5. อยากให้รูปร่างกลับมาเป็นเหมือนเดิม หลังคลอด สามารถเป็นไปได้หรือไม่?
คุณแม่สามารถทำให้รูปร่างและร่างกายกลับมาเป็นเหมือนเดิมหลังคลอดได้ ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายบ้างระหว่างตั้งครรภ์ เลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์เท่านั้น อย่าเน้นแป้งและไขมันเยอะเกินไป แป้งหรือสารอาหารที่ให้พลังงานควรกินในไตรมาสสุดท้ายเพื่อให้มีพลังงานในการคลอดลูก
ถ้าคุณดูแลตัวเองในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ให้น้ำหนักขึ้นมากเกินไป หลังคลอด น้ำหนักของคุณแม่จะลดลงเร็วและกลับมามีหุ่นดีได้เหมือนเดิมค่ะ
6. น้ำหนักตัวของคุณแม่ลูกแฝดควรเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน?
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4-5 กิโลกรัม จากน้ำหนักการตั้งครรภ์ เมื่อเทียบกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติ ทารกควรมีน้ำหนักประมาณ 2000-3000 กรัม ถ้าทารกมีน้ำหนักมากกว่านี้ หรือคุณแม่มีน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้มีการคลอดก่อนกำหนด และ ภาวะเสี่ยงหลายอย่างค่ะ
7. น้ำหนักที่มากขึ้นในร่างกายคนท้อง ไปอยู่ในส่วนไหนบ้าง?
เวลาตั้งครรภ์ ที่คุณแม่ต้องรับน้ำหนักมาก เพราะถูกนำไปใช้ดังนี้
- เด็กประมาณ 2.5 -4 กิโลกรัม
- มดลูกประมาณ 1 กิโลกรัม
- รก ประมาณ 1 กิโลกรัม
- ของเหลว น้ำคร่ำ 1 กิโลกรัม
- เต้านมขยาย 1 กิโลกรัม
- เลือด ประมาณ 3 กิโลกรัม
- ไขมัน ประมาณ 3 กิโลกรัม
8. ถ้าต้องการควบคุมน้ำหนักจำเป็นต้องทำอาหารกินเองหรือไม่?
เพื่อสุขภาพที่ดีและควบคุมน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม คุณแม่ที่สะดวกก็ควรทำอาหารทานเอง แต่ถ้าไม่สะดวกก็สั่งอาหาร หรือ เลือกกินอาหารตามร้านค้าได้ทั่วไป เน้นที่สะอาด และปลอดภัยค่ะ
9. ถ้ามีน้ำหนักตัวมากอยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไรดี?
ปรับเปลี่ยนนิสัยการกินทันทีหลังรู้ว่าตั้งครรภ์ กินอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์เท่านั้น แต่ห้ามลดน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์เด็ดขาด เพราะจะส่งผลให้เด็กทารกขาดสารอาหารระหว่างตั้งครรภ์ คลอดก่อนกำหนด และ มีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างหลังคลอด
ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวเยอะ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องกำหนด ว่าใน 1 วันจะกินอาหารให้ได้แค่ไหนถึงเพียงพอ ปกติแล้วเวลาไม่ท้อง คนเราจะกินอาหารประมาณวันละ 1200-1500 กิโลแคลอรี แต่ถ้าตั้งครรภ์ควรกินประมาณ 2000-2200 กิโลแคลอรี เพื่อตัวเอง 1500 กิโลแคลอรี และ ทาอีก 500 กิโลแคลอรี แต่ถ้าเป็นชาวต่างชาติจะกินประมาณ วันละ 2200-2500 ขึ้นอยู่กับร่างกายและการใช้งานของร่างกายด้วยค่ะ
รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คุณแม่ที่มีน้ำหนักเยอะ ควรกินอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้นและเน้นการออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ท้อง เพราะจะทำให้ไม่มีไขมันส่วนเกินมากขึ้น และยังทำให้คลอดง่ายขึ้นด้วยค่ะ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน หันมากินผัก ผลไม้ โปรตีนเป็นหลัก หลีกเลี่ยงของหวานเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคตค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ
- 10 สุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับเด็กที่น้ำหนักตัวน้อย
- ลดน้ำหนักหลังคลอด ผิวสวยเหมือนเดิมด้วยแก้วมังกร
- 10 เหตุผล ที่นิสัยการกินของคนท้องต้องเปลี่ยนไป ระหว่างตั้งครรภ์
1 2