ปัญหาสายตาสั้นในเด็ก
คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตลูกบ้างหรือไม่ว่า เวลาที่เขามองสิ่งต่างๆ จะต้องมองในระยะใกล้มากๆ เช่น นั่งดูโทรทัศน์ติดหน้าจอ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือก้มศีรษะจนเกือบติดหนังสือ พวกเขาอาจหรี่ตาหรือเอียงศีรษะเมื่อต้องมองสิ่งที่อยู่ไกล หากลูกของคุณเป็นแบบนี้ แสดงว่าเขามีปัญหาด้านสายตา ซึ่งก็คือสายตาสั้น นั่นเอง
เด็กทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่มักจะมีสายตายาว แต่ก็มีบางส่วนที่จะมีสายตาสั้นได้ แม้ว่าสำหรับเด็กเล็กภาวะสายตาสั้นจะไม่ส่งผลกระทบเท่าไหร่ แต่หากสั้นมากเป็นพัน (-10.0 diopters) ก็อาจมีความเสี่ยงเรื่องโรคตาอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะเรื่องจอประสาทตาเสื่อม วุ้นตาเสื่อม จอประสาทตาลอก หรือต้อหิน เด็กอายุที่น้อยที่สุดที่มีปัญหาสายตาสั้น พบในทารกที่อายุไม่ถึง 1 เดือน
สาเหตุของสายตาสั้น
สายตาสั้นจากกรรมพันธุ์ พบว่าถ้าพ่อแม่คนใดคนหนึ่งมีสายตาสั้น ลูกที่เกิดมามักจะมีโอกาสสายตาสั้นมากกว่าคนทั่วไป ประมาณ 25% หรือหากพ่อแม่สายตาสั้นทั้งคู่ ลูกมีโอกาสสายตาสั้น 50%
สายตาสั้นจากสิ่งแวดล้อม จะพบเด็กสายตาสั้นได้บ่อยในกลุ่มเด็กที่เรียนหนังสือมาก ดูโทรทัศน์มาก เล่นเกมส์ และใช้คอมพิวเตอร์มาก เพราะต้องใช้สายตาเพ่งมองมาก ๆ และเพ่งมองใกล้ ๆ
[su_quote]นอกจากนี้ยังพบสายตาสั้นในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เพราะเด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ มักมีจอประสาทตาเสื่อมจากการคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีจอประสาทตาเสื่อมมองกลางคืนไม่ชัด เป็นต้น[/su_quote]
ปัญหาสายตาสั้น ส่วนใหญ่นั้นส่งผลกับบุคลิกภาพ และความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อพบว่าลูกมีปัญหาสายตาสั้นต้องได้รับการตรวจรักษาโดยจักษุแพทย์ซึ่งอาจแนะนำให้ใส่แว่น ใส่ Contact Lens หรือ ผ่าตัดแก้ไขสายตาสั้น ไปตามลักษณะปัญหาที่พบค่ะ
จาก : maerakluke.com Photo Credit : naturaleyecare.com