เมื่อลูกน้อยของเราเริ่มอ้วน รวมไปถึงคุณแม่ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายรู้สึกว่าตัวเองอึดอัดกับเสื้อผ้าตัวเก่าสมัยก่อนมีลูก การลดน้ำหนักเป็นทางออกที่ดี รวมถึงการควบคุมอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ดูเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ใหญ่ แต่เป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก ๆ เพราะขนมห่อราคาต่าง ๆ น้ำอัดลม และขนมหวานที่วางขายทั่วไปอร่อยกว่า รสชาติถูกใจ และที่สำคัญไม่มีผัก เมื่อลูกๆโยเยร้องขอขนมแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต่างใจอ่อนยอมควักกระเป๋าให้ลูกไปซื้อขนมเป็นประจำ กลายเป็นต้นเหตุให้ลูก ๆ อ้วนได้ง่ายขึ้น
เมื่อลูกๆ อ้วนแล้วปัญหาที่ตามมาได้ในอนาคตมีมากมาย คือ โรคแทรกซ้อนเมื่อร่างกายอ้วนท้วนอย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สิ่งเหล่านี้นี่เองที่จะก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนั้นโรคอ้วนยังส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อ และข้อต่อของร่างกาย เช่น ข้อกระดูกสันหลัง และข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
[su_quote]การที่รับประทานอาหารอิ่มมากเกินไป (ทั้งขนมและอาหารมื้อหลัก) ทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้น การควบคุมความจุให้กระเพาะลดลงจะช่วยลดความอยากอาหาร และลดการรับประทานลงได้อีกมาก วิธีนี้สามารถทำได้ทั้งคุณแม่และคุณลูกเลยค่ะ[/su_quote]
วิธีควบคุมความจุของกระเพาะอาหารทำได้ง่าย ๆ คือ การเคี้ยวอาหารช้า ๆ ให้ละเอียด นอกจากจะช่วยทำให้กระเพาะอาหารทำงานน้อยลงแล้ว การเคี้ยวอาหารช้า ๆ จะทำให้รับประทานอาหารได้ในปริมาณน้อยลง เพราะทางเดินอาหารมีเวลาที่จะส่งสัญญาณไปที่สมอง ทำให้รู้สึกอิ่มและไม่รู้สึกว่าต้องกินอาหารต่อได้ ต่อมาคือ ลดปริมาณอาหารลง สมมติว่าแบ่งอาหารออกเป็น 4 ส่วน สัปดาห์แรกอาจรับประทาน 3 ใน 4 และสัปดาห์ต่อมาลดลงเป็น 2 ใน 4 แต่เน้นผักและการปรุงสุกด้วยวิธีต้มหรือผัดให้มากขึ้น อาจใช้เวลาสักหน่อยแต่ปลอดภัยแน่นอนค่ะ
ในกรณีสำหรับเด็กที่อ้วนมาก ๆ กระทั่งอายุหลักสิบน้ำหนักก็เกินเกณฑ์มากไปแล้ว ตัวอย่างจากข่าวคือ หนุ่มวัย 25 ปีน้ำหนักตัวกว่า 200 กิโลกรัม ทางการแพทย์อาจจะใช้วิธีลดขนาดกระเพาะโดยการผ่าตัด เป็นวิธีที่ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย ทางที่ดีควรลดน้ำหนักด้วยตนเองตามวิธีที่ได้แนะนำไปตั้งแต่เนิ่น ๆ ทั้งคุณแม่และคุณลูกจะดีที่สุดค่ะ
จาก : แม่รักลูก Photo Credit : blush.com.pk