เด็กทุกคนอยากเป็นที่รักที่สุดของพ่อแม่ และมักจะมีการเรียกร้องความสนใจในแบบของตัวเอง แต่ถ้าการเรียกร้องความสนใจนั้น ทำไปในทางที่ไม่เหมาะสมหรือมากเกินไปก็อาจทำให้ลูกเป็นเด็กที่เอาแต่ใจได้ค่ะ แล้วจะทำอย่างไรดีเมื่อลูกเริ่มมีอาการเอาแต่ใจ
5 วิธีสอนลูกไม่ให้เป็นเด็กเอาแต่ใจ
1. สังเกตพฤติกรรมลูกว่าทำไมถึงมีอาการเอาแต่ใจ
เพราะคุณพ่อคุณแม่นั้นถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องใส่ใจเค้านะคะ เช่น คุณพ่อคุณแม่ให้ความสนใจน้องคนเล็กมากกว่า อาจทำให้ลูกรู้สึกว่าจะสูญเสียคุณไป ลูกจึงต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้คุณสนใจนั้นเอง
2. เมื่อทราบเหตุผลของอาการเอาแต่ใจของลูก ควรรีบแก้ปัญหานั้นทันที
เช่น เมื่อนั่งเล่นด้วยกัน แต่มีคนโทรมาหาคุณ คุณต้องออกไปคุยโทรศัพท์นานๆ อาจทำให้ลูกรู้สึกว่าถูกดึงความสนใจไปจากเค้า ถ้าคุณทราบว่าที่ลูกเอาแต่ใจเพราะเหตุผลนี้ครั้งต่อไปก็ควรเลี่ยงทำตอนที่ลูกสนใจกับสิ่งอื่นอยู่จะดีกว่าค่ะ
3. ดูพัฒนาการตามช่วงวัยของลูก
อย่าลืมดูอายุของลูกด้วยว่าลูกยังเด็กยังจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ไม่ดีนัก อาจจะมีร้องไห้งอแง นั่นเป็นเพราะลูกยังเป็นเด็ก เป็นแค่เด็กวัยหัดเดิน หรือเป็นแค่เด็กอนุบาลแค่นั้น เรื่องเรียกร้องความสนใจหรือเอาแต่ใจจึงเป็นเพียงเรื่องปกติค่ะ
4. คุยกับลูกให้เข้าใจ ว่าสิ่งที่ทำไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ สิ่งนี้ไม่ถูกต้อง
ควรบอกเหตุผลกับลูกดีๆ และชักจูงให้ลูกใช้คำพูดที่ต้องการสื่อสารกับพ่อแม่ให้มากที่สุด
5. ถ้าลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจควรใจเย็นให้มากที่สุด อย่าลงโทษลูก
เพราะจะยิ่งทำให้เรื่องแบบนี้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ไม่ควรพูดจาต่อล้อต่อเถียงกับลูก นึกไว้เสมอว่านั่นคือเด็ก แต่ก็ไม่ควรตามใจลูกในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะจะทำให้ลูกจำพฤติกรรมเหล่านี้กลับมาใช้อีก เมื่อเห็นว่าทำแล้วได้ผล
นอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับอารมณ์ของลูกแล้วบางทีคุณพ่อคุณแม่ควรตั้งกฏเกณฑ์กับลูกว่าแบบนี้ไม่ถูกต้องไม่สมควรทำ และควรสอนลูกว่าควรทำแบบไหนถึงจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เมื่อลูกทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมควรให้รางวัลหรือชมเชยลูกด้วย ลูกจะได้มีกำลังใจและทำต่อไปเรื่อย ๆ ค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ