การเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตนเอง หรือ เกิดขึ้นกับคนรอบตัวก็นำมาซึ่งความไม่สบายกายของผู้ที่เจ็บป่วยและนำมาซึ่งความกังวลใจ หรือ ความไม่สบายใจ และ ความทุกข์ของผู้ที่พบเห็น โดยเฉพาะหากความเจ็บป่วยนั้น ๆ ปรากฎขึ้นในลูกน้อยของคุณ ไม่ว่าความเจ็บป่วยนั้นจะมากหรือน้อยก็ตาม แต่หากเกิดกับลูกน้อยที่นับเป็นแก้วตาดวงใจของคุณพ่อคุณแม่ก็จะยิ่งเพิ่มความไม่สบายใจ ความทุกข์ ความกังวลใจขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ หนึ่งในนั้นก็คือ ลูกมีอาการไอ ซึ่งเรามีวิธีบรรเทาอาการไอมาฝากคุณพ่อคุณแม่กันในบทความนี้
ลูกมีอาการไอ มีสาเหตุมาจากอะไร
ลูกมีอาการไอนั้นมีสาเหตุที่หลากหลาย และอาจเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้เมื่อลูกมีอาการไอก็คือ
- ลูกน้อยเป็นหวัดเมื่อลูกน้อยเป็นหวัดก็จะนำไปสู่การหายใจที่ไม่ปกติ ลูกน้อยก็อาจจะหายใจทางปากแทนได้ ส่วนนี้ก็นำไปสู่อาการไอในลูกน้อยได้
- ลูกน้อยมีอาการไอเรื้อรังส่วนนี้มักเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ลูกน้อยต้องเผชิญ โดยลูกมีอาการไอค่อนข้างจะอันตราย คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด
- ลูกน้อยระคายเคืองคอเมื่อเกิดการระคายเคืองคอ ลูกน้อยจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อร่างกายโดยอัติโนมัติ ส่วนนั้นก็คือการไอนั่นเอง
- ลูกน้อยมีอาหารติดคอเมื่อมีอาหารติดคอก็จะมีการไอเกิดขึ้น ส่วนนี้นับเป็นอันตรายอย่างมาก และ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบเข้าไปช่วยเหลือลูกน้อยอย่างทันท่วงที
- ลูกน้อยเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลูกมีอาการไอที่เกิดการติดเชื้อร่วมด้วยมักมีส่วนของเสมหะร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสีของเสมหะที่เกิดขึ้นในลูกน้อยด้วย
วิธีบรรเทาอาการไอ เมื่อลูกไอบ่อยๆ
วิธีบรรเทาอาการไอ เมื่อลูกน้อยไอบ่อย ๆ มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานของมัน หรือ ของทอดที่มีส่วนผสมของน้ำมัน ที่จะไปกระตุ้นการระคายเคืองคอในลูกน้อยได้
- หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำจนเกินไป เพราะอุณหภูมิที่ต่ำนี้จะทำให้เกิดอาการหวัด และ อาการไอในลูกน้อยได้
- หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีมลภาวะทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่มีผู้สูบบุหรี่ บริเวณที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมาก หรือ แม้แต่บริเวณที่เป็นถนนใหญ่เพราะจะมีทั้งส่วนของฝุ่นละอองจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือ ฝุ่นละอองจาก PM 2.5
- หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น อย่างการพาลูกน้อยไปยังโรงพยาบาลเพื่อรอการตรวจของบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว เพราะโรงพยาบาลนั้นเต็มไปด้วยผู้ป่วย ลูกน้อยยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่เต็มที่อาจทำให้ไอได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปร่วมกลุ่มกับบุคคลอื่น ๆ ที่กำลังป่วย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยที่ยังไม่สมบูรณ์เมื่อไปรวมกลุ่มกับผู้ที่กำลังป่วยอยู่ก็อาจทำให้ลูกน้อยไอได้
- หลีกเลี่ยงน้ำเย็น ส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการไอของลูกน้อยได้ก็คือการให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น และ เปลี่ยนมาดื่มน้ำอุ่นในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแทน
- การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกให้แก่ลูกน้อย อาการไอส่วนหนึ่งของมาจากอาการคัดจมูก หากเราสามารถรักษาอาการไอจากต้นเหตุด้วยการทำให้ลูกน้อยหายจากการคัดจมูกก็จะทำให้ลูกน้อยหายจากอาการไอได้ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกของลูกน้อยต้องเลือกที่มีความปลอดภัยต่อลูกน้อยเป็นส่วนสำคัญ
- ซับผมลูกน้อยให้แห้งก่อนนอน บางครั้งความเย็นสะสมที่อยู่ในเส้นผมนำมาซึ่งอาการไอของลูกน้อยได้ ดังนั้นหนึ่งในวิธีบรรเทาอาการดังกล่าวนี้ก็คือการซับผมลูกน้อยให้แห้งก่อนนอนเสมอ
ลูกมีอาการไอ แบบไหนที่ควรพาลูกไปพบแพทย์ด่วน
ลูกมีอาการไอที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน มีอาการดังนี้
- ลูกน้อยไอติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ลูกน้อยไอโดยมีเสมหะขนาดใหญ่ร่วมด้วย
- ลูกมีอาการไอจนมีเลือดปะปนออกมาในเสมหะ
- ลูกน้อยไอจนไม่สามารถนอนหลับได้
- ลูกน้อยไอติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือ ลูกน้อยไอเรื้อรัง
ป้องกันอาการไอได้อย่างไร
คงดีกว่าหากคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันอาการไอของลูกน้อยได้ ซึ่งก็มีดังนี้
- จัดอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการให้แก่ลูกน้อย เพื่อให้ลูกน้อยสามารถใช้สารอาหารจากการรับประทานอาหารไปเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ให้ลูกน้อยพักผ่อนอย่างเพียงพอ แน่นอนว่าความไม่มีโรคย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ แต่เราทุกคนก็ย่อมต้องเคยผ่านการเจ็บป่วยมาบ้างแล้ว และแน่นอนลูกน้อยของเราเองก็เช่นกันที่อาจมีการเจ็บป่วยได้ ไม่ว่าลูกมีอาการไอ เป็นหวัด หรือ ท้องเสียก็ตาม
เมื่อคุณพ่อคุณแม่อ่านบทความมาจนถึงจุดนี้ที่มีทั้งส่วนของสาเหตุลูกมีอาการไอ วิธีบรรเทาอาการไอ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพาลูกน้อยไปพบแพทย์เมื่อลูกมีอาการไอ และสุดท้ายกับการป้องกันอาการไอในลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ก็คงมีเคล็ดลับและหลากวิธีปรับใช้เพื่อให้ลูกน้อยของคุณสามารถเติบโตมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ