อาหารเป็นแหล่งรวบรวมสารอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกาย และบำรุงสมอง ทารกแรกเกิด-6 เดือน ควรได้รับน้ำนมจากมารดามากที่สุด เพราะนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็ก หากเป็นไปได้คุณแม่ควรให้นมแก่ลูกน้อยไปจนครบขวบปีหรือมากกว่าถือเป็นเรื่องดี และถ้าให้ควบคู่กับอาหารสำหรับเด็กตามวัยอย่างเหมาะสมแล้ว เด็กจะมีสุขภาพที่เติบโตสมวัยและมีภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับจากน้ำนมแม่อีกด้วย
เมื่อทารกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่ควรเริ่มให้ทานอาหารเสริมเพื่อให้เด็กได้ปรับตัวจากน้ำนมแม่เป็นอาหารเสริม รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นบางชนิดจากอาหารเสริม อาทิ โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี วิตามินเอ ไอโอดีน เป็นต้น เพื่อให้ลูกน้อยเจริญเติบโตสมวัย หากให้อาหารเสริมกับลูกช้าเกินไปลูกอาจจะปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารสำหรับคนโตได้ การให้อาหารตามวัยสำหรับทารกที่มีคุณภาพและปริมาณเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพของทารก ซึ่งจะมีผลต่อร่างกายและสติปัญญาในระยะยาวได้
ปัญหาหนึ่งสำหรับการจัดอาหารสำหรับทารก คือ ภาวะเศรษฐกิจ ความเชื่อที่ผิด และความไม่รู้ของบุคคลในครอบครัว ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพง อย่างนมผงสำหรับเด็กที่มีราคาสูงทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถซื้อได้ จึงตัดสินใจผสมนมข้นหวานกับน้ำสะอาดให้เด็กดื่มแทน สารอาหารจากนมผงสำหรับเด็กและนมข้นหวานผสมน้ำสะอาดก็แตกต่างกันมากแล้ว ปริมาณน้ำตาลก็แตกต่างเช่นกัน
การจัดเมนูอาหารสำหรับทารกให้เหมาะสมกับวัย ยกตัวอย่างคือ
- เด็กช่วงอายุ 6-8 เดือน เป็นช่วงที่ต้องให้ลูกได้ฝึกการบดเคี้ยว อาหารที่จัดให้ลูกได้ทานต้องมีความเหลวใกล้เคียงกับน้ำนมแม่ แต่ยังสามารถบดเคี้ยวได้บ้าง เช่น ข้าวบดต้มกับไข่แดงและตำลึง
- เด็กช่วงอายุ 9-11 เดือน อาหารที่จัดเตรียมเริ่มมีลักษณะคล้ายข้าวต้มหรือบดหยาบ ๆ ผสมกับอาหารที่เคี้ยวง่ายอย่างไข่ ตำลึง แครอท เป็นต้น
ควรจัดอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ ประมาณ 1 ถ้วยเล็ก ๆ และระหว่างป้อนอาหารพึงระวังว่าเด็กจะสนใจสิ่งรอบข้างมากกว่าจนไม่ยอมทานอาหาร ควรปรับให้เด็กสนใจการทานอาหารที่ละน้อย มีกรณีที่เด็กให้ความสนใจสิ่งอื่นมากกว่าจนทานอาหารเสริมไม่หมด แต่ภายหลังเด็กจะร้องโยเยเพราะยังไม่อิ่ม โดยที่คุณแม่อาจไม่รู้ จึงควรระวังจุดนี้ด้วย
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ