fbpx
Homeเรื่องน่ารู้Advertorial“ธาตุเหล็ก” สารอาหารมหัศจรรย์ เสริมพัฒนาการการเจริญเติบโตและการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย

“ธาตุเหล็ก” สารอาหารมหัศจรรย์ เสริมพัฒนาการการเจริญเติบโตและการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย

คุณแม่รู้หรือไม่ว่า ธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานภายในร่างกาย เพราะเด็กต้องการสารอาหารสูงมาก กว่าผู้ใหญ่ ถึง 5 เท่า เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและเป็นพลังงานในการเคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละวัน ธาตุเหล็กเป็นสาร อาหารที่จำเป็นต่อสมองและระบบประสาท ธาตุเหล็กช่วยการเรียนรู้ ความจำและสมาธิของลูก

ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่เด็กต้องการ แล้วลูกๆ ของคุณได้รับธาตุเหล็กเพียงพอหรือไม่

ทราบหรือไม่ว่า ธาตุเหล็กเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายของเรานำไปสร้างฮีโมโกลบิน และ ฮีโมโกลบินก็เป็นส่วนประกอบ สำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงของเรา มีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย 

  • ธาตุเหล็กจำเป็นสำหรับการทำงาของระบบสมอง เช่น การเล่น การเดิน การนอน ด้านอารมณ์ มีสมาธิและช่วยในการเรียนรู้ของลูกน้อยให้เติบโตสมวัย
  • ธาตุเหล็กมีหน้าที่ในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยป้องกัน โรคโลหิตจาง และยังช่วยสร้างพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมของลูกในชีวิตประจำวัน
  • ธาตุเหล็กช่วยบำรุงรักษาระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง จึงช่วยปกป้องลูกจากการติดเชื้อโรคต่าง ๆ รอบตัว

แล้วลูก ๆ ของคุณได้รับธาตุเหล็กเพียงพอหรือไม่ เด็กควรได้รับธาตุเหล็ก 9.3 มก. ต่อวัน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้ รับธาตุเหล็กในปริมาณที่ร่างกายต้องการอย่างเพียงพอ  ด้วยวิธีการสังเกตดูอาการเบื้องต้นของการขาดธาตุเหล็ก เพราะถ้าลูกน้อยของคุณมีความเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก คุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมตัวรีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ได้ทันเวลา

สำหรับอาการที่จะเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกน้อยขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ ผิวซีด มีอาการเมื่อยล้าหรืออ่อนแรง  กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการเข้าสังคมช้า ลิ้นอักเสบ รักษาอุณหภูมิของร่างกายได้ยากและติดเชื้อง่าย ขึ้นกว่าปกติ เป็นต้น

เมื่อทราบผลกระทบของการขาดธาตุเหล็กที่ส่งผลโดยตรงต่อลูกน้อยว่าเป็นอย่างไรแล้ว คุณแม่ยุคใหม่อย่างเราต้องเริ่ม ต้นส่งเสริมด้านสารอาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันของลูกน้อยกันอย่างจริงจังตั้งแต่ตอนนี้กันเถอะค่ะ มารู้จักแหล่งของธาตุเหล็กที่สำคัญ ได้แก่

  • นมแม่ ธาตุเหล็กในน้ำนมแม่สามารถดูดซึมได้สูงถึง 50%
  • เนื้อสัตว์ ตับ เลือด สามารถดูดซึมได้ถึง 20% ปริมาณธาตุเหล็กในอาหาร 100 กรัม ตับ มีธาตุเหล็ก 6-10 mg เนื้อสัตว์อื่นๆมี ธาตุเหล็ก 1-3 mg / 100 กรัม

  • ผักต่างๆ เช่น ฟักทอง มีธาตุเหล็ก 09 mg / 13.5 กรัม ตำลึง มีธาตุเหล็ก 0.17 mg / 12 กรัม
  • ไข่แดง มี 0.9 mg ต่อไข่แดง 1 ฟอง และ การดูดซึมไม่ดีเท่าเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะไข่แดงเป็นแหล่งที่อุดม ไปด้วยธาตุเหล็ก สารอาหารบำรุงสมอง  ไข่ 1 ฟอง มีธาตุเหล็ก 1 mg
  • ตับมีธาตุเหล็กสูง ควรปรุงให้สุกเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน ตับไก่ 25 กรัม มีธาตุเหล็ก 0.42 mg  เป็นต้น

โดยทั่วไปทารกหลังจาก 6 เดือน เป็นต้นไป เด็กจะเริ่มรับประทานอาหารเสริม ทำให้ทานนมแม่ในปริมาณที่ลดลง และนม แม่ก็เริ่มมีธาตุเหล็กลดลง ดังนั้นในมื้ออาหารคุณแม่ควรให้ลูกได้รับอาหารเสริมเพิ่มเติมตามวัย เพื่อช่วยเสริมธาตุเหล็กให้ ลูก เพราะภาวะการขาดธาตุเหล็กอาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ การพัฒนาสมองและระบบภูมิคุ้มกันของลูกได้

รู้หรือไม่ 3 ใน 10  ของเด็กไทย ช่วงวัย 6 เดือน – 5 ปี มีภาวะขาดธาตุเหล็กมากที่สุด เพราะช่วงวัยนี้ เป็นช่วงวัยสำคัญของ การเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ต้องการธาตุเหล็ก 9.3 มิลลิกรัมต่อวัน  คุณแม่ควรเลือกอาหารเสริมธาตุเหล็กที่ดีและมีประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในการดูแลลูกน้อยไม่ให้ขาดธาตุเหล็ก เพราะคุณแม่ยุคใหม่นั้น ฉลาดเลือกอาหารเสริมและสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกได้อย่างมั่นใจ หมดกังวลว่าลูกของคุณจะไม่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอต่อความต้องการตามวัยได้อย่างเหมาะสม สนับสนุนโดยเนสท์เล่ซีรีโกรว

1.Rojroongwasinkul N, et al. Br J Nutr. 2013 Sep;110 Suppl 3:S36-44..
2.กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, รายงานสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546
3.Black MM, Quigg AM, Hurley KM, Pepper MR. Nutr Rev. 2011 Nov;69 Suppl 1:S64-70.
4.WHO/UNICEF/UNU: Iron deficiency anaemia: assessment, prevention and control, a guide for programme managers 2001
5.Yadav D, Chandra J. Indian J Pediatr. 2010
6.WHO/UNICEF. Complementary feeding of young children in developing countries 1998
7.Butte N, J Am Diet Assoc. 2004 Mar;104(3):442-54
8.Agarwal KN, Iron and the brain: neurotransmitter receptors and magnetic resonance spectroscopy. Br J Nutr. 2001 May;85 Suppl 2:S147-50.

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular