มารู้จักกับ โรคออทิสติก ในเด็กกันเถอะ
เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน พอจะทราบถึงอาการของ โรคออทิสติก ในเด็กมาบ้าง บางท่านที่เพิ่งเคยมีบุตรคนแรก มักจะกังวลไปต่างๆนานา เมื่อเวลาเห็นลูกเงียบเฉยไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคออทิสติกกันให้ดีกว่านี้ค่ะ
โรคออทิสติก คือ โรคที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใด ที่ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการด้านภาษาและสังคม โดยความรุนแรงของแต่ละโรคในกลุ่มแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางภาษา ไอคิว (Intelligence Quotient) และความผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมด้วย
โรคออทิสติก มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในผลสำรวจเด็กที่ป่วยพบว่า [su_highlight]กลุ่มที่ได้รับความเสี่ยง จะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอด หรือหลังคลอด[/su_highlight] อย่างเช่น สมองของลูกทำงานผิดปกติเนื่องจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว หลังคลอดเป็นต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กกลุ่มเสี่ยงจะเป็นเด็กพิเศษทุกคน และเด็กที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็อาจเป็น ออทิสติก ได้เช่นกัน
ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้ของ โรคออทิสติก
ออทิสติก ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติจากการเลี้ยงดู แต่เกิดจากความผิดปกติในสมองของเด็กเอง เด็กมีพฤติกรรม ความสนใจและการกระทำซ้ำๆ และจำกัด ซึ่งพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรสังเกตเด็กใน 2 ระยะคือ
1.เด็กเล็กวัยแบเบาะ
เด็กไม่สบตาพ่อแม่หรือคนที่อุ้ม ร้องไห้มาก งอแงแต่เล็ก ไม่ยิ้ม ไม่เล่นกับเสียง ขาดความสนใจร่วมกับผู้อื่น หรืออื่นๆ
2.เด็กเล็ก อายุ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี
เด็กในวัยนี้ควรจะพูดได้แล้ว แต่กลับไม่พูดหรือพูดด้วยภาษาของตัวเองแบบที่ไม่มีใครเข้าใจ มีพฤติกรรม อยู่ในโลกของตัวเอง เล่นคนเดียว เรียกไม่ฟัง ทำอะไรซ้ำๆ ไม่สบตา ชอบอะไรที่เคลื่อนไหว แต่ถ้าไม่มีอะไรเคลื่อนไหวก็จะเคลื่อนไหวตัวเอง เช่น นั่งโยกตัวไปมา เป็นต้น
เมื่อทราบแบบนี้แล้ว หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีอาการบ่งชี้ใกล้เคียงกับที่กล่าวมา แนะนำให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาหรือบำบัดโดยเร็วที่สุดค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ