ความดันโลหิตสูง หรือ Hypertension เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับระดับความดันโลหิตของร่างกาย ส่วนที่บอกว่าสูงก็เป็นค่าที่ได้จากการวัดความดันด้วยเครื่องวัดความดัน โดยความดันโลหิตสูงเป็นความดันที่วัดได้จากเครื่องวัดความดันอยู่ในระดับ 140/90 หรือ มากกว่านี้ และโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นภัยเงียบที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดและหัวใจได้ ดังนั้นการลดความดันให้กลับมาอยู่ในระดับสมดุล หรือ ระดับปกติย่อมเป็นสิ่งที่ทุกท่านควรปฏิบัติ และหนึ่งในวิธีที่ง่าย ๆ ช่วยแก้ความดันโลหิตสูงได้ดี คือ การ กดจุดลดความดัน ที่เราจะขอกล่าวต่อไปในบทความ
กดจุดลดความดัน คือ อะไร ?
กดจุดลดความดัน คือ ศาสตร์ทางการแพทย์แผนจีนที่ใช้วิธีการกดยังจุดต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของพลังชี่ เมื่อพลังงานชี่ไหลเวียนได้อย่างคล่องตัวแล้ว เลือดลมหรือสุขภาพร่างกายก็จะดีตามไปด้วย
การกดจุดช่วยลดความดันได้จริงหรือ
แม้ว่าการกดจุดลดความดันจัดเป็นรูปแบบทางการแพทย์ที่ไม่มีเครื่องมือวิทยาศาตร์ใด ๆ มาใช้ในการวินิจฉัย หรือ รักษาเลย อาศัยเพียงการวินิจฉัยและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ก็มีผลการรักษาและงานวิจัยทางการแพทย์ออกมารองรับว่าการกดจุดสามารถช่วยลดความดันได้ อย่างงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2559 จากวารสาร Evidence-based Complementary and Alternative Medicine พบว่าการกดจุดในตำแหน่งไท่จงช่วยลด Systolic Blood Pressure หรือ ระดับความดันโลหิตซิสโตลิกได้
แนะนำวิธีกดจุดลดความดัน ทำอย่างไร
วิธีกดจุดลดความดันนั้น มีจุดบนร่างกายของเราที่สามารถทำการกดจุด รวมถึงมีวิธีการกดจุด ดังนี้
1.จุดหย่งเฉวียน
ตำแหน่งที่กด:บริเวณกึ่งกลางของฝ่าเท้าทั้งสองข้าง
วิธีการกด:ใช้นิ้วมือซึ่งควรเป็นนิ้วในข้างที่ถนัด ทำการคลึงพร้อมกับนวดบริเวณจุดหย่งเฉวียนเป็นเวลาอย่างน้อย 5 – 10 นาที
คุณประโยชน์ที่คุณได้รับ:หลอดเลือดของคุณจะเกิดการขยายขึ้น พร้อมการไหลเวียนโลหิตได้ตามปกติ ส่วนนี้ก็จัดเป็นการช่วยลดความดันให้แก่คุณได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การกดจุดลดความดันจุดนี้ ยังสามารถช่วยให้คุณนอนหลับสบายและนอนหลับสนิท รวมไปถึงช่วยให้อาการภูมิแพ้ และ อาการวัยทองดีขึ้นได้อีกด้วย
2.จุดไป่ฮุ่ย
ตำแหน่งที่กด:จุดกึ่งกลางของศีรษะด้านบน
วิธีการกด:ใช้นิ้วทั้งสองข้างลากบนผิวหนังจากบริเวณใบหูมาบรรจบกันที่สันจมูก หรือ ลากมาบรรจบกันบริเวณเหนือหน้าผาก ทำเช่นนี้เป็นเวลา 1 – 2 นาที
คุณประโยชน์ที่คุณได้รับ:ช่วยให้เกิดการไหลเวียนเลือดบริเวณศีรษะที่คล่องตัวขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดศีรษะ สร้างความเบาสบายตัว ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย และช่วยให้นอนหลับสนิทตลอดคืน
3.จุดเน่ยกวน
ตำแหน่งที่กด: จุดกึ่งกลางบริเวณข้อมือและเป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากข้อมือประมาณ 2 นิ้ว
วิธีการกด: ใช้นิ้วมือข้างที่ถนัด กดลงไปบริเวณจุดกึ่งกลางบริเวณข้อมือ ค้างไว้เป็นเวลา 3 – 5 นาที
คุณประโยชน์ที่คุณได้รับ: ช่วยให้ร่างกายของคุณมีความเบาสบาย หรือ ผ่อนคลาย
4.จุดอิ้นถัง
ตำแหน่งที่กด: บริเวณจุดกลางคิ้ว
วิธีการกด: ใช้นิ้วหัวแม่มือ หรือ นิ้วชี้กดค้างระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง จากนั้นลากนิ้วจากหัวคิ้วไปยังปลายคิ้วจำนวน 10 ครั้ง จากนั้นก็ลากจากหัวคิ้วไปปลายหน้าผากอีกเป็นจำนวน 10 ครั้ง
คุณประโยชน์ที่คุณได้รับ: การกดจุดลดความดันช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
5.จุดชวีฉือ
ตำแหน่งที่กด: บริเวณรอยพับข้อศอกด้านนอก
วิธีการกด: ยืดแขนไปข้างหน้าขนานกับพื้นและมีที่รองรับ จากนั้นหงายฝ่ามือขึ้น ตีบริเวณข้อพับเบา ๆ จำนวน 200 ครั้ง หรือ ตีจนกว่าจะเกิดสีแดงระเรื่อบนผิว
คุณประโยชน์ที่คุณได้รับ: ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย พร้อมเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
6.จุดซานอินเจียว
ตำแหน่งที่กด: จุดเหนือข้อเท้าด้านใน โดยอยู่เหนือตาตุ่มประมาณ 3 นิ้ว
วิธีการกด: นวดคลึงบริเวณดังกล่าวครั้งละประมาณ 3 – 5 นาที
คุณประโยชน์ที่คุณได้รับ: เพิ่มการไหลเวียนโลหิต และ เพิ่มผลดีต่อระบบสืบพันธุ์ของทั้งเพศชาย และ เพศหญิง
ข้อควรระวังที่ต้องรู้
การกดจุดแก้ความดันสูงเป็นศาสตร์ที่ต้องกดจุดโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เข้ารับการกดจุดลดความดัน อย่างไรก็ดีผู้ที่เข้ารับการกดจุดก็มีข้อควรระวังก่อนการกดจุด ดังนี้
1.คุณไม่ควรกดจุดแก้ความดันสูงทั้งก่อน และ หลังมื้ออาหารภายใน 1 ชั่วโมง
2.ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการกดจุดลดความดันมีดังนี้
- สตรีมีครรภ์
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง
- ผู้ที่เพิ่งฟื้นตัวจากการผ่าตัด
- ผู้ที่มีกระดูกหัก
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง
- ผู้ที่มีแผลเปิด
- ผู้ที่มีบาดแผลที่ผิว
การกดจุดลดความดัน จัดเป็นอีกหนึ่งศาสตร์สุดอัศจรรย์ที่มีผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้จริง และก็นับเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่น่าสนใจ และทรงคุณค่า รวมถึงคุณเองก็สามารถไปขอคำแนะนำและร่วมกดจุดลดความดันจากผู้เชี่ยวชาญกันได้ อย่างไรก็ดีศาสตร์การกดจุดแก้ความดันสูง ก็เหมือนกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่ไม่ได้เหมาะกับทุกท่าน โดยเฉพาะท่านที่มีสภาวะของร่างกายที่ต้องห้ามสำหรับการใช้ศาสตร์นี้ ดังนั้นในทุกครั้งที่คุณเข้ารับการปรึกษา และ รักษาทางการแพทย์ไม่ว่าศาสตร์ใด คุณเองก็ควรที่จะแจ้งถึงสภาวะร่างกายทั้งหมดของตนเองก่อนเสมอ เพื่อให้การบำบัด บรรเทา รักษาจากศาสตร์นั้น ๆ เห็นผลที่ดีจริง และ มีความปลอดภัยสำหรับตัวคุณเอง
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ