fbpx
Homeการตั้งครรภ์สุขภาพช่วงตั้งครรภ์ลูกเสี่ยงพิการแต่กำเนิด หากแม่ท้องไทรอยด์เป็นพิษ

ลูกเสี่ยงพิการแต่กำเนิด หากแม่ท้องไทรอยด์เป็นพิษ

เมื่อพูดถึงโรคภัยในช่วงตั้งครรภ์ โรคอันดับต้น ๆ คงไม่พ้นเบาหวาน  ซึ่งมีส่วนน้อยที่จะนึกถึง โรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งสามารถส่งผลเสียถึงขั้นทำให้ทารกน้อยพิการได้  มาดูกันว่า ไทรอยด์เป็นพิษในช่วงตั้งครรภ์ นั้นเป็นอย่างไร  และจะส่งผลเสียต่อทารกถึงขั้นพิการได้อย่างไร  มาไขข้อข้องใจกันค่ะ

ทำความเข้าใจ หน้าที่ของต่อมไทรอยด์

ตำแหน่งของต่อมไทรอยด์อยู่ใต้คอตรงบริเวณลูกกระเดือก มีขนาดยาว 4 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร  ตามปกติแล้วต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนที่มีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในปริมาณที่เหมาะสม

ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งนี่คือหน้าที่คร่าว ๆ ของต่อมไทรอยด์ค่ะ  มาดูความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นสำหรับแม่ท้องกันค่ะ

ไทรอยด์เป็นพิษ

คำว่า ไทรอยด์เป็นพิษ คือ ภาวะที่ระดับฮอร์โมนในเลือดสูงขึ้น เกิดจากร่างกายสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ในปริมาณที่มากผิดปกติ  ส่งผลกระทบทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น คล้ายคนที่ไปออกกำลังกายมาอย่างหนัก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ มากนัก แถมทานอาหารมาก ทานจุ แต่น้ำหนักลดลง

แม่ท้องที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษในช่วงตั้งครรภ์ (Gestational thyrotoxicosis) จะมีอาการเบื้องต้นดังนี้  คุณแม่ลองสังเกตตัวเองด้วยนะคะ

1.ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่มักจะทานอาหารมากกว่าปกติ  แต่ทานไปเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ขึ้น  แถมบางคนน้ำหนักลดลงอีกด้วย คล้าย ๆ กับภาวะขาดสารอาหาร

2.เหนื่อยง่ายผิดปกติ ทำอะไรนิดหน่อยก็เหนื่อย มีอาการใจสั่น ขี้หงุดหงิด ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก

3.บางคนหากสังเกตบริเวณคอจะมีอาการคอโต หรือที่เรียกว่า คอพอก

4.ในช่วงไตรมาสที่ 3 คือ  ในช่วง 7 – 9 เดือน อากรวิกฤติที่ถือว่าเสี่ยงอันตราย จะทำให้คุณแม่หัวใจเต้นผิดจังหวะ  ตับทำงานผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีอาจเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้

นอกจากนี้คุณแม่ที่เป็น ไทรอยด์เป็นพิษชนิด Graves’ Disease  ก่อนตั้งครรภ์ ไทรอยด์ชนิดนี้ อาการอื่น ๆ จะเหมือนกับไทรอยด์เป็นพิษ  แต่จะมีอาการตาโปนร่วมด้วยและมักเป็นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  ซึ่งก็มีอันตรายทั้งกับคุณแม่และทารกน้อยเช่นกัน

ลูกเสี่ยงพิการแต่กำเนิด หากแม่ท้องไทรอยด์เป็นพิษ

ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์  มีผลต่อการสร้างสมองของลูกน้อยในท้อง ทำให้ระบบประสาททำงานเป็นปกติ  ช่วยป้องกันโรคเอ๋อ หรือปัญญาอ่อน รวมถึงการพัฒนาระบบประสาทให้เป็นไปตามปกติ นอกจากนี้ ยังไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้เหมาะสมอีกด้วย  แม่ท้องที่เป็นโรคไทยรอยด์เป็นพิษ และไม่ได้รับการรักษา ลูกน้อยจึงมีความเสี่ยง คือ อาจจะตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ คลอดก่อนกำหนด รวมถึงมีโอกาสที่ลูกเป็นไทรอยด์เป็นพิษและคอโตตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ด้วย  ที่สำคัญ ทารกมีความเสี่ยงที่จะพิการทางสมองได้ตั้งแต่กำเนิดหรือมีภาวะปัญญาอ่อนได้

การรักษา

ในช่วงตั้งครรภ์หลัก ๆ คือ  ต้องรักษาตามอาการ ส่วนใหญ่จะให้น้ำเกลือ ให้สารอาหารทางน้ำเกลือ และให้ยาแก้อาเจียน หากมีอาการใจสั่นจะให้ยาลดอาการใจสั่น

สำหรับยาต้านไทรอยด์ จะให้ได้ในช่วง 3 เดือนแรกเท่านั้น  แต่อย่างไรก็ตามคุณหมอจะวินิจฉัยตามอาการของคุณแม่แต่ละท่านนะคะ

แม่ท้องที่เป็นโรคไทยรอยด์เป็นพิษ คุณหมอจะนัดตรวจอาการบ่อยครั้งเพราะฮอร์โมนคนท้องนั้นเปลี่ยนแปลงทุกเดือน ทำให้ต้องปรับยาให้เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุครรภ์เพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกน้อยค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular