การตั้งครรภ์เป็นเรื่องของธรรมชาติที่จะดำเนินไปจนกว่า 9 เดือน ถึงจะสิ้นสุดลง คุณแม่บางคนสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ พบหมอปกติ ไม่มีอาการอื่นใดแทรกซ้อน แต่สำหรับคุณแม่บางคนกลับต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว หรือมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ไว้นะคะ ว่าภาวะแบบไหนที่ต้องให้แพทย์ดูแลและควรสังเกตตัวเองเป็นพิเศษ
6 ภาวะของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
1. โลหิตจาง:
เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก โดยมากก่อนการตั้งครรภ์ผู้หญิงหลาย ๆ คนก็มีอาการนี้อยู่แล้ว เมื่อเริ่มตั้งครรภ์คุณหมอจึงต้องให้ยาเสริมธาตุเหล็กเพื่อให้คุณแม่ไม่มีภาวะโลหิตจางนั่นเองค่ะ
2. เบาหวาน:
ถ้าเป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ควรแจ้งคุณหมอให้ทราบและควรควบคุมอาหาร เช็คน้ำตาลในเลือด เพื่อให้สมดุลกับร่างกาย แต่ถ้าพึ่งเป็นระหว่างตั้งครรภ์เล็ก ๆ น้อย ก็ไม่เป็นไรมากค่ะ หลังคลอดอาการเบาหวานจะหายไปเองค่ะ
3. ครรภ์เป็นพิษ:
อาการแบบนี้จะเป็นกันมากสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด เนื่องจากมีอาการความดันโลหิตสูง น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มือเท้าบวมจนน่ากลัว อาการแบบนี้ต้องให้แพทย์ดูแลเป็นพิเศษเลยค่ะ
4. ทารกในครรภ์ตัวเล็กกว่าอายุครรภ์:
ส่วนมากจะเป็นกันน้อย จะเป็นกันในกลุ่มของคุณแม่ที่สูบบุหรี่ บำรุงครรภ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคประจำตัว จึงทำให้ทารกไม่เจริญเติบโตตามอายุครรภ์ที่ควรจะเป็นแบบนี้ต้องให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด
5. ครรภ์แฝด:
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดส่วนมากจะมีภาวะโลหิตจาง หรือ ทารกนอนอยู่ในท่าผิดปกติ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดจะเหนื่อยง่าย แพ้ท้องมาก และต้องบำรุงร่างกายให้มากกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติ และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเลยค่ะ
6. ตกเลือด:
ไม่ว่าจะมีเลือดออกในสัปดาห์ที่เท่าไหร่หรือแม้ในช่วงใกล้คลอด คุณแม่ต้องรีบไปหาหมอโดยทันที ไม่ต้องรอให้มีอาการปวดท้องหรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เพราะถ้ามีเลือดออกคุณแม่มีสิทธิแท้งได้ตลอดเวลาค่ะ
อาการทั้ง 6 อย่างนี้เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน และทุกช่วงอายุครรภ์ ถ้าคุณแม่มีอาการดังที่กล่าวมาด้านบนต้องรีบปรึกษาคุณหมอทันทีค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ
- 4 อาการน่ารำคาญใจของคุณแม่ตั้งครรภ์
- มือเท้าชาระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุและวิธีลดอาการ
- อาการคนท้อง อยากรู้เป็นแบบไหนเช็ค 13 ข้อนี้เลย