fbpx
Homeการเลี้ยงลูกลูกหกล้มเป็นแผล ดูแลรักษาอย่างไร ให้หายเร็ว ไม่เสี่ยงติดเชื้อ

ลูกหกล้มเป็นแผล ดูแลรักษาอย่างไร ให้หายเร็ว ไม่เสี่ยงติดเชื้อ

การวิ่งหกล้ม นับเป็นเรื่องปกติของเด็กๆ ที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมโลดโผน แนวผจญภัย เช่น การวิ่งเล่นบนสนาม การปั่นจักรยาน การไต่ ปีนปายเครื่องเล่นต่างๆ  เมื่อเกิดความสนุกสนานมากเท่าไหร่ ความระมัดระวังของเด็กๆ มักลดน้อยลง จนทำให้มีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุสูงมากขึ้น ในบางครั้งอาจเป็นเพียงแผลฟกช้ำ ที่ทายาไม่กี่ครั้ง ก็สามารถหายได้ แต่บางกรณีอาจเป็นแผลอักเสบ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ดังนั้นหน้าที่นี้คงต้องเป็นของคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ที่ควรมั่นสังเกต ร่องรอยต่างๆ ตามร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้างเคียง เมื่อ ลูกหกล้มเป็นแผล

ลูกหกล้มเป็นแผล ต้องดูแลรักษาอย่างไร

อย่างที่เราได้บอกไป การเกิดแผลหรือการหกล้มของเด็กๆ ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อลูกหกล้มเป็นแผล วิธีการรักษาเบื้องต้น คือต้องทำแผลก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ จำเป็นที่จำต้องรู้ถึงวิธีการรักษาแผลให้กับลูกๆ  โดยลำดับแรกต้องสังเกตบริเวณที่เกิดบาดแผล หากมีแผลไม่ใหญ่และไม่ลึกมาก สามารถทำแผลได้เองเลย แต่ถ้าหากความกว้างของแผลมากกว่า 5 เซนติเมตร ควรทำความสะอาดเบื้องต้น และนำส่งโรงพยาบาลต่อไป

อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาแผล

เมื่อลูกหกล้มเป็นแผล หน้าที่รักษา ทำแผล ก็ต้องตกเป็นของพ่อแม่ เพื่อไม่ให้เกิดรอยแผลเป็น การเลือกให้อุปรณ์รักษาแผลจึงมีส่วนสำคัญ พลาสเตอร์ปิดแผล เป็นอุปกรณ์ทำแผลชนิดหนึ่ง ที่เชื่อได้เลยว่าบ้านของทุกคน ต้องมีติดไว้ในตู้ยาสามัณประจำบ้านอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยดูดซับของเหลวจากแผล ให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้น ทำให้ลดโอกาสติดเชื้อลงได้ ในปัจจุบัน มีให้เลือกหลากหลายรุ่น เช่น พลาสเตอร์รุ่นกันน้ำ โดยจะมีลักษณะเป็นเนื้อฟิลม์ใส มีความยืดหยุ่น ติดแน่น สามารถโค้งงอตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ทิ้งคราบเมื่อลอกออก ลูกหกล้มเป็นแผล พลาสเตอร์เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยรักษาแผลได้

ขั้นตอนการทำแผลให้ลูก

การผจญภัยของเด็กๆ มักมาพร้อมบาดแผล เมื่อลูกหกล้มเป็นแผล คนเป็นพ่อเป็นแม่คงทำใจยากไม่น้อย แต่ไม่ว่าอย่างไร ต้องตั้งสติและรักษาแผลให้กับลูกก่อนเป็นอันดับแรก โดยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง เมื่อจะเริ่มต้นทำแผล
  • ทายาฆ่าเชื้อ เพื่อยับยั้งแบคทีเรียก่อน จะช่วยลดการเกิดสะเก็ดได้ หรือสามารถล้างด้วยน้ำเกลือก็ได้ หากแผลสกปรกมากๆ ควรเปิดน้ำให้ไหลผ่าน เพื่อล้างเศษดิน เศษโคลน หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากแผลก่อน
  • ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ในการเช็ดแผล เพราะจะทำให้แผลของเด็กหายช้า และอาจก่อให้เกิดอาการแสบผิวได้ด้วย
  • เลือกใช้อุปกรณ์ปิดแผล ที่เหมาะสมกับขนาดของแผล โดยเน้นที่ให้ความชุ่มชื้น จะทำให้ไม่เกิดรอยแผลเป็น และควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน เพื่อลดการหมักหมกของเชื้อโรค
  • หากแผลเริ่มตกสะเก็ด ไม่ควรให้ลูกเกาหรือแกะ เพราะอาจทำให้เป็นรอยแผลเป็น และควรหลีกเลี่ยงการออกแดด เพราะจะทำให้เป็นรอยดำ

วิธีป้องกันแผลอักเสบ ติดเชื้อ

หลังจากทำแผลเสร็จ สิ่งที่ควรระมัดระวังหลังจากนั้น คือการติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้แผลเกิดการติดเชื้อได้ ในเด็กบางคนอาจมีผลข้างเคียง ที่ทำให้เกิดอาการเป็นไข้ ตัวร้อน หนาวสั่น และอื่นๆ ดังนั้นเมื่อลูกหกล้มเป็นแผล ต้องมั่นดูแลและเอาใจใส่ จนกว่าแผลจะหาย ซึ่งวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดแผลอักเสบ ติดเชื้อ มีดังนี้

  • ก่อนทำแผล ต้องทำการล้างแผลให้สะอาด โดยน้ำสะอาด น้ำยาล้างแผล น้ำเกลือ เป็นต้น
  • ล้างมือทุกครั้งเวลาทำแผลให้ลูก
  • ดูแลแผลให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ให้แผลเปียกน้ำ โดย เฉพาะเวลาอาบน้ำ ต้องระมัดระวัง
  • เปลี่ยนพลาสเตอร์ติดแผลทุกวัน

การดูแลรักษาแผลอื่นๆ

รอยแผลถือเป็นร่องรอยแห่งการเรียนรู้ของเด็กๆ ซึ่งแผลมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับต้นตอของสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล ในบางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง แต่บางชนิดจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อและเกิดการอักเสบ โดยมีทั้งหมด 4 ชนิด ดังนี้

  1. แผลถลอก เป็นชนิดที่เกิดง่ายที่สุด เมื่อลูกหกล้มเป็นแผล มักเป็นแผลถลอก ที่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง โดยการล้างด้วยน้ำสะอาดและปิดพลาสเตอร์ได้เลย
  2. แผลถูกของมีคม จะสังเกตได้จากการมีเลือดซึมออกมา หากเป็นแผลลขนาดเล็ก ที่เลือดออกไม่เยอะมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถห้ามเลือดให้หยุดเองได้ แล้วทำการรักษาได้เลย แต่หากมีความลึกจนเลือดไม่หยุดไหล ค่อยรีบพบแพทย์ทันที
  3. แผลแมลงกัดต่อย แผลชนิดนี้มักมาพร้อมกับอาการปวด บวม แดง หากเป็นแมลงไม่มีพิษ ใช้ยาทา อาการก็จะเริ่มดีขึ้น แต่ถ้าหากเป็นแมลงพิษร้ายแรง ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

เมื่อลูกหกล้มเป็นแผล จำเป็นต้องได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เนื่องจากเด็กยังมีผิวที่อ่อนแอ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ หากได้รับการรักษาไม่ดี ไม่ถูกสุขอนามัย อาจเกิดการติดเชื้อจากบาดแผลได้ ทำให้มีอาการข้างเคียงต่างๆ เกิดขึ้น เช่น มีไข้ หนาวสั่น หรือเกิดอาการบวมแดงบริเวณแผล ดังนั้น คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ควรเอาใจใส่และมั่นดูแล จนกว่าแผลจะหายดี เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular