นมแม่จัดเป็นอาหารที่ทรงคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ลูกน้อยจำเป็นต้องใช้สำหรับการเจริญเติบโต และจำเป็นต้องใช้สำหรับพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วน รวมถึงนมแม่ยังถือเป็นวัคซีนตามธรรมชาติของลูกอีกด้วย ดังนั้นนมแม่จึงเป็นคุณค่าที่ควรให้ลูกได้รับมากที่สุด แต่คุณแม่หลาย ๆ ท่านก็ไม่สะดวกที่จะให้นมแม่แก่ลูกน้อยแบบเข้าเต้า หรือ คุณแม่บางท่านก็ไม่สามารถอยู่เลี้ยงดูลูกได้ทั้งวัน อาจเนื่องมาจากภาระหน้าที่การทำงานหรือภาระหน้าที่อื่น ๆ ดังนั้นจึงมีวิธีการถนอมน้ำนมแม่เพื่อให้ลูกได้ดื่มนมแม่ตลอดอย่างการปั้มนมแล้วแช่ไว้ในตู้เย็นนั่นเอง แต่ นมแม่แช่ตู้เย็น จะเก็บไว้ได้นานเท่าไหร่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ
นมแม่แช่ตู้เย็น เก็บไว้ได้นานเท่าไหร่
ในส่วนของคำถามแรกที่มักเกิดขึ้นในใจของคุณแม่ก็คือ เรื่องของระยะเวลาที่สามารถเก็บนมแม่แช่ตู้เย็นสำหรับไว้ให้ลูกน้อยดื่มว่าสามารถเก็บไว้ได้นานเท่าไหร่ เพื่อคุณแม่จะได้วางแผนในการเก็บน้ำนมไว้ให้ลูกน้อยได้ดื่มกินอย่างคุ้มค่าในทุกหยด โดยระยะเวลาในการเก็บก็จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้ด้วย ซึ่งอาจเก็บไว้ได้นานเป็นปีเลยทีเดียว
อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเก็บนมแม่
อุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บนมแม่แช่ตู้เย็นที่มีหลากหลาย และจะเป็นตัวบางชี้ไปถึงระยะเวลาที่สามารถเก็บนมแม่ได้ด้วย ซึ่งเราได้รวบรวมมาไว้สำหรับคุณแม่ทั้งหมดถึง 7 ช่วงอุณหภูมิด้วยกัน ดังนี้
1.การจัดเก็บนที่ช่วงอุณหภูมิติดลบ 20 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณแม่จะสามารถจัดเก็บนมแม่แช่เย็นได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด คือ ตั้งแต่ระยะเวลา 6 เดือน จนกระทั่งถึงระยะเวลา 1 ปี
2.การจัดเก็บนมที่อุณหภูมิติดลบ 18 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณแม่จะสามารถจัดเก็บนมแม่แช่เย็นได้เป็นระยะเวลา 3 – 6 เดือน
3.การจัดเก็บนมที่ช่วงอุณหภูมิติดลบ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณแม่จะสามารถจัดเก็บนมได้เป็นระยะเวลาครึ่งเดือน
4.การจัดเก็บนมที่ช่วงอุณหภูมิ 0 – 4 องศาเซลเซียส คุณแม่จะสามารถจัดเก็บนมได้ตั้งแต่ระยะเวลา 3 – 5 วัน
5.การจัดเก็บนมที่ช่วงอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณแม่จะสามารถจัดเก็บนมแม่แช่เย็นได้เป็นระยะเวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง
6.การจัดเก็บนมที่ช่วงอุณหภูมิ 16 – 26 องศาเซลเซียส คุณแม่จะสามารถจัดเก็บนมแม่แช่เย็นได้เป็นระยะเวลา 4 – 8 ชั่วโมง
7.การจัดเก็บนมที่ช่วงอุณหภูมิ 27 – 32 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณแม่จะสามารถจัดเก็บนมได้เป็นระยะเวลา 3 – 4 ชั่วโมง
วิธีละลายนมแม่แช่แข็ง ก่อนนำไปให้ลูกดื่ม
เมื่อคุณแม่ได้นำนมแม่แช่ตู้เย็นออกมาจากตู้เย็นแล้วก็มีวิธีการเตรียม หรือ การละลายน้ำนมก่อนการนำไปให้ลูกน้อยดื่ม ดังนี้
1.น้ำนมที่ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส ควรนำน้ำนมมาไว้ที่อุณหภูมิ 0 – 4 องศาเซลเซียส หรือ ตู้เย็นช่องธรรมดาก่อนเป็นเวลา 12 ชั่วโมง
2.นำน้ำนมแม่มาอุ่นก่อนการนำไปให้ลูกน้อยดื่มกิน ซึ่งคุณแม่ควรอุ่นโดยการใช้วิธีอุ่นทางอ้อม ไม่ควรนำน้ำนมแม่ไปอุ่นโดยให้ความร้อนโดยตรง สำหรับการอุ่นทางอ้อมคุณแม่สามารถนำน้ำอุ่นใส่ในภาชนะ จากนั้นจึงนำถุงน้ำนมแม่ไปแช่ในภาชนะดังกล่าวเพื่อทำการละลายน้ำนมแม่
3.น้ำนมแม่ที่ละลายแล้วไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีกรอบ และ น้ำนมแม่ที่นำมาอุ่นแล้วสามารถเก็บให้ลูกน้อยดื่มได้ภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
คำแนะนำการเก็บ นมแม่แช่ตู้เย็น ที่ดีที่สุด
และกับอีกเคล็ดลับสำหรับคุณแม่มือใหม่ในการเก็บนมแม่ให้ยังคงคุณค่าที่ดีที่สุดเปรียบประดุจน้ำนมสดใหม่เพิ่งออกจากเต้าของคุณแม่ ดังนี้
1.อุปกรณ์ในการปั๊มนมต้องมีความสะอาด
2.คุณแม่ควรตั้งเวลาในการปั๊มนม หรือ ปั๊มนมเมื่อเกิดอาการคัดเต้านม
3.ก่อนและหลังการปั๊มนม คุณแม่ต้องทำความสะอาดมือ
4.ควรใช้อุปกรณ์ให้ความเย็น หรือ ตู้แช่ที่มีอุณหภูมิคงที่
5.ควรเก็บน้ำนมไว้ในถุงที่ได้มาตรฐาน ไม่มีการปนเปื้อนของพลาสติกที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยได้
6.ถุงสำหรับเก็บน้ำนมควรเป็นถุงที่มีปริมาตรระบุ เพื่อให้คุณแม่สามารถหยิบออกมาใช้ได้อย่างสะดวก ป้องกันการเหลือของน้ำนมที่เกินพอดีหลังจากที่คุณแม่ทำการละลายแล้ว
นมแม่แช่ตู้เย็น อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยถนอมคุณค่าของน้ำนมแม่ให้ลูกน้อยได้ดื่มกินอย่างเต็มที่ ในส่วนนี้คุณแม่เองก็ต้องทราบถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเก็บน้ำนมแม่ ระยะเวลาที่สามารถเก็บนมแม่แช่ตู้เย็น รวมไปถึงวิธีการละลายน้ำนมแม่ก่อนให้ลูกน้อยดื่ม และคำแนะนำในการเก็บน้ำนมที่ดีที่สุด ซึ่งข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้ คุณแม่ก็สามารถศึกษาได้จากบทความข้างต้นเพื่อการเปลี่ยนจากคุณแม่มือใหม่กลายเป็นคุณแม่มืออาชีพแบบทันตา
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ