fbpx
Homeพัฒนาการเด็กภาวะลิ้นติด (Tongue-tie)คืออะไร รักษาอย่างไร

ภาวะลิ้นติด (Tongue-tie)คืออะไร รักษาอย่างไร

ลิ้นติด  (Tongue-tie) เป็นภาวะที่การเคลื่อนไหวลิ้นถูกจำกัดจากการที่มีเนื้อเยื่อไปยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปาก ส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งเนื้อเยื่อที่ว่านี้อาจสั้นไปและยึดติดกับลิ้นแน่นไป หรืออาจเกาะออกไปตามพื้นล่างของลิ้นยาวเกินไป หากยื่นไปถึงปลายลิ้นอาจทำให้เห็นปลายลิ้นเป็นรูปตัว V หรือเป็นรูปหัวใจ ภาวะนี้มักเป็นกรรมพันธ์และไม่สามารถป้องกันได้

ภาวะลิ้นติดมาก ๆ อาจทำให้แลบลิ้นยื่นออกมาและกระดกลิ้นไม่ได้ ทำให้ขัดขวางการเคลื่อนไหวตามปกติของลิ้นที่เป็นลูกคลื่นเวลาที่ดูดนมแม่ ส่งผลให้ดูดนมแม่ลำบาก ดูดนมได้ไม่ดี อมหัวนมแล้วมักหลุด คุณแม่เองก็เจ็บหัวนม หรือทำให้หัวนมของคุณแม่มีการชอกช้ำเป็นแผล ส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่สร้างน้ำนมได้น้อยลง และเกิดปัญหานมแม่ไม่เพียงพอ

อาการที่แสดงว่า ลูกเกิดภาวะลิ้นติด

  • ลูกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปากหรือเหงือกบน
  • ไม่สามารถกระดกปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสเพดานปากได้
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นไปด้านข้างได้
  • เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นจะแบนไม่มน หรือเป็นเหลื่ยม ไม่แหลมมนอย่างทั่ว ๆ ไป
  • ปลายลิ้นอาจเป็นร่องหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ

ข้อบ่งชี้ว่าเด็กที่มีภาวะลิ้นติด ที่ควรได้รับการแก้ไข

  • คุณแม่จะเจ็บหัวนมหรือมีร่องรอยฟกช้ำ หรือเป็นแผล
  • หัวนมผิดรูปไปหลังจากให้ลูกกินนมแล้ว
  • มีรอยกดหรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังจากที่ลูกดูดนมแล้ว
  • ลูกมักดูดหรืองับไม่ได้ หรือดูดแล้วหลุดเลยทำให้ดูดได้แต่ลม
  • ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากปากลูกขณะดูดนม
  • น้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้นหรือขึ้นช้า

การรักษาภาวะลิ้นติด

การรักษาภาวะลิ้นติดใช้การผ่าตัด โดยในทารกต่ำกว่า 4 เดือน หรือฟันยังไม่ขึ้น สามารถใช้ยาเฉพาะที่ได้ ทารกไม่จำเป็นต้องงดนมก่อนผ่าตัด ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด ประมาณ 10-15 นาที หลังผ่าตัดเด็กสามารถกินนมได้ทันทีและกลับบ้านได้ ส่วนในเด็กโตจำเป็นต้องใช้วิธีดมยาสลบเพื่อผ่าตัด

หลังผ่าตัดไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาโดยเฉพาะอีก ในเด็กบางรายหลังผ่าตัดอาจพบเยื่อขาว ๆ เป็นแผ่นเล็กๆที่แผล ซึ่งจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ พบภาวะติดเชื้อน้อยมาก

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular