เด็กหัวโต หรือ หัวบาตร (Hydrocephalus)
เด็กหัวโต หรือ หัวบาตร เป็นความผิดปกติชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดได้กับเด็กทารก สาเหตุเกิดมาจากความผิดปกติที่มีน้ำในโพรงสมองมากเกินไป เนื่องจากท่อทางเดินน้ำหล่อสมองและไขสันหลังอุดตัน ทำให้น้ำในสมองคั่งและท่วมอยู่ในสมอง ทำให้สมองมีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก
โรคหัวบาตรจะพบได้ในเด็กเล็ก พบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โรคหัวบาตรจะพบได้ 1 ใน 1000 คนต่อปี
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวบาตร เกิดได้จากหลายๆอย่าง เช่น
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- เชื้อวัณโรค
- ทางพันธุกรรม
- เกิดภาวะเลือดออกในสมอง
- ได้รับอุบัติเหตุ
อาการของโรคเด็กหัวโต หรือ หัวบาตร มีดังนี้
เด็กที่มีอาการของ โรคหัวบาตร จะมีอาการเกร็งที่แขนและขา จนถึงขนาดเดินไม่ได้ และจะมีอาการบวมที่หัวตามมา หัวและส่วนหน้าผากจะมีขนาดใหญ่เด่นกว่าส่วนอื่นไม่สมส่วนกับร่างกาย ส่วนของหนังศีรษะจะบางและตึงมากจนเห็นเส้นเลือดบนหนังศีรษะ เด็กที่เป็นโรคหัวบาตรจะร้องไห้เกือบตลอดเวลาเพราะอาการปวด ถ้าปล่อยไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ประสาททางสมองบกพร่องได้ค่ะ
วิธีการรักษาโรคเด็กหัวโต หรือ หัวบาตร
การรักษาโรคเด็กหัวโต หรือ หัวบาตร คือ เจาะไขสันหลังและใช้สายยางเล็ก ๆ ดูดน้ำที่อยู่ในสมองออกมา และระบายน้ำออก และหลังจากนั้นต้องใช้ยาเพื่อทำการหยุดการผลิตน้ำในสมอง ถ้าพบเด็กที่ป่วยเป็น โรคเด็กหัวโต หัวบาตร เร็วจะสามารถดูดน้ำออกจากสมองได้เร็ว และสามารถหายเป็นปกติ แต่ถ้าพบช้ารักษาช้า สมองอาจจะถูกทำลาย พัฒนาการทางด้านสมองและร่างกายก็จะช้าตามไปด้วยค่ะ
การป้องกันไม่ให้ทารกคลอดออกมาเป็นโรคเด็กหัวโต หรือ หัวบาตร
แนะนำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทานกรดโฟเลต เพราะกรดตัวนี้จะช่วยป้องกัน ความผิดปกติของกระดูกสันหลังและความพิการทางสมอง กรดโฟเลตจะพบได้มาก ใน ตับ ถั่ว หน่อไม้ฝรั่ง ผักปวยเล้ง ไข่ เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ ส้ม และผักผลไม้สด และแนะนำให้คุณแม่ที่ทราบว่าตั้งครรภ์รีบ ฝากครรภ์ และทานกรดโฟเลตที่คุณหมอให้จนกว่าจะครบกำหนดค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ