มาดู การเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ กันนะคะ เมื่อคุณแม่เข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 20 เป็นต้นไป คุณหมอจะเริ่มวัดกระดูกเชิงกราน และ มดลูกของคุณว่ามีขนาดไหนแล้ว เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ค่ะ
ทารกในครรภ์ตัวเล็ก ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ ดูได้จาก
คุณหมอจะดูภาพจากการอัลตร้าซาวด์เพื่อวัดความยาวจากศีรษะของลูกลงมาตามไขสันหลัง โดยแจ้งความยาวกับคุณแม่เป็นเซนติเมตร เพื่อให้ง่ายในการเปรียบเทียบ อย่างเช่น คุณตั้งครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีความยาวประมาณ 18-22 เซนติเมตร เป็นต้นค่ะ
นอกจากจะวัดขนาดจากการอัลตร้าซาวด์แล้ว คุณหมอสามารถประเมินขนาดทารกได้จากสิ่งเหล่านี้ค่ะ
- ขนาดของหน้าท้องที่นูน หรือ ยื่นออกไปด้านหน้าหรือด้านข้าง
- น้ำหนักตัวของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น
- น้ำคร่ำมากหรือน้อย
- ตั้งครรภ์แฝดหรือไม่
- ทารกลอยต่ำหรือสูง
- คุณแม่บางคนที่มีหน้าท้องใหญ่อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวาน
ถ้าคุณหมอประเมินจากวิธีต่าง ๆ แล้ว และพบว่าทารกมีขนาดน้อยกว่าเกณฑ์ คุณหมอจะแนะนำเรื่องโภชนาการให้คุณแม่เลือกนำไปปฏิบัติเพื่อให้น้ำหนักของลูกมีน้ำหนักที่พอดี ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ซึ่งถ้าหาก ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย จะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดมากค่ะ
แต่ทารกในครรภ์บางคนถึงแม้จะมีขนาดเล็กก็จริง แต่ร่างกายกลับสมบูรณ์แข็งแรง เนื่องด้วยสุขภาพของคุณแม่ และการเลือกกินอาหาร ในความเป็นจริง ขนาดของทารกในครรภ์ ไม่จำเป็นต้องตัวใหญ่มากนัก เพราะจะลำบากในตอนคลอด แต่ควรดูเรื่องสุขภาพของคุณแม่ และการเต้นของหัวใจลูกเป็นสำคัญ เด็กทารกที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์เมื่อครบกำหนดคลอดคือ 2500-3500 กรัม ค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ