ภาวะแท้งคุกคาม มักเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน ความผิดปกติของมดลูก และสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้การเติบโตของทารกไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถดำเนินไปได้ตามปกติ หรือการมีเลือดออกทางช่องคลอดโดยที่ปากมดลูกยังไม่เปิด และยิ่งในสภาวะแวดล้อมปัจจุบัน มีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จำนวนมากที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เผชิญกับปัญหาความเครียด ความกดดัน จากการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหาร และมลพิษทางอากาศ ทำให้ร่างกายของคุณแม่ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้ง่าย โดยเฉพาะ ภาวะแท้งคุกคาม ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์เองต้องระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ
ภาวะแท้งคุกคาม มีอาการอย่างไร?
ภาวะแท้งคุกคาม จะมีอาการเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือดที่ออกอาจจะมากหรือน้อยแตกต่างกันกันไป อาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ บางรายในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกจากตำแหน่งฝังตัวของตัวอ่อนที่เยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ครึ่ง ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการของการแท้งได้ นอกจากนี้ยังมีอาการคล้ายภาวะแท้งคุกคามอีกด้วย เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก และการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นต้น
สาเหตุการเกิดภาวะแท้งคุกคาม
สาเหตุของการเกิดภาวะแท้งคุกคาม มีหลายสาเหตุ เช่น ความพิการของทารกแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน ความผิดปกติของมดลูก หรือ ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีผลต่อการฝังตัว หรือส่วนหนึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้การเติบโตของทารกไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถดำเนินไปได้ตามปกติ หรือการมีเลือดออกทางช่องคลอดโดยที่ปากมดลูกยังไม่เปิด และก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งคุกคาม
อาหาร ความเครียด และการทำงานมีส่วนทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคามได้ ซึ่ง 80% มักเกิดในช่วงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์แรก เช่น ภาวะไข่ฝ่อ มีการอักเสบติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันของแม่ตั้งครรภ์ผิดปกติ หรือการฝังของตัวอ่อนที่ยังไม่แข็งแรงจึงทำให้เกิดการหลุดของทารก แต่หากตรวจพบก่อนก็จะสามารถดูแลและป้องกันได้
เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแท้งคุกคามนั้น คุณแม่ควรดูแลตัวเองมาก ๆ ระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนใด ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนเพียงพอ ที่สำคัญต้องพยายามไม่เครียดและต้องไปพบแพทย์ทุกครั้งตามนัด ตรวจอัลตราซาวด์ดูความแข็งแรงสมบูรณ์ของตัวอ่อนในครรภ์ หมั่นสังเกตและนับการดิ้นของลูกเสมอ หากผิดปกติรีบพบแพทย์นะคะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ