fbpx
Homeการเลี้ยงลูกสอนการบ้านลูกอย่างไรให้สำเร็จ โดยแม่ไม่อารมณ์เสีย หงุดหงิดได้ง่าย

สอนการบ้านลูกอย่างไรให้สำเร็จ โดยแม่ไม่อารมณ์เสีย หงุดหงิดได้ง่าย

  เชื่อว่าคุณแม่หลายท่าน เมื่อได้สวมบทคุณครูสอนการบ้านลูกทีไร ก็มักจะกลายร่างเป็นนางยักษ์ขึ้นมาทันที หัวร้อนใส่ลูก จนในที่สุดก็มักจะจบลงด้วยการที่ลูกเสียน้ำตา แล้วคุณแม่ก็จะมานึกเสียใจภายหลัง หากบ้านไหน มีประสบการณ์สอนการบ้านลูกแล้วต้องหัวร้อนบ่อย ๆ ก่อนที่เรื่องราวจะเลวร้ายบานปลายไปมากกว่านี้ วันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ สอนการบ้านลูก อย่างไรไม่ใช้อารมณ์ ไม่ต้องหงุดหงิด มาฝากคุณพ่อคุณแม่ เทคนิคที่ว่านี้จะมีอะไรกันบ้าง ตามเรามาดูกันเลยดีกว่า

เทคนิคการสอนการบ้านลูก ให้ลูกทำการบ้านสำเร็จโดยง่าย

เชื่อว่าคงมีคุณพ่อคุณแม่หลายคน ที่สอนการบ้านลูกทีไรเป็นต้องหงุดหงิด และโมโห และเผลอใช้อารมณ์กับลูก จนบางครั้งลูกต้องร้องไห้งอแง และไม่อยากทำการบ้าน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สอนการบ้านลูก ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าที่สำหรับพ่อแม่ เพราะคงไม่ดีแน่หากต้องปล่อยให้ลูกทำการบ้านเองตามลำพัง โดยที่ไม่เข้าใจบทเรียน เพราะฉะนั้น ควรมีพ่อแม่คอยบอกสอนการบ้านไปพร้อม ๆ กับลูก ถึงแม้จะสอนไม่เก่ง แต่ก็ยังช่วยแนะนำวิธีให้กับลูกได้บ้าง แต่ปัญหามักจะอยู่ที่ พ่อแม่จะหัวร้อนก่อนสอนการบ้านลูกจบ และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ วันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ มาแนะนำคุณพ่อคุณแม่ดังนี้

1.จัดเวลาให้เหมาะสม

ควรจัดหาเวลาที่เหมาะสม ในการสอนการบ้านลูก โดยเวลาที่เหมาะสมควรเป็นเวลาที่ไม่เร่งรีบ เช่น ช่วงก่อน หรือหลังอาหารเย็น เพราะช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายยังคงตื่นตัว และพร้อมเรียนรู้อยู่ อย่าปล่อยเวลาให้ถึงช่วงดึกมากเกินไป เพราะลูกอาจง่วงนอน ไม่มีสมาธิและทำการบ้านไม่รู้เรื่อง และจะทำให้คุณพ่อคุณแม่อารมณ์เสีย หัวร้อนใส่ลูก

2.หาพื้นที่สงบ

ควรหาพื้นที่สงบภายในบ้าน เพื่อให้ลูกได้มีสมาธิในการทำการบ้าน เทคนิคสอนการบ้านลูก ให้ลูกตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ก็คือ ควรอยู่ห่างสิ่งรบกวน หรือไม่มีสิ่งรบกวนอย่างเช่น เสียงเพลง สัตว์เลี้ยง หรือมีผู้คนเดินไปมา และที่สำคัญไม่ควรให้ลูกทำการบ้านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าทีวี เพราะจะทำให้ลูกไม่มีสมาธิในการทำการบ้าน

3.สอนให้ลูกเข้าใจเนื้อหา ไม่ใช่เพื่อหาคำตอบ

การสอนให้ลูกเข้าใจเนื้อหา ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ดี และยั่งยืนกว่าการท่องจำสอนการบ้านลูก เพียงเพื่อให้ลูกได้คำตอบของโจทย์วิชานั้น ๆ แต่ไม่ได้สอนให้ลูกเข้าใจ ถึงเนื้อหาที่ลึกซึ้งมากกว่า ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ลูกจะเข้าใจเพียงชั่วคราว และเมื่อเจอโจทย์ใหม่ ๆ ก็จะเกิดความสับสน และทำไม่ได้ และเมื่อลูกทำไม่ได้คุณพ่อคุณแม่ก็จะหัวร้อนหงุดหงิดใส่ลูก

4.กำหนดเวลาพักชัดเจน

หากพบว่าลูกเริ่มขาดสมาธิ หรือดูเหนื่อยล้า ไม่ควรสั่งให้ลูกทำการบ้านต่อ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกไม่อยากทำการบ้าน คุณแม่ควรให้ลูกได้พักสักเล็กน้อย โดยการกำหนดเวลาในการพักอย่างชัดเจนเช่น พักก่อนสัก 10 นาที เดียวมาลุยกันต่อ การมีเวลาพักสั้นๆ เด็กจะชอบ และกลับมาตั้งใจทำการบ้านใหม่อย่างกระตือรือร้น ช่วงพักอาจจะให้ลูกทานของเล่น หรือฟังเพลงโปรดเพื่อเป็นการผ่อนคลาย และค่อยกลับมาเริ่มกันใหม่ เทคนิคสอนการบ้านลูก ด้วยวิธีนี้ จะทำให้ทั้งคุณแม่ และคุณลูกไม่หงุดหงิดหัวร้อนใส่กันแน่นอน

5.ให้รางวัลกับความสำเร็จและความพยายาม

การให้รางวัล เป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจ ที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกใส่ใจอยากทำการบ้าน โดยคุณพ่อคุณแม่ อาจนำสิ่งของที่ลูกชอบมาเป็นตัวกระตุ้นเช่น ทำการบ้านเสร็จแล้วจะให้ดูการ์ตูน หรือ ให้เล่นของเล่นได้ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจ ในการทำการบ้านมากขึ้น 

ทำอย่างไรหากสอนการบ้านลูกแล้วหงุดหงิด อารมณ์เสีย

คุณพ่อคุณแม่หลายคน อาจเข้มงวดกับลูกมากเกินไป ในการสอนการบ้านลูก เพราะกลัวว่าลูกจะเสียการเรียนที่ดี จนบางครั้งกลายเป็นการกดดันลูกมากเกินไป และเมื่อลูกทำไม่ได้ เกิดการต่อต้าน คุณพ่อคุณแม่ก็จะเกิดหงุดหงิด อารมณ์เสียขึ้นมา ซึ่งจะไม่เป็นผลดีแน่ทั้งสองฝ่าย สอนการบ้านลูกแล้วอารมณ์เสีย ต้องทำอย่างไร เรามีเทคนิคง่ายๆ มาฝาก

  • อารมณ์เสียให้ หยุดก่อน เพราะถ้าอารมณ์เสียแล้วใช้อารมณ์กับลูก จะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น และมันจะจบด้วยน้ำตาของลูก และพ่อแม่ก็ต้องมานั่งเสียใจภายหลังอีกด้วย อย่าลืมว่าพ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก หากอารมณ์เสีย หงุดหงิดเกิดขึ้นระหว่างที่ สอนการบ้านลูก แนะนำให้หยุดก่อน พร้อมทั้งให้เวลากับตัวเอง ในการจัดการอารมณ์ความโกรธด้วยการหายใจเข้าออกลึก ๆ ทำอย่างนี้จะช่วยให้ใจเย็นขึ้น และเมื่ออารมณ์ดีแล้วค่อยกลับมาสอนการบ้านลูกต่อ
  • ให้กำลังใจลูกเชิงบวก หากลูกเริ่มเหนื่อย หรือหงุดหงิดกับการบ้านยากเกินไป และไม่อยากทำต่อ คุณแม่อย่าเพิ่งตำหนิลูกในเชิงลบเช่น ทำไมขี้เกียจจัง หรือ ไม่เห็นยากเลยทำไมทำไม่ได้เป็นต้น แต่ควรให้กำลังใจลูกในเชิงบวก เช่น ลูกพูดถูกข้อนี้ยากจริง ๆ ลูกลองทำดูก่อนนะ ถ้าผิดก็ไม่เป็นไร เดียวแม่จะช่วยสอนอีกแรง ถ้าพูดแบบนี้ลูกจะรู้สึกผ่อนคลาย และไม่กดดันจนเกินไป แถมยังมีแรงทำการบ้านต่อไปได้
  • ทำการบ้านของคุณไปด้วย หากไม่อยากหงุดหงิดหรือหัวร้อนเวลาสอนการบ้านลูก ระหว่างที่รอลูกทำการบ้านคุณแม่ลองทำการบ้านของคุณแม่ไปด้วยเลยเช่น หากลูกกำลังทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ คุณแม่ก็สามารถคำนวณรายรับรายจ่ายในสมุดบัญชีไปพร้อมๆ กันเลยจะช่วยลดความหงุดหงิดหัวร้อนไปได้เยอะเลย

และนี่คือเทคนิค สอนการบ้านลูก อย่างไรไม่ให้พ่อแม่หัวร้อน ที่เราได้นำมาฝากในวันนี้ การที่จะสอนการบ้านลูกให้ลุล่วงไปด้วยดี แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีเทคนิคมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจให้ลูกอยากทำการบ้าน และยังเป็นการลดความหงุดหงิดหัวร้อนของคุณพ่อคุณแม่ด้วย เพราะหากพ่อแม่หงุดหงิดหัวร้อนเป็นประจำ ลูกก็จะซึมซับ และกลายเป็นคนหงุดหงิดง่ายได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นพ่อแม่คือแบบอย่างที่ดีของลูก ควรแสดงออกอย่างเหมาะสม เพื่อที่ลูกได้ซึมซับ และจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม โตไปอย่างมีคุณภาพ สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ นอกจากนี้อย่าลืมหาโต๊ะทำการบ้านให้ลูกสักตัวด้วย

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular