การกระตุ้นทารกน้อยในครรภ์ด้วยดนตรี นั้นเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้และควรทำเป็นอย่างยิ่งค่ะ ควรเริ่มทำในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนเป็นต้นไป เพราะในช่วงดังกล่าวพัฒนาการด้านการได้ยินของทารกเริ่มพัฒนาเต็มที่จนได้ยินเสียงต่าง ๆ แม้จะอยู่ในท้องแม่ก็ตาม นอกจากการฟังเพลงแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ พร้อม ๆ กับการลูบท้องเพื่อให้ลูกจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่และกระตุ้นการได้ยินของลูกไปในตัว
ทารกชอบฟังเสียงของพ่อหรือแม่ มากกว่ากันน๊า
ความจริงแล้ว เสียงทุ้มต่ำของคุณพ่อหรือเสียงผู้ชาย จะผ่านหน้าท้องของคุณแม่ได้ดี แต่เสียงของคุณแม่แน่นอนว่าลูกจะได้จะยินชัดเจนและดังกว่าคนรอบข้าง เพราะเสียงผ่านตัวแม่ไปยังลูก ทารกน้อยจะได้ยินเสียงที่เกิดจากการไหลในหลอดเลือดเข้ามาที่มดลูกตลอดเวลา จึงคุ้นเคยมากกว่าเสียงของคุณพ่อนั่นเองค่ะ
บางครั้งก็มีเสียงน้ำจ๊อกแจ๊กจากกระเพาะอาหารของคุณแม่ เสียงคุณพ่อ เสียงโทรทัศน์ เสียงเพลงจากวิทยุ ลูกฟังเสียงเหล่านี้เปรียบได้กับเสียงดนตรีกระตุ้นพัฒนาสมองของทารกตั้งแต่ก่อนทารกเกิด
ระบบการได้ยินจะพัฒนาได้ก่อนการเห็น จึงกระตุ้นปมประสาท(Tonotopic map) ของสมองเด็กเกือบจะเต็มที่ เมื่อคลอดออกมาแล้วทำให้ทารกน้อยสามารถจำเสียงของคุณแม่ได้ และเจ้าตัวเล็กจะรู้สึกอบอุ่นทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงของแม่
กระตุ้นพัฒนาการได้ยินเสียงของทารกในครรภ์อย่างไร
ทารกจะสามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวแม่ผ่านหน้าท้องไปสู่เจ้าตัวน้อย ทำให้ลูกได้เรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาได้ดีเมื่อโตขึ้น หากลูกได้รับฟังเสียงอันอ่อนโยนของแม่และคนรอบข้าง การพูดคุยกับลูกในท้องสม่ำเสมอ อ่านนิทานให้ฟังทุกวันไปเรื่อยๆ จนทารกคลอด เรื่อยไปจนถึงก่อนวัยเรียน ต่อเนื่องไปจนถึงวัยประถมต้นที่ลูกเริ่มอ่านได้เอง จะช่วยให้ใยประสาทเจริญเติบโตพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างกับการพัฒนาด้านการมองเห็น
จากงานวิจัยพบว่า ดนตรีนั้นช่วยเสริมสมองลูกให้ฉลาดเกิดความคิดอย่างมีเหตุมีผล โดยเฉพาะเสียงดนตรีคลาสสิคไม่จำเป็นต้องฟังเพลงโมสาร์ทเท่านั้น ที่จะทำให้สมองของทารกเจริญเติบโต เพราะดนตรีคลาสสิคนั้นมีจังหวะ ท่วงทำนองของเสียง และความกลมกลืนของเสียงพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ดนตรียังช่วยให้สมองของลูกน้อยเกิดการใช้งานในทุกส่วน ส่งผลให้สมองเกิดการจัดลำดับความคิด นอกจากนี้ยังทำให้ลูกมีอารมณ์สงบ สบายและผ่อนคลายขณะที่ฟังเสียงดนตรี ช่วยให้ทารกน้อยสามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตภายนอกครรภ์ของคุณแม่ได้ง่ายขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับลูกน้อยนั้น ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน อารมณ์ จิตใจ สังคม รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยง เช่น มลพิษ เสียงของพ่อแม่ทะเลาะกันจะส่งผลในด้านลบให้กับลูกและไม่มีผลต่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของลูกเลย
เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ