อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย เพราะร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ค่ะ
แต่คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจสบายดีไม่มีอาการใด ๆ เลยตลอดช่วงการตั้งครรภ์ แต่บางคนก็อาจเริ่มแสดงอาการกันตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เลยก็มีค่ะ แต่จะเป็นมากหรือเป็นน้อยก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยนะคะ
เรามาดูอาการต่างๆที่มักเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์กันค่ะ
1.อาการเป็นลม
อาการเป็นลม เป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน คุณแม่ตั้งครรภ์ จะรู้สึกวิงเวียน ยืนไม่ค่อยไหว อาจทำให้ล้มลงได้ อาการอาจจะเกิดจากการที่คุณแม่ลุกหรือนั่งเร็วเกินไป และคุณแม่ไม่ควรอยู่ในที่ๆ อากาศร้อนอบอ้าว เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่เพียงพอทำให้หน้ามืด หรือ เป็นลมได้
อาการเป็นลมจะไม่ส่งผลใด ๆ กับลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ ยกเว้นหากคุณแม่ล้มลงแล้วกระแทกอย่างแรง อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้ค่ะ
2.ปวดหลัง
อาการปวดหลัง มักจะเกิดกับคุณแม่ที่มีครรภ์โตมากแล้ว ทำให้ลำตัวต้องรับน้ำหนักที่อยู่ทางด้านหน้ามากเกินไป บางทีคุณแม่อาจจะปวดไปถึงช่วงขาด้านล่าง ช่วงการตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้กระดูกและเอ็นต่างๆ ตรงเชิงกรานคลายตัวเพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอด ทำให้กระดูกหลังโค้งงอ กล้ามเนื้อบริเวณหลังต้องทำงานหนักด้วยทำให้ปวดหลังง่าย
คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรเดิน ยืน หรือนั่งในท่าเดียวนานๆ ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง อาการปวดหลังจะไม่ส่งผลใดๆ กับลูกน้อยในครรภ์
3.ท้องผูก
การตั้งครรภ์ จะทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายเพิ่มมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อลำไส้หดลดลง อาหารจะเคลื่อนผ่านได้ช้า คุณแม่ควรออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวบ้างเพื่อให้ลำไส้ดีขึ้น และควรดื่มน้ำเยอะๆใน 1 วัน และให้ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอย่างเช่น พวกผักและผลไม้
อาการท้องผูกไม่ส่งผลใดๆ ต่อเด็กในครรภ์คะ
4.ตะคริว
คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่เดินมาก หรือนั่งห้อยขาทั้งวัน อาจทำให้เกิดตะคริวได้ เพราะกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริวส่วนนั้นอาจหดเกร็งตัว การเป็นตะคริวจะเจ็บปวดในส่วนที่เป็น แต่จะเจ็บไม่นาน ส่วนมากจะเกิดกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไปแล้ว 6 เดือนค่ะ
สาเหตุของการเกิดตะคริว อาจเป็นเพราะว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ขาดแคลเซียมหรือเกลือแร่ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดื่มนมในแต่ละวันให้พอเหมาะ แต่ในช่วงตั้งครรภ์คุณหมอจะให้ยาแคลเซียมทานอยู่แล้วค่ะ ที่เหลือคุณแม่ก็ทานจากอาหารที่มาจากผลิตภัณฑ์จากนม หรือพวกปลาที่ทานได้ทั้งกระดูกค่ะ
การเป็นตะคริวไม่ส่งผลร้ายใดๆ กับลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
5.บวมน้ำ
การบวมน้ำ มักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์หลายๆคน จะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย การบวมน้ำจะเกิดที่หน้า ขา แขน หรือ เท้า คุณแม่ที่มีอาการบวมน้ำไม่ควรยืนนานเกินไป เวลานอนให้ยกเท้าขึ้นให้สูง ไม่ควรทานอาหารรสเค็มเกินไป
คุณหมอจะคอยเช็คให้ตลอดเวลาคุณแม่ไปหาหมอว่านอกจากการบวมน้ำแล้วคุณแม่มีความดันโลหิตสูงด้วยหรือไม่ เพราะถ้าความดันโลหิตสูงอาจจะทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษได้ค่ะ
6.อาการเจ็บเต้านม
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บที่เต้านม นั้นเป็นเพราะว่า เต้านมขยายใหญ่ขึ้นเพื่อผลิตน้ำนมไว้สำหรับทารกหลังคลอด คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรเปลี่ยนเสื้อชั้นในตามช่วงอายุครรภ์หรือคอยดูขนาดเต้านมอยู่เรื่อยๆเพราะเต้านมใหญ่ขึ้นเสื้อชั้นในต้องรองรับเต้านมที่มีน้ำหนักมากขึ้น เต้านมจะได้ไม่เสียทรงคะ
**การเจ็บเต้านมไม่มีผลกับทารกในครรภ์
7.ปวดชาข้อมือ
อาการปวดชาข้อมือ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกว่ามือไม้อ่อนแรงหยิบจับอะไรลำบาก บางทีก็มือนิ้วชาในตอนกลางคืน อาการนี้เกิดจากการบวมทำให้เส้นประสาทมือชาไปด้วย วิธีการบรรเทาอาการแนะนำให้แช่น้ำอุ่นทิ้งไว้จะช่วยลดอาการมือชาได้คะ
**อาการปวดชาข้อมือ ไม่มีผลกับทารกในครรภ์
8.เชื้อราในช่องคลอด
ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีเมือกต่างๆ ออกมามากกว่าปกติเมือกเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อรา ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ ใช้พวกยาปฏิชีวนะหรือสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ จะทำให้ภูมิกั้นในช่องคลอดลดลงทำให้ติดเชื้อราได้ง่าย เชื้อราในช่องคลอดจะมีลักษณะคล้ายนมตกตะกอนเป็นก้อนๆ และมีอาการคันในช่องคลอด คุณแม่ควรดูเรื่องความสะอาดและควรตากชั้นในกลางแดดจัดเพื่อกำจัดเชื้อรา
แต่ถ้าเกิดอาการคันมากให้ทำการปรึกษาคุณหมอ คุณหมออาจจะให้ยาเหน็บมาเพื่อทำการฆ่าเชื้อ เชื้อราในช่องคลอดไม่มีอันตรายต่อลูกในครรภ์เพราะว่าลูกมีถุงน้ำคล่ำห่อหุ้มอยู่ค่ะ
9.อาการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับมักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์เกือบทุกคน เพราะว่าลูกน้อยที่อยู่ในท้องยังไม่ทราบเวลากลางวันหรือกลางคืน เมื่อลูกตื่นจะสร้างสารบางอย่างกระตุ้นให้ร่างกายทำงาน คุณแม่ตั้งครรภ์จึงมีอาการตื่นตัวนอนไม่หลับ เหงื่อออกและปัสสาวะบ่อยครั้งจะเป็นหนักในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด
การดูแลในเรื่องของการนอนไม่หลับ คุณแม่ควรจะนอนในสถานที่ที่เงียบสงบ อากาศเย็นสบาย ก่อนนอนควรดื่มนมอุ่น และไม่ควรใช้ยานอนหลับคะ
10.แพ้ท้อง
อาการแพ้ท้อง เป็นเรื่องธรรมดาของคุณแม่ตั้งครรภ์เกือบทุกคน เพราะประสาทการรับรสเปลี่ยนไป แต่ประสาทการรับกลิ่นเพิ่มมากขึ้นบางคนได้กลิ่นอะไรก็รู้สึกเหม็นไปหมด อยากอาเจียนตลอดเวลา คุณแม่ตั้งครรภ์ บางคนเป็นหนักขนาดกลืนน้ำลายตัวเองยังไม่ได้ ของบางอย่างที่เคยกินได้ แต่พอตั้งครรภ์ก็ไม่อยากกิน คุณแม่ที่แพ้ท้องหนักๆ ควรเลือกกินอาหารอ่อนๆ แบ่งกินหลายๆ มื้อ แบ่งเป็นมื้อย่อย ช่วงแพ้ท้องคุณแม่ควรจะพักผ่อนให้เพียงพอด้วยเพราะอาจจะเหน็ดเหนื่อยจากอาการแพ้ท้องอย่างหนักค่ะ
11.ความดันโลหิตสูง
การวัดความดันในคุณแม่ตั้งครรภ์ จะต้องทำทุกครั้งที่ หมอนัดไปตรวจครรภ์ เพราะคุณหมอจะเช็คดูว่าความดันของคุณแม่ปกติดีหรือไม่ ความดันโลหิตสูงถ้าสูงขึ้นนิดหน่อยจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าสูงมาก ครรภ์อาจเป็นพิษได้
ความเสี่ยงนี้มักจะเกิดกับคุณแม่ที่ใกล้คลอด คุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มักเป็นกับคุณแม่ที่ท้องแรก อาการที่อาจเกิดขึ้นคือ ปวดขมับ ตามัว หรืออาเจียนรวมอยู่ด้วย ข้อควรระวังถ้าคุณแม่เป็นคนที่ความดันโลหิตสูงอยู่แล้วควรแจ้งกับคุณหมอที่ฝากครรภ์ไว้ด้วยค่ะ เพราะคุณหมอจะได้ดูแลเป็นพิเศษ และไม่ควรให้น้ำหนักขึ้นมากเกินไป แต่ไม่ควรลดอาหารนะคะ ให้บำรุงตามปกติเน้นไปแต่อาหารที่มีประโยชน์สูง
ถ้าคุณแม่มีอาการบวมตามมาด้วยคุณหมออาจจะนัดตรวจถี่ขึ้น และถ้าความดันสูงมากคุณหมออาจต้องให้นอนโรงพยาบาลเพื่อดูอาการและทำการเร่งคลอด หรือผ่าตัดคลอด เพราะถ้าเกิดความดันโลหิตสูงเกินไปก็เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ: