การเดินทางเป็นหนึ่งสิ่งที่ยังคงมีความจำเป็นแม้จะเป็นส่วนของคนท้องเองก็ตาม เพราะคนท้องต้องมีการเดินทางเพื่อการตรวจครรภ์ในเกือบทุกเดือนของการตั้งครรภ์ทั้งนี้ก็เพื่อการติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงความปลอดภัยของลูกน้อยและคุณแม่ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ก็มักจะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หรือ อาการแพ้ท้องบ้างอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อต้องเดินทางไม่ว่าจะด้วยทางรถ ทางเรือ หรือทางเครื่องบินก็จะเกิดอาการเมาได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ครั้งคุณแม่จะแก้อาการแพ้ด้วยยาแก้เมารถก็เกิดความกังวลว่า คนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม จะเกิดอันตรายใด ๆ ต่อลูกน้อยในครรภ์มั้ย ซึ่งเราเตรียมคำตอบของข้อสงสัยเหล่านี้ไว้ในบทความนี้
คนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม เรามีคำตอบ
เราขอเริ่มต้นพาคุณแม่ตั้งครรภ์ไปไขข้อสงสัยแรกกันก่อนเลยกับข้อสงสัยที่ว่าคนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ก็ต้องขึ้นกับสภาพร่างกายและอาการแพ้ของคุณแม่แต่ละท่าน หรือ สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ เลยก็คือ คนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม ขึ้นกับว่าคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ๆ มีประวัติแพ้ยาแก้อาการเมารถหรือไม่
– ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติในการแพ้ ยาแก้เมารถ ไม่ว่าจะเป็นยาต้านฮิสตามีนที่แพทย์มักเลือกจ่ายเป็นตัวยาไซคลิซีน, เมคลิซีน, ไดเมนไฮดริเนท, โปรเมทาซีน หรือ ซินนาริซีน ซึ่งอาการแพ้ก็จะมีทั้งการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หรือมีผื่นขึ้น ซึ่งก็นับว่าเป็นอันตรายทั้งต่อลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง ส่วนของคำถามที่ว่าคนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม ก็ต้องตอบว่าไม่ควรอย่างยิ่งที่จะกินยาแก้อาการเมารถ
– ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติในการส่วนของการแพ้พลาสเตอร์ที่มีการผสมส่วนของตัวยาสโคโปลามีนก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้แพ้หรือแก้เมาชนิดนี้ เพราะพลาสเตอร์ตัวยาสโคโปลามีนนี้มีวิธีใช้ด้วยการแปะไว้ที่หลังใบหูก่อนการเดินทางเป็นเวลา 2 – 3 ชั่วโมง หากคุณแม่ตั้งครรภ์แพ้ก็จะเกิดอาการระคายเคือง จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้งานพลาสเตอร์ที่มีการผสมส่วนของตัวยาสโคโปลามีนดังกล่าว
– ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีประวัติการแพ้ทั้งส่วนของยาในกลุ่มยาต้านฮิสตามีนหรือพลาสเตอร์ตัวยาสโคโปลามีน สำหรับข้อคำถามที่ว่าคนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหมก็ต้องตอบเลยว่าสามารถกินได้ เพื่อการเดินทางที่สะดวกและสบาย
บรรเทาอาการเมารถได้อย่างไร ถ้าไม่อยากกินยา
เมื่อเราทราบกันจากหัวข้อก่อนหน้าแล้วว่าคนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม ถัดมาเราก็ขอพาคุณแม่ตั้งครรภ์มาพบกับเคล็ดลับอื่น ๆ นอกเหนือจากการกินยาแก้อาการเมา ซึ่งมีดังนี้
1.สำหรับวิธีแรกที่เราขอแนะนำสำหรับการบรรเทาอาการเมารถโดยไม่ใช่ยาแก้อาการเมารถ คือ การเลือกตำแหน่งที่นั่งให้เหมาะสม โดยตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการเมารถน้อยที่สุด คือ บริเวณข้างคนขับ และ ถ้าหากเป็นการนั่งเครื่องบินก็ควรนั่งริมหน้าต่าง
2.การจิบน้ำระหว่างการเดินทางบ่อย ๆ เพื่อช่วยลดอาการเมารถที่สามารถเกิดขึ้นได้
3.การพกขิงสดที่ล้างจนสะอาดแล้วไปในระหว่างการเดินทาง เพราะขิงสดมีสรรพคุณที่สามารถบรรเทาอาการเมาได้ คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นสามารถดมขิงเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียน หรือ การกัดขิงเพื่อให้เกิดรสชาติเฝื่อนฝาดในลำคอ
4.การพกยาดม ยาหอม เพื่อใช้สูดดมเมื่อเริ่มมีอาการเมารถ
5.งดการอ่านหนังสือระหว่างการเดินทางโดยสารรถหรือเรือ ทั้งนี้ก็รวมไปถึงการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือ การดูโทรทัศน์เคลื่อนที่ที่มีติดบนรถยนต์บางรุ่นด้วย
6.การกัดกินผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ซึ่งช่วยลดทั้งอาการเมารถ และ อาการแพ้ท้องได้เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ควรกินมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดอาการปวดท้องหรือท้องเสียได้
7.การใช้ยาหม่องช่วยทาบรรเทาบริเวณขมับเพื่อให้เกิดความรู้สึกเย็นสดชื่น ทั้งนี้ก็ต้องระมัดระวังในส่วนของการทาไปโดนเนื้อเยื่ออ่อนอย่างบริเวณรอบดวงตาด้วย และต้องเพิ่มความระมัดระวังในส่วนของมือที่ใช้ทา โดยคุณแม่ไม่ควรนำมือที่ผ่านการทายาหม่องไปหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก คุณแม่ตั้งครรภ์ควรที่จะทำความสะอาดมือหลังการทายาหม่องเสมอ
8.การเปิดหน้าต่างรถเพื่อให้มีอากาศถ่ายเท ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวเราก็แนะนำเฉพาะในพื้นที่ที่อากาศค่อนข้างปลอดโปร่งโล่งสบายและสภาพการจราจรไม่แออัดหรือติดขัด
9.การงดใช้น้ำหอมปรับอากาศบนรถยนต์ที่คุณแม่โดยสาร ทั้งนี้ก็เนื่องจากคุณแม่อาจแพ้กลิ่นน้ำหอมปรับอากาศนั้น ๆ แล้วทำให้เกิดอาการวิงเวียนเมารถได้
จากบทความข้างต้นคงจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เกิดอาการเมารถ และคุณแม่ตั้งครรภ์คงจะได้คำตอบจากข้อสงสัยที่ว่าคนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม นอกจากนี้เรายังมีเคล็ดลับดี ๆ ในส่วนการบรรเทาอาการเมารถโดยไม่ต้องกินยาแก้เมารถมาฝากคุณแม่ที่มีความกังวล หรือ ความไม่สบายใจหากต้องแก้อาการเมารถด้วยการกินยาแก้เมารถ ซึ่งทุกเคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็สามารถทำได้ด้วยตนเองแบบไม่เป็นอันตรายกันเลย
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ