fbpx
Homeการเลี้ยงลูกการดูแลสุขภาพเด็กวิธีละลายเสมหะในเด็ก ลูกไอ มีเสมหะเยอะ บรรเทาได้ด้วย 6 เคล็ดลับ

วิธีละลายเสมหะในเด็ก ลูกไอ มีเสมหะเยอะ บรรเทาได้ด้วย 6 เคล็ดลับ

อาการเจ็บป่วยของลูกน้อยไม่ว่าจะเป็นอาการที่เล็กน้อย หรือ อาการเจ็บป่วยที่หนักและเรื้อรังก็ล้วนเป็นนำมาซึ่งความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากลูกน้อยเปรียบประดุจแก้วตาดวงใจของคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอยากให้การเจ็บป่วยนั้นเกิดกับตนเองแทนที่จะเกิดกับลูกน้อยด้วยความรักและความเป็นห่วง และอีกหนึ่งอาการเจ็บป่วยที่สามารถพบได้ในลูกน้อยก็คืออาการไอ หรือ เสมหะในลูกน้อย ซึ่งในบทความนี้เราก็ขอพาคุณพ่อคุณแม่ไปพบกับ 6 เคล็ดลับ วิธีละลายเสมหะ สำหรับเด็ก

6 วิธีละลายเสมหะ ในเด็ก พร้อมช่วยลดอาการไอ

เราขอเริ่มต้นด้วยการพาคุณพ่อคุณแม่มาพบกับ 6 วิธีละลายเสมหะในเด็กที่สามารถช่วยลดอาการไอได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีดังนี้

1.การให้ลูกน้อยดื่มน้ำอุ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้น้ำอุ่นเหล่านั้นไหลลื่นลงสู่คอ แล้วช่วยละลายเสมหะ ทำให้ลูกน้อยมีเสมหะลดลงตามไปด้วย

2.การกลั้วคอของลูกน้อยด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือบริสุทธิ์ หรือ การให้ลูกน้อยจิบน้ำอุ่นผสมเกลือบริสุทธิ์ เพราะเกลือบริสุทธิ์มีคุณสมบัติที่ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ภายในลำคอได้ และน้ำอุ่นก็จะช่วยพาเกลือบริสุทธิ์เหล่านั้นไหลลงสู่คอ ทำให้ทั้งเสมหะและเชื้อโรคภายในลำคอของลูกน้อยค่อย ๆ ลดลงจนหายเป็นปกติ

3.การช่วยลูกน้อยดูดเสมหะที่ตกค้างอยู่ภายในลำคอออกมาโดยการใช้ลูกยางสีแดงเบอร์ 1 โดยเคล็ดลับในข้อนี้ควรทำหลังจากที่ลูกน้อยกินอาหารหรือดื่มนมผ่านมาแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการอาเจียนของอาหารหรือนมออกมาขณะที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกน้อยดูดเสมหะ ขั้นตอนการช่วยลูกน้อยดูดเสมหะก็เริ่มจากการจัดท่านอนให้ลูกน้อยนอนหงายโดยหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการนอนหงายอาจทำให้ลูกน้อยเกิดการสำลักเสมหะที่คุณแม่ดูดออกมาได้ จากนั้นจึงหยอดน้ำเกลือลงไปในจมูกเล็กน้อย เพื่อลดความข้นเหนียวของเสมหะ แล้วนำลูกยางแดงสอดเข้าไปในจมูกของลูกน้อยแบบไม่ต้องลึกมาก แล้วจึงค่อย ๆ ปล่อยลมออก เสมหะที่ติดอยู่ภายในจมูกของลูกน้อยก็จะติดอยู่ในลูกยางออกมา เคล็ดลับวิธีละลายเสมหะในข้อนี้เป็นการช่วยดูดเสมหะในเด็กที่ยังขับเสมหะออกมาด้วยตนเองไม่เป็น

4.วิธีละลายเสมหะด้วยการเคาะปอด โดยเริ่มจากการจัดท่าทางที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นท่าการนอนตะแคง ท่าการนอนหงาย หรือ แม้แต่การอุ้มลูกน้อยพาดไหล่ เมื่อจัดท่าทางอย่างเหมาะสมแล้วก็จัดท่าทางมือของคุณพ่อคุณแม่ด้วยการทำเป็นท่าทาง Cupped Hand หรือการจัดมือชิดกันในลักษณะมือคุ้ม จากนั้นเคาะตามผนังทรวงอก ท่าละประมาณ 6 นาที รวมทุกท่าห้ามเกิน 15 นาที เคล็ดลับละลายเสมหะในข้อนี้จะใช้แรงสะเทือนจากการเคาะทำให้เกิดลม แล้วลมภายในทรวงอกก็จะกระทบกับเสมหะแล้วทำให้เสมหะละลายออกมา ส่วนของท่าทางที่จัดนั้นก็เป็นการใช้แรงโน้มถ่วงเข้าช่วยให้เสมหะไหลออกมาอีกด้วย

5.ให้ลูกน้อยรับประทานยาระบายเสมหะ หรือ ยาช่วยลดเสมหะ ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เลือกอย่างหลากหลายเพื่อให้เด็กสามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น แต่เคล็ดลับวิธีละลายเสมหะในข้อนี้ต้องอาศัยการคำนวณน้ำหนักของลูกน้อยให้สอดคล้องกับปริมาณยาที่ให้ลูกน้อยด้วย

6.ทำการล้างจมูกให้กับลูกน้อย ส่วนนี้สามารถช่วยได้ทั้งส่วนของการละลายเสมหะ และเชื้อโรคที่อยู่ภายในโพรงจมูกเลย

ลูกมีเสมหะร่วมกับอาการแบบไหน ควรไปพบแพทย์

สำหรับการมีเสมหะของลูกน้อยในบางกรณีก็เป็นตัวบ่งชี้ถึงสัญญาณอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยด่วน ซึ่งก็คือ การที่ลูกน้อยมีเสมหะสีเทา รวมด้วยอาการไข้ที่มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ปลายนิ้วมีสีเขียวคล้ำ การร้องไห้อย่างปราศจากน้ำตา เพราะอาการดังกล่าวล้วนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อไวรัส RSV ในระบบทางเดินหายใจ

ป้องกันลูกรักจากอาการไอมีเสมหะได้อย่างไร

ถัดมาในส่วนของการป้องกันอาการไอมีเสมหะในลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถทำได้ดังนี้

1.การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อยให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งการพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะส่วนของอาหารที่มีวิตามินซีผสม

2.การปรับอากาศภายในที่พักอาศัยให้มีความชื้นที่พอดี อากาศไม่แห้งจนเกินไป

3.การป้องกันลูกน้อยจากการเผชิญหน้ากับฝุ่น ควัน หรือ มลภาวะ

ในทุกคราที่ลูกน้อยเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นก็จะส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลแล้วนำไปสู่ส่วนของการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ที่อาจไม่ถี่ถ้วน ดังนั้นสิ่งแรกเลยที่คุณพ่อคุณแม่พึงกระทำเมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยก็คือการตั้งสติเพียงพิจารณาอาการของลูกน้อย จากนั้นจะได้หาวิธีในการดูแลหรือการไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างแพทย์หรือเภสัชกรได้อย่างทันท่วงที และในส่วนของการมีเสมหะก็เช่นเดียวกันที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกวิธีการดูแลลูกน้อยหรือวิธีละลายเสมหะที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เคล็ดลับ 6 วิธีละลายเสมหะ จากบทความข้างต้นมาเป็นตัวช่วยดี ๆ เพื่อให้ลูกน้อยหายได้ไวและกลับมาสนุกสนานได้ดังเดิม

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular