อาการเวียนหัวใจสั่น นับเป็นอาการที่หลาย ๆ ท่านมักมองข้าม และ ไม่ให้ความสำคัญเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นกับตัวเอง หรือ คนรอบข้าง บางครั้งบางคราเมื่อเกิดอาการใจสั่นขึ้นหลาย ๆ ท่านก็มองว่าเป็นเพียงความตื่นเต้นที่เกิดจากการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์บางอย่าง แต่อันที่จริงแล้วอาการเวียนหัวใจสั่นนี้เป็นอาการที่ร่างกายกำลังส่งสัญญาณบางอย่างให้กับเจ้าของร่างกายได้รับทราบหรือรับรู้ว่าร่างกายของตัวเองกำลังอยู่ในสภาวะที่ผิดปกติ ในบทความนี้เราจึงอาสาขอพาทุกท่านไปพบกับสาเหตุของอาการเวียนหัวใจสั่นรวมถึงอันตรายที่เกิดขึ้น
อาการเวียนหัวใจสั่น มีสาเหตุมาจากอะไร
อาการเวียนหัวใจสั่นเป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในร่างกายเอง ดังนี้
1.อารมณ์
เป็นสาเหตุของอาการเวียนหัวใจสั่นเมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เราไม่คุ้นเคย ไม่คุ้นชิน หรือ สถานการณ์ที่นำความประหม่ามาให้เรา ส่วนนี้ก็จะมีส่วนของอารมณ์ทั้งตื่นเต้น ตื่นกลัว หรือ ตกใจรวมด้วย
2.ความผิดปกติของหัวใจ
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อใดก็ตามที่หัวใจของเราทำงานผิดปกติก็จะนำมาซึ่งการสูบฉีดเลือดที่ผิดปกติตามไปด้วยและทำให้เกิดอาการใจสั่นขึ้น โดยความผิดปกติของหัวใจก็มีทั้งลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
3.ความผิดปกติของเส้นเลือด
เส้นเลือดนั้นเปรียบเสมือนสายน้ำที่นำพาน้ำไปหล่อเลี้ยงทุกอวัยวะของร่างกาย และเส้นเลือดนี้ก็จะทำหน้าที่นำเลือดดีจากหัวใจไปยังอวยัวะต่าง ๆ และนำเลือดเสียจากอวัยวะต่าง ๆ มาที่หัวใจ เมื่อใดก็ตามที่เส้นเลือดผิดปกติก็ทำให้หัวใจลำเลียงเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่เต็มที่ก็ทำให้เกิดอาการเวียนหัวใจได้ ความผิดปกติของเส้นเลือดก็มีทั้งเส้นเลือดตีบตัน เส้นเลือดอุดตัน หรือ เส้นเลือดเปราะจนแตก
4.การรักษาโรค
การรักษาโรคบางชนิดต้องอาศัยการทานยาหรือการฉีดยาร่วมด้วย และ ยาบางชนิดก็เป็นผลต่อการสูบฉีดเลือด หรือ การทำงานของหัวใจได้ จึงมีผลต่ออาการเวียนหัวใจที่เกิดขึ้น
5.การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ แล้วทำให้เกิดภาวะร่างกายพร่องออกซิเจน นำไปสู่ความผิดปกติของการทำงานของหัวใจทำให้หัวใจสั่นได้
6.การดื่มสุรา หรือ การสูบบุหรี่
มีผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ส่วนนี้ก็รวมไปถึงระบบของหลอดเลือดและหัวใจนำไปสู่อาการเวียนหัวใจได้
อาการเวียนหัวใจสั่น อันตรายหรือไม่
หากเราเกิดข้อคำถามที่ว่าอาการเวียนหัวใจนั้นเป็นอันตรายหรือไม่ เราก็ต้องขอตอบทุกท่านว่าไม่ได้เป็นอันตรายในทุกกรณีเสมอไป ต้องดูว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้น ๆ มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ โดยอาการเวียนหัวใจจนใจสั่นที่เป็นอันตรายคืออาการที่ใจสั่นและมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย
- หมดสติ
- หายใจหอบและถี่
- แน่นหน้าอก
- ไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้เลย
- วิงเวียนศีรษะ
คำแนะนำเมื่อมีอาการเวียนหัว และใจสั่น
เมื่อเกิดอาการวิงเวียนหัว และ ใจสั่นขึ้นกับตัวของคุณเอง คุณควรปฏิบัติตนดังนี้
- หยุดกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำลังทำอยู่
- ย้ายตัวเองเข้าสู่ที่ร่ม หากคุณอยู่กลางแดด และ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
- แจ้งแก่ผู้อื่นว่าตัวของคุณเองเกิดอาการดังกล่าวขึ้น เพราะหากคุณมีอาการที่หนัก หรือ หมดสติ คนรอบข้างจะได้สามารถช่วยเหลือตัวคุณเองได้อย่างทันท่วงที
- รีบรับประทานยา หากอาการเวียนหัว หรือ ใจสั่นของคุณสามารถควบคุมและ รักษาได้ด้วยการทานยา
- การเปลี่ยนอิริยาบทให้อยู่ในท่วงท่าที่สบาย การไหลเวียนของเลือดไม่ติดขัด
- รีบหายใจเข้าและหายใจออกอย่างถูกวิธี
อาการเวียนหัวใจสั่น รักษาได้อย่างไร
เมื่อเกิดอาการนี้ขึ้นแล้ว คุณก็ไม่ควรกังวลใจไป เพราะอาการดังกล่าวนี้เป็นอาการที่สามารถรักษาได้ โดยวิธีดังนี้
- เข้ารักการตรวจวินิจฉัย
- หาสาเหตุของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้น
- เข้ารับการรักษาที่ต้นเหตุ เช่น เกิดเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจก็ต้องรักษาหัวใจก่อน
- ปรับพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสม โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความมัน หรือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมขอคาเฟอีน หรือ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Alcohol
- การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- การฝึกการหายใจที่ถูกวิธี
- การฝึกการควบคุมสภาพอารมณ์ไม่ให้ตื่นกลัว ตกใจ ตื่นเต้น หรือ วิตกกังวลมากจนเกินไป
- การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
- การอยู่ในสภาพแลดล้อมที่เหมาะสมทั้งการหลีกเลี่ยงจากมลภาวะฝุ่น ควัน แสงแดด รวมไปถึงเสียง และ อุณหภูมิที่ไม่พอเหมาะ
- การหลีกเลี่ยงจากกลุ่มบุคคลที่นำมาซึ่งความเครียด หรือ ความกังวลใจ
เมื่อเราทราบมาจากบทความข้างต้นแล้วว่าอาการเวียนหัวใจสั่นเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ร่างกายส่งบอกแก่เจ้าของร่างกาย ดังนั้นเมื่อเกิดอาการเวียนหัวใจสั่นขึ้น คุณเองก็ไม่ควรมองข้าม รีบหาสาเหตุ แนวทางรักษา รวมไปถึงการป้องกันการเกิดอาการใจสั่นซ้ำอีก แต่หากคุณไม่สามารถดำเนินการทั้งการหาสาเหตุ แนวทางรักษา หรือ การป้องกันด้วยตัวเองได้ คุณก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างแพทย์เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ