สำหรับคุณแม่ทั่วไปแล้วคงไม่ค่อยคุ้นหูกับ “ยากันแท้ง” เสียเท่าไร เพราะคุณแม่มีร่างกายแข็งแรงและไม่มีประวัติหรือความเสี่ยงที่จะแท้งก็คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกินยานี้ แต่สำหรับคุณแม่ที่เคยมีประวัติการแท้งหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะการแท้งคุกคาม คุณหมออาจให้ยากันแท้งกับคุณแม่ค่ะ ขอให้คุณแม่ทุกคนได้เข้าใจกันว่า “ยากันแท้ง” นั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับกลุ่มอาการของแต่ละคนค่ะ
ทำความรู้จักกับ ยากันแท้ง
ยากันแท้ง ที่จำหน่ายทั่วไปนั้นเป็นฮอร์โมนพวกโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ หรือยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน มีทั้งฉีดและชนิดเม็ดใช้กิน ยานี้จะมีประโยชน์เฉพาะสำหรับผู้ที่ขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเท่านั้น แต่คนที่แท้งทั่ว ๆ ไป จะพบภาวะนี้ไม่นานนัก วิธีใช้ยาคือ สูติแพทย์จะเป็นผู้จ่ายยาแก่คุณแม่ให้รับประทานก่อนที่เลือดจะออกทางช่องคลอด หากรับประทานขณะที่เลือดออกอยู่ยาอาจไม่ออกฤทธิ์นัก แต่ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์เกิดการกระทบกระเทือนที่ส่งผลและสร้างโอกาสแท้งได้นั้น การพบแพทย์เป็นวิธีรักษาที่รวดเร็วที่สุดค่ะ
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ปฏิบัติตามคำแนะนำของสูติแพทย์ เลือกอาหาร ออกกำลังอย่างเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ และทำกิจกรรมที่ไม่ใช้แรงมากนัก โอกาสแท้งก็เกิดขึ้นได้ยาก หรือได้รับการดูแลอย่างเอาใจใส่ใกล้ชิดจากคนรอบข้าง การแท้งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการให้เกิด แต่สาเหตุของการแท้งมียิบย่อยจนน่าหวั่นใจ อาทิ
- การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเสียเลือดมากและมดลูกหดรัดตัว เมื่อปากมดลูกเปิดตัวอ่อนจะแท้ง
- การแท้งคุกคาม เป็นภาวะใกล้แท้งพบได้ประมาณ 10% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด และครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้จะมีอาการแท้งตามมา คุณแม่จะมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย อาจไม่มีอาการปวดท้อง จึงทำให้คุณแม่สับสนได้ว่าเป็นประจำเดือน การรักษาการแท้งคุกคามคุณหมอจะให้การรักษาแบบประคับประคองเป็นหลัก ยังไม่มีวิธีใดที่ได้ผลชัดเจน เนื่องจากส่วนใหญ่สาเหตุของการแท้งเกิดจากความผิดปกติของทารกเอง
- การแท้งเป็นนิจ การแท้งเป็นนิจมักมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากสิ่งเดียวกัน เป็นการแท้งติดต่อกันเกิน 3 ครั้งในช่วงอายุครรภ์ใกล้เคียงกัน
สรุปแล้ว “ยากันแท้ง” ช่วยลดโอกาสในการแท้งลูกเท่านั้น ไม่ได้ทำให้หมดสิทธิ์แท้ง และต้องรับประทานตามแพทย์สั่ง แม้คุณแม่จะหาซื้อมาได้เอง และรับประทานไปก็อาจไม่ได้ผลค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ