สำหรับคนที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ในอดีตถูกมองว่าเหมือนได้รับพรจากสวรรค์ แต่ในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีและคลังความรู้มากมาย ที่บ่งชี้ว่าคนที่ กินเยอะแต่ไม่อ้วน อาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกาย ที่กำลังบ่งชี้ว่ามีความผิดปกติบางอย่างซึ่งส่งผลต่อสุขภาพภายใน แต่บางคนที่ดูแลร่างกายเป็นอย่างดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นไปได้ว่าระบบเผาผลาญ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องสังเกตพฤติกรรมของตนเอง หากเป็นคนรักสุขภาพ ก็ไม่แปลกที่จะแต่ถ้าไม่ใช่ คุณอาจกำลังประสบด้านปัญหาสุขภาพอยู่
กินเยอะแต่ไม่อ้วน เช็กก่อนเป็นเพราะอะไรกันแน่
ความน่ากังวลของการกินเยอะแต่ไม่อ้วนนั้น อยู่ที่ว่าต้นตอของปัญหานี้ อาจก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาว แต่ต้องทำความเข้าใจว่า ร่างกายและพันธุกรรมในแต่ละคน มีความแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อน้ำหนักและสัดส่วนของรูปร่าง สำหรับคนที่กำลังเครียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินเยอะแต่ไม่อ้วน ลองมาเช็กดูสิว่า เกิดมาจากสาเหตุใด
1.มีพยาธิในร่างกาย
ข้อสันนิษฐานแรกที่อาจเป็นไปได้ในคนที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน เกิดจากการมีพยาธิในร่างกายจำนวนมาก ทำให้พยาธิเหล่านั้นแย่งสารอาหารไปหมด ทำให้ร่างกายไม่ได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ ทำให้น้ำหนักไม่เพิ่มจากเดิม แต่ในทางกลับกันน้ำหนักตัวจะลดลงเรื่อย ๆ หลายคนมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสียบ่อย ปวดท้องเป็นประจำ
2.โรคเบาหวาน
อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน คือกินเยอะแต่ไม่อ้วนขึ้นเลย เป็นเพราะร่างกาย พยายามที่จะขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ร่างกายจึงเกิดกระบวนการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น ในบางรายอาจมีภาวะน้ำหนักลง หากใครมีอาการดังกล่าว ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย
3.ภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง
เป็นอีกสาเหตุที่พบมากในผู้ที่กินเยอะแต่ไม่อ้วน เนื่องจาก ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารเข้าไปในร่างกายได้ ทำให้ไม่เกิดกระบวนการสร้างพลังงานขึ้น เพื่อความอยู่รอด ร่างกายจึงต้องนำพลังงานที่สะสมมาใช้ ส่งผลต่อน้ำหนักและขนาดตัว อาการร่วมด้วยอื่น ๆ เช่น ท้องเสียบ่อย กินแล้วขับถ่ายออกทันที ขาดสารอาหาร ถ่ายเป็นเลือด และน้ำหนัดลดลง
4.ไทรอยด์เป็นพิษ
เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายเผาผลาญสารอาหารมากเกินไป ผู้ที่เป็นภาวะนี้ จึงรู้สึกหิวบ่อย กินอาหารในปริมาณมาก แต่น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ในระยะยาวอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจไม่ปกติ นอนไม่หลับ มีอาการท้องเสียบ่อย ในบางคนมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย
5.โรคซีแฮน
ส่วนใหญ่มักเกิดกับคุณแม่หลังคลอด เป็นผลมาจาก การตกเลือดปริมาณมากในการคลอดบุตร ทำให้เลือดไม่เพียงพอไปเลี้ยงต่อมใต้สมอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และน้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ เป็นภาวะที่ต้องระวังในคุณแม่หลังคลอด
6.เป็นวัณโรค
มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เป็นโรคเรื้อรังที่อันตรายและรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ เช่น เบื่ออาหาร มีไข้ อ่อนเพลีย หอบเหนื่อย ผมร่วง น้ำหนักลดลง และซูบผอมอย่างเห็นได้ชัด ผู้ป่วยวัณโรค ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เพื่อประคองอาการ
7.โรคเอดส์
โรคติดต่อ ที่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี จึงทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง จนในระยะสุดท้าย อาการผอมแห้ง จะเริ่มแสดงออกมาก
8.ภูมิต้านทานต่ำ
ระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เมื่อมีในระดับต่ำ ร่างกายจะไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อไวรัส ขาดธาตุเหล็ก โลหิตจาง ทำให้ร่างกายผอมแห้ง กินเยอะแต่ไม่อ้วน
9.มียีนส์ผอม
เป็นเรื่องที่น่าอิจฉา เพราะพันธุกรรมมีผลเป็นอย่างมาก จากงานวิจัยพบว่าในคนผอมมียีนส์นี้ในปริมาณมาก และ ในทางกลับกันคนอ้วนจะมียีนส์นี้ในปริมาณน้อย จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนกินเยอะแต่ไม่อ้วน
10.มีระบบเผาผลาญที่ดี
สาเหตุนี้ มาจากการควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปในทางที่ดี เพราะการที่ร่างกายจะมีระบบเผาผลาญที่ดีได้ เกิดจากการดูแลร่างกาย ในเรื่องการกิน การนอน รวมถึงการบำรุงด้วยวิตามินต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายทีเดียว
คำแนะนำดี ๆ สำหรับคนที่ กินเยอะแต่ไม่อ้วน
จากสาเหตุข้างต้น พอให้คุณสามารถคาดเดาต้นตอของการกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนได้ในเบื้องต้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะคุณมีรูปร่างผอม ก็ขอให้มีรูปร่างผอมที่แข็งแรง ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
- ตรวจสุขภาพให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันภาวะอันตรายต่าง ๆ จากระบบร่างกายภายใน
- กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
- สร้างมวลกล้าม เพื่อในร่างกายแข็งแรง ด้วยการออกกำลังกาย
- อาจเพิ่มมื้ออาหาร หรือ ทานอาหารว่างระหว่างมื้อให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การกินอาหารเยอะ ไม่ได้เป็นสัญญาณร้ายแต่เพียงอย่างเดียว ในทางที่ดีอาจหมายถึงการมีระบบร่างกายที่สมดุล สามารถเผาผลาญพลังงานได้ดี จึงทำให้ทานอาหารเท่าไหร่ น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น และยังมีรูปร่างที่ดีอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลและรักษาสุขภาพตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการนอน การออกกำลังกาย สภาพจิตใจ เป็นต้น แต่หากใครยังเป็นกังวล เกี่ยวกับกินเยอะแต่ไม่อ้วน เรื่องนี้ สามารถปรึกษาแพทย์และตรวจร่างกาย เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง และทำการรักษาต่อไป
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ