fbpx
Homeเรื่องน่ารู้Advertorialวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร และวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

วิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร และวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

คุณแม่รู้ไหมว่า เด็กทารกมักจะเกิดการแพ้ได้บ่อย โดยเฉพาะการแพ้อาหาร โดยเมื่อแพ้อาหาร อาจมีอาการผื่นแพ้อาหารทารกขึ้นตามใบหน้า ลำตัว ซึ่งก็คงสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อย โดยการแพ้อาหารนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลย เพราะอาจมีความรุนแรงและอันตรายมากกว่าที่คิด ที่สำคัญอาหารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ก็มีหลากหลายชนิด คุณแม่จึงต้องรู้วิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร เพื่อจะได้พาลูกไปพบแพทย์ได้ทัน และวินิจฉัยว่าลูกแพ้อะไร พร้อมรักษาอย่างถูกวิธีนั่นเอง โดยวันนี้เราก็จะพาไปดูวิธีสังเกตและการป้องกันไม่ให้ลูกแพ้อาหารกันค่ะ

คุณแม่ต้องรู้ การแพ้อาหารในเด็ก คืออะไร?

การแพ้อาหาร ก็คือการที่เด็กได้รับประทานหรือสัมผัสกับอาหารบางชนิด แล้วเกิดอาการผิดปกติขึ้นมา เช่น มีผื่นแดง หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย และมักจะเกิดอาการแพ้ซ้ำได้อีกเมื่อรับประทานอาหารชนิดเดิมเข้าไป

เด็กแพ้อาหาร ผื่นแพ้อาหารทารก มีสาเหตุมาจากอะไร?

การแพ้อาหารที่เกิดขึ้นในเด็กอาจมีสาเหตุได้จากหลายๆ อย่าง เช่น พันธุกรรม ซึ่งพบว่าเด็กที่พ่อแม่หรือคนในครอบครัว เป็นภูมิแพ้ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้มากกว่า รวมถึงเด็กที่ดื่มนมแม่น้อยหรือไม่ได้ดื่มเลย ก็จะเป็นภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าเช่นกัน

ลักษณะของอาการทารกแพ้อาหารลักษณะของอาการทารกแพ้อาหาร

ทารกแพ้อาหารมักจะแสดงอาการออกผ่าน 3 ระบบหลักในร่างกาย ดังต่อไปนี้

  1. อาการทางผิวหนัง เป็นผื่นแดง มีอาการคัน โดยอาจมีลักษณะเหมือนเป็นผื่นลมพิษ หรือเป็นผื่นเม็ดทราย บางครั้งก็เป็นตุ่มน้ำใสแล้วแตกออกมาเป็นแผลแฉะๆตามหน้า แขนขาและตามตัว
  2. ระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน มีมูกเลือดปนมากับอุจจาระ
  3. ระบบทางเดินหายใจ มีน้ำมูก แน่นจมูก และอาจมีอาการไอจามร่วมด้วย

โดยหากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกมีความเสี่ยงที่จะแพ้อาหารหรือเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้หรือเปล่า ก็สามารถทำแบบทดสอบเกี่ยวกับภูมิแพ้ในเด็กได้เลยทันที ​ซึ่งภาวะที่ทารกแพ้อาหารนี้ หากรู้ทันก่อนก็สามารถป้องกันได้ นอกจากนี้คุณแม่ก็ควรรู้ด้วยว่ามีอาหารชนิดใดบ้างที่ก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่าย โดยเราจะไปดูในหัวข้อต่อไปกันค่ะ

ประเภทอาหารที่เด็กทารกเกิดการแพ้ได้ง่าย

ประเภทอาหารที่เด็กทารกเกิดการแพ้ได้ง่าย

อาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ได้นั้นมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยที่สุดก็มีดังนี้

  1. ไข่ โดยมักจะเกิดการแพ้ได้มากในเด็กวัย 1 ขวบปีแรก และส่วนใหญ่จะหายแพ้เมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี
  2. นม โดยมักจะเกิดการแพ้ในมากในเด็กวัย 1 ขวบปีแรก และมักจะหายแพ้เมื่ออายุประมาณ 2-6 ปี
  3. ถั่วลิสงและถั่วเปลือกแข็ง โดยมักจะเกิดกับเด็กวัย 1-2 ปี ส่วนใหญ่มักจะไม่หายจากอาการแพ้
  4. ถั่วเหลือง พบบ่อยในเด็ก1 ขวบปีแรก และมักจะหายแพ้ เมื่ออายุประมาณ 3-6 ปี
  5. ข้าวสาลี พบบ่อยในเด็กอายุ 1 ปีแรก และมักจะหายแพ้ในช่วงอายุ 4-18 ปี
  6. อาหารทะเล พบบ่อยในเด็กขวบปีแรก จึงไม่แนะนำให้เริ่มอาหารทะเลในวัยทารก ควรเริ่มหลังอายุ 1 ปีไปแล้ว เพราะถ้ามีอาการแพ้ในวัยทารก จะต้องงดไปอย่างน้อย 1-2 ปีแล้วค่อยมาลองกินใหม่อีกครั้ง

วิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้เอาไว้

คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตว่าลูกแพ้อาหารหรือไม่ และแพ้อาหารชนิดใด เพื่อจะได้หลีกเลี่ยง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ หรือ มีผื่นแพ้อาหารทารกซ้ำอีก โดยมีวิธีสังเกตทารกแพ้อาหารคือ จะต้องดูว่าหลังจากป้อนอาหารให้ลูกแล้ว มีอาการผิดปกติใดเกิดขึ้นหรือไม่ และจดรายการอาหารทุกชนิดที่ลูกรับประทาน รวมถึงอาการที่แสดงออกมา ถ้าให้ดีคุณแม่ไม่ควรให้ลูกทานอาหารหลายชนิดเกินไปในมื้อเดียวกัน เพื่อจะได้พิจารณาได้ง่ายว่าอาหารชนิดไหนกันแน่ที่ลูกทานแล้วแพ้ ซึ่งหากไม่มั่นใจให้นำรายการที่จดบันทึกไว้ไปปรึกษาแพทย์ดูก่อน แพทย์จะได้วินิจฉัยและแนะนำวิธีการป้องกันให้นั่นเอง

ทั้งนี้หากพบความผิดปกติหลังจากลูกรับประทานอาหารชนิดใด ควรให้หยุดทานทันที หรือหากลูกดื่มนมแม่ คุณแม่ก็ควรเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ด้วยเช่นกัน

เด็กทารกแพ้อาหาร รักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

เด็กแพ้อาหาร จะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่แพ้ด้วย โดยส่วนใหญ่หากแพ้นมวัวหรือแพ้ไข่จะมีโอกาสหายได้ เพราะเมื่อโตขึ้น ภูมิคุ้มกันสมบูรณ์ขึ้น ก็จะไม่เกิดการแพ้อีก แต่สำหรับอาหารบางชนิด เช่น ถั่วลิสงและถั่วเปลือกแข็ง มักจะรักษาไม่หาย และอาจแพ้ตลอดชีวิตอย่างไรก็ตามสามารถลดความเสี่ยงเกิดการแพ้ได้ด้วยการให้ลูกดื่มนมแม่นานถึง 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะนมแม่มีคุณสมบัติ Hypo-Allergenic (H.A.) ที่ช่วยลดความเสี่ยงภูมิแพ้ได้ และยังมีสารอาหารที่สำคัญมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงโปรตีนในนมแม่บางส่วน มี PHP หรือ Partially Hydrolyzed Proteins ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลงด้วยเอ็นไซม์ตามธรรมชาติในนมแม่ รวมทั้งมี จุลินทรีย์โพรไบโอติกหลายชนิด เช่น Bifidus BL ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเหมาะสมจะมีการเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า

ผื่นแพ้อาหารทารก คุณแม่สามารถป้องกันได้ ถ้าสังเกตตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าลูกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้หรือไม่ อย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีความกังวล ไม่มั่นใจเรื่องความเสี่ยงของทารกมีผื่นแพ้อาหารหรือเปล่า สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับเราได้ที่ N Sensitive Club คลับที่รวมความรู้มากมายเรื่องภูมิแพ้ในเด็ก เป็นสมาชิกกับคลับของเราอุ่นใจแน่นอน

แหล่งอ้างอิง

 

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular