น้ำหนักของทารกในครรภ์ จะบ่งบอกว่าลูกในท้องของคุณแม่นั้นสมบูรณ์แค่ไหน และควรจะเพิ่มเติมการบำรุงครรภ์อย่างไรเพื่อให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักที่สมบูรณ์ตามเกณฑ์ ดังนั้นเรื่อง น้ำหนักของทารกในครรภ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทราบค่ะ
น้ำหนักทารกในครรภ์ แต่ละไตรมาสที่คุณแม่ควรรู้ มีดังนี้ค่ะ
ไตรมาสแรก:
เริ่มตั้งแต่ 8 สัปดาห์ -12 สัปดาห์ น้ำหนักทารก จะอยู่ที่ 1 – 15 กรัม และน้ำหนักของทารกจะเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงสัปดาห์ที่ 16
ไตรมาสที่ 2:
เริ่มจาก ช่วงสัปดาห์ที่ 17-20 น้ำหนักของทารกจะเพิ่มขึ้นทุก ๆ 50 กรัม และเมื่อสิ้นสุดไตรมาสนี้ทารก จะมีน้ำหนักประมาณ 600 กรัม
ไตรมาสที่ 3:
ในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์นี้น้ำหนักของทารกจะเริ่มเพิ่มขึ้นมากเป็น 6 เท่าของไตรมาสที่ 2 น้ำหนักตัวของทารกจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 200 กรัม และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงประมาณ 3400-3700 กรัม เมื่อครบกำหนดคลอดค่ะ
น้ำหนักทารกมากหรือน้อยเกินไปก็สามารถบอกถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์
น้ำหนักทารกมากหรือน้อยเกินไปก็สามารถบอกถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ดังนี้ค่ะ
น้ำหนักตัวทารกน้อยเกินไป:
อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม หรือ รกมีปัญหา หรืออาจเกิดจากตัวทารก อาจทำให้การส่งออกซิเจนหรือสารอาหารไปสู่ทารกผิดปกติ ทำให้ทารกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการส่งผลให้ทารกมีขนาดตัวเล็กน้ำหนักน้อย ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเกิดจากตัวคุณแม่อาจเป็นเพราะคุณแม่มีอาการครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง หรือรับสารอาหารไม่เพียงพอโดยเฉพาะโปรตีน
ทารกน้ำหนักตัวมากเกินไป:
ปัญหามักเกิดจากการที่คุณแม่ตั้งครรภ์กินมากเกินไป ทำให้ลูกในครรภ์มีน้ำหนักมาก และคุณแม่ยังเสี่ยงกับการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกด้วย นอกจากนี้เมื่อถึงเวลาคลอดอาจทำให้คลอดยาก อาจต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ช่วยคลอดเช่น ที่คีบ หรือถ้าทารกตัวใหญ่เกินไปอาจทำให้มดลูกฉีกขาดหรืออาจต้องทำการผ่าคลอด เด็กที่เกิดมามีน้ำหนักมากตั้งแต่แรกคลอด จะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ในอนาคตเพราะ เซลล์ไขมันในร่างกายมีขนาดใหญ่มาตั้งแต่แรกคลอดนั่นเองค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ