ทันที ตอนแรกน้ำนมอาจจะยังไม่ออกลูกจะแค่อมๆ เลียๆ ไว้เฉย ๆ แต่เมื่อลูกเริ่มคุ้นชินแล้วลูกจะดูดนมของคุณเอง และน้ำนมจะไหลออกมาเพียงพอกับความต้องการของลูกค่ะ คุณแม่ไม่ต้องอายคุณหมอหรือพยาบาลที่ดูแลอยู่นะคะ เพราะนี่เป็นเรื่องที่ธรรมชาติสร้างมาค่ะ
2. เมื่อพบความผิดปกติของทารก
ถ้าพบว่าตัวทารกมีความผิดปกติ แพทย์จะเป็นผู้สังเกตก่อนและจะรีบทำการวินิจฉัยโรคและช่วยเหลือทันที บางครั้งอาจต้องใช้เครื่องมือแพทย์ในการเข้าช่วยหลายอย่าง คุณแม่อย่างเพิ่งกังวลใจค่ะ
3. รอยเท้าและรอยนิ้วมือของลูก
บางโรงพยาบาลเมื่อนำตัวเด็กทารกแรกคลอดที่ให้ความอบอุ่นและล้างตัวสะอาดแล้ว จะมีการนำทารกมาประทับรอยนิ้วมือ หรือรอยฝ่าเท้า เพื่อเป็นที่ระลึกระหว่างคุณและลูกน้อยค่ะ
4. การใช้ยาต่างๆ สำหรับเด็กแรกคลอด
หลังจากคลอดแล้วไม่เกิน 1 ชั่วโมง พยาบาลจะใช้ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาหยอดตาของทารกเพื่อกันการติดเชื้อที่ดวงตา ทารกที่ไม่ได้หยอดตาหลังคลอดอาจทำให้ติดเชื้อถึงขั้นตาบอดได้ และจะได้รับวัคซีนตับอักเสบบีภายใน 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นพยาบาลจะนำทารกไปพักฟื้นและ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ และตรวจเช็คร่างกายของทารกโดยละเอียดค่ะ
5. การอาบน้ำครั้งแรกของทารก
การอาบน้ำให้ทารกหลังคลอด ในครั้งแรกพยาบาลจะเป็นผู้อาบให้ทารกก่อนค่ะ แต่ก็แค่การเช็ดทำความสะอาด ใช้ฟองน้ำลูบตามเนื้อตัว และศีรษะของลูกให้สะอาด จากคราบเลือดและไขต่าง ๆ ที่ติดตามตัวลูกเท่านั้นค่ะ เพราะอุณหภูมิตามตัวลูกยังไม่คงที่ค่ะ และหลังจากนั้นก็จะนำทารกไปให้คุณแม่เพื่อดูดนมค่ะ
6. การตรวจเช็คร่างกายทารก
คุณหมอจะทำการตรวจความผิดปกติต่าง ๆ ตามร่างกายของลูกทุกอย่าง เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ตรวจเลือด การตอบสนองทางร่างกาย กล้ามเนื้อ เป็นต้น ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ