แน่นอนว่าหากเด็กอายุยังไม่ถึงขวบดีแต่น้ำหนักปาเข้าไปเกินกว่า 8 กิโลกรัม มั่นใจได้ว่าคุณพ่อคุณแม่ปู่ย่าตายายทั้งหลายมีแขนทรุดกันระนาว เนื่องจากต้องอุ้มต้องฝึกต้องหัดให้เขาเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ แค่ 10-30 นาทีก็เริ่มล้าไม่อยากอุ้มกันแล้ว
จริงอยู่ที่เด็กอ้วนดูท่าทางน่ารักแต่ความน่ารักนั้นอันตราย คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องระวังหรือควบคุมน้ำหนักของลูกน้อยอย่าให้เกินเกณฑ์มาตรฐานไปนักเพราะมีผลเสียต่อตัวลูกเอง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่กระดูกและข้อต่อไม่แข็งแรงพอ ถ้ารองรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจจะทำให้ข้อต่อของลูกน้อยเสื่อมก่อนวัยอันควรในอนาคต
คุณแม่ที่มีลูกอ้วนเกินไปมาดู วิธีลดน้ำหนักให้ลูก กันค่ะ
การที่จะลดน้ำหนักของลูกน้อยนั้นง่ายดายมาก นั่นก็คืออย่าพยายามให้เด็กกินนั่นกินนี่เพื่อบำรุงต่าง ๆ เด็กแรกเกิดถึงหนึ่งขวบควรทานนมแม่และอาหารอ่อน ๆ เพียงเท่านั้น การให้เขาทานนั่นนู่นนี่จนเกินพอดีเปรียบเสมือนให้เขาทานยาพิษทีละน้อย
สิ่งสำคัญที่จะลดน้ำหนักของลูกให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้คือความใจแข็ง ไม่ใช่พอไม่ให้ทานเห็นเขาร้องไห้โยเยก็พาใจอ่อนและอ่อนใจให้ทานต่อ เมื่อเด็กร้องไห้ลองหาสาเหตุดูก่อนว่าเป็นเพราะอะไร เช่น ร้อนไป หนาวไป หรือถูกแมลงกัดต่อย อาจจะไม่ใช่ร้องเพราะหิวเพียงอย่างเดียว
คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกน้อยทานและขับถ่ายเป็นเวลา และเบี่ยงเบนความสนใจอยากกินนู่นกินนี่ของลูกด้วยการให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วค่อยให้ขนมหรือของทานเล่นเป็นรางวัลแต่ต้องจำกัดปริมาณด้วยนะคะ หรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นผลไม้สุก เช่น กล้วยแทน หากเป็นไปได้ควรให้ลูกทานนมแม่ในสัดส่วนที่มากกว่านมชงค่ะ
คุณพ่อคุณแม่โปรดจำไว้ว่า โรคอ้วน เบาหวาน และ โรคหัวใจ สามารถเกิดกับเด็กเล็กได้ หากเขามีน้ำหนักตัวที่มากจนผิดปกติ และที่สำคัญอย่าลืมไปว่าระบบย่อยของเด็กเล็กนั้นยังไม่สมบูรณ์ดี การให้เขาทานอาหารอะไรที่นอกเหนือจากนมแม่อาจจะทำให้ย่อยยากหรือย่อยไม่ได้ เด็กจะอาเจียนหรือท้องเสียได้ง่าย บางรายเด็กจะมีอาการท้องผูกและลุกลามไปถึงลำไส้อักเสบหรืออุดตันได้อีกด้วยค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ