การสอนลูกน้อยนับเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ในการเลี้ยงดู เพราะการสอนจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเติบโตทั้งส่วนของลักษณะอารมณ์และการแสดงออกต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อลูกน้อยโตขึ้นในอนาคต การสอนลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยก็จะต้องอาศัยวิธีสอนลูกหรือเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป สำหรับวันนี้เราก็จะมาแนะนำวิธีสอนลูกน้อยในช่วงวัย 3 – 6 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และ การแสดงออก และช่วงวัยดังกล่าวเป็นช่วงวัยที่ลูกน้อยมักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดความเอาแต่ใจหรือความก้าวร้าวได้ ซึ่งมี วิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าว อย่างไรนั้น ไปดูกันเลย
5 วิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าว ทำแล้วได้ผล
ลูกน้อยในช่วงวัย 3 – 6 ขวบจะเป็นช่วงที่มักยึดตนเองเป็นศูนย์กลางดังที่กล่าวไปข้างต้น สำหรับคุณพ่อคุณแม่บางท่านที่มีลูกน้อยในวัยดังกล่าวก็จะทราบดีว่าเป็นช่วงวัยทองในเด็ก เด็ก ๆ ในวัยนี้จะมีภาวะอารมณ์ของตน มีความรู้สึกที่เด่นชัดขึ้น เมื่อเกิดอารมณ์ต่าง ๆ มักจะจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ทำให้แสดงออกมาเป็นความเอาแต่ใจหรือความก้าวร้าวได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเรายังมีวิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าวมาแนะนำกันถึง 5 วิธี
- การสอนให้ลูกกล้าแสดงออก ในส่วนนี้จัดเป็นวิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าวในทางที่ง่ายและเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยรู้จักการแสดงออกที่เหมาะสมตามกาลเทศะและตามโอกาส อาทิเช่น การสอนให้ลูกยกมือไหว้สวัสดีเมื่อพบกับผู้ใหญ่ หรือการสอนให้ลูกยกมือไหว้และเอ่ยขอบคุณเมื่อมีผู้ใหญ่ให้สิ่งของหรือของกินต่าง ๆ (ส่วนนี้ต้องสอนควบคู่ไปกับการไม่รับของจากคนแปลกหน้าด้วย) หรือ การสอนให้ลูกเอ่ยขอโทษเมื่อตนทำผิด ซึ่งล้วนช่วยส่งเสริมและขัดเกลาลักษณะนิสัยไม่ให้เกิดความเอาแต่ใจหรือความก้าวร้าวได้
- การสอนให้ลูกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ส่วนของหัวข้อนี้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะเกิดข้อคำถามขึ้นได้ว่าในวัยเด็กอายุ 3 – 6 ขวบจะเกิดความรู้สึกและเข้าใจส่วนนี้ได้หรอ ในความเป็นจริงแล้วเด็ก ๆ จะมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นตั้งแต่ช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าวได้ง่าย ๆ ด้วยการอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจถึงมุมมองของผู้อื่น หรือ บางครอบครัวก็เริ่มให้ลูกน้อยเลี้ยงสัตว์เพื่อให้เรียนรู้ในส่วนนี้
- การสอนให้ลูกเห็นถึงผลของการกระทำที่เกิดขึ้น ซึ่งจัดเป็นวิธีสอนลูกที่จะทำให้ลูกน้อยได้เรียนรู้และเริ่มประมวลความคิดได้ด้วยตัวของเขาเองจนเกิดเป็นหนึ่งหน่วยความทรงจำเพื่อแสดงออกหรือคลังความคิดสำหรับการตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในอนาคตได้ อาทิเช่น ลูกน้อยขว้างปาสิ่งของคุณพ่อคุณแม่ต้องมานั่งเก็บทำให้ช่วงเวลาในการเตรียมอาหารช้า จึงทำให้ลูกน้อยได้กินข้าวช้าหรือทำให้ช่วงเวลาในการดูทีวีลดลง คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้การอธิบายและการกระทำแสดงให้ลูกน้อยเห็น พร้อมกับค่อย ๆ สอนเหตุและผลที่ตามมาให้แก่ลูกน้อย
- การสอนให้ลูกน้อยรู้จักระงับอารมณ์ของตน อาทิเช่น เมื่ออยู่ที่โรงเรียนแล้วมีเพื่อน ๆ มาแกล้งก็ไม่ควรไปแสดงความก้าวร้าวกลับ คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีสอนให้ลูกน้อยไปแจ้งแก่คุณครูทันที รวมถึงกลับมาเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟังด้วย ซึ่งการระงับอารมณ์นี้จะเป็นพื้นฐานวิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าวที่ได้ผลดี และ ผลดังกล่าวก็จะส่งผลต่อนิสัยของลูกน้อยในอนาคตด้วย
- การทำโทษ เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งการทำโทษก็กลายเป็นอีกหนึ่งวิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหยิบยกขึ้นมาใช้เพื่อให้ลูกน้อยเกิดการเรียนรู้ การทำโทษในที่นี้ไม่ใช่เพียงการตีเท่านั้น ยังหมายรวมถึงการลดชั่วโมงดูทีวี การให้เข้ามุม หรือ การอดได้ของเล่นชิ้นใหม่ เป็นต้น
การที่ลูกก้าวร้าวเกิดจากอะไร
ลูกก้าวร้าวในช่วงวัย 3 – 6 ขวบก็เกิดได้จากพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่เริ่มแสดงออกเพียงแต่เด็ก ๆ บางคนอาจจะจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกได้ไม่ดีนักจึงแสดงออกมาเป็นความเอาแต่ใจและความก้าวร้าวนั่นเอง นอกจากนี้สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู รวมถึงลักษณะต้นแบบ (พฤติกรรมหรือการแสดงการของคุณพ่อคุณแม่) ก็มีส่วนที่ทำให้ลูกน้อยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้ด้วย
ผลเสียหากปล่อยให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าว
หากลูกน้อยเป็นเด็กก้าวร้าวก็จะเป็นที่ไม่น่ารักของผู้พบเห็นทั้งที่บ้านหรือที่โรงเรียน ทำให้ลูกน้อยของคุณได้รับความรักหรือความน่าเอ็นดูจากสายตาคนรอบข้างน้อยลง ซึ่งจะไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอน หากคนรอบข้างนั้นคือคุณครู หรือ ญาติผู้ใหญ่ที่มีส่วนในการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนลูกน้อยของคุณ รวมถึงความก้าวร้าวนั้น ๆ อาจส่งผลต่อไปยังลักษณะนิสัยและการแสดงออกเมื่อลูกน้อยโตขึ้นได้อีกด้วย
เราจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมก้าวร้าวหรือเอาแต่ใจของลูกน้อยสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ และยิ่งถ้ามีสิ่งเร้าอย่างสภาพแวดล้อมหรือต้นแบบก็จะทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นรุนแรงหรือเกิดบ่อยมากขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้วิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าวมาสอนลูกน้อยตั้งแต่ช่วงวัยเด็กเพื่อเป็นการปลูกฝั่งลักษณะนิสัยที่ดีให้กับลูกน้อยของคุณเอง
เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ