ความเครียดเป็นหนึ่งสภาวะที่ผู้คนในสังคมโดยเฉพาะวัยทำงานกำลังประสบและมีอัตราการเกิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการดำเนินชีวิตที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การแข่งขันที่ค่อนข้างสูงทั้งจากสังคมรอบข้างและความกดดันที่เกิดขึ้นภายในตัวของผู้นั้นเอง และเมื่อเกิดความเครียดขึ้นก็ส่งผลต่อร่างกายในการเจ็บไข้ได้ป่วยและเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือการ เครียดลงกระเพาะ ซึ่งพบได้บ่อย และเราจะขอกล่าวต่อไปในบทความ
เครียดลงกระเพาะ โรคนี้เกิดจากอะไร
เมื่อเราเกิดความเครียดขึ้น ร่างกายของเราก็จะมีการดำเนินการตามอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การเครียดลงกระเพาะซึ่งมีลำดับของการเกิด ดังนี้
1.มีความเครียดเกิดขึ้นในร่างกาย
ความเครียดมีสาเหตุมาได้จากหลากหลายช่องทางทั้งส่วนของการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ สังคมหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ หรือแม้แต่สภาพการเงิน
2.ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากกว่าปกติ
โดยปกติแล้วระบบประสาทอัตโนมัติจะหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายที่นอกเหนือจากการสั่งด้วยจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการเต้นของหัวใจ การทำงานของปอด หรือ แม้แต่การย่อยของระบบย่อยอาหาร เมื่อมีความเครียดขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติก็จะสั่งให้ต่อมหมวกไตหลั่งอะดรีนาลีนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใช้เร่งการย่อยอาหารออกมามากกว่าปกติ
3.ระบบเผาผลาญอาหารทำงานเกินจำเป็น
เมื่อมีน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารเกินจำเป็น ทำให้ร่างกายเกิดการหิว ทำให้นอนไม่หลับ และทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ
4.การทำงานของร่างกายรวน
ไม่เพียงแต่ความเครียดจะไปเร่งปฏิกิริยาของระบบย่อยอาหารภายในร่างกายเท่านั้น ความเครียดยังทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารชะงัก ส่วนนี้ก็ทำให้เกิดความเครียดลงกระเพาะ
อาการเครียดลงกระเพาะ เป็นแบบไหน
คุณกำลังตกอยู่ในอาการของความเครียดลงกระเพาะหรือไม่ สิ่งใดเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา เรามีข้อสังเกตดังนี้
- มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงในช่วงเวลาที่ท้องว่าง โดยเฉพาะบริเวณลิ้นปี่
- มีอาการอาหารไม่ย่อย
- มีอาการเสียดจุกและแน่นหน้าอก
- มีอาการเครียดจนคลื่นไส้
- มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
- อาการเรอพร้อมกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
- มีอาการนอนไม่หลับ และอาการหลับไม่สนิทร่วมด้วย
วิธีการรักษาภาวะเครียดลงกระเพาะ
สำหรับวิธีการรักษาความเครียดลงกระเพาะนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้
1.การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม
อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดลงกระเพาะ หรือ อาการเครียดจนคลื่นไส้ ซึ่งก็มีทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย การเข้าสังคม หรือ แม้แต่การทำงาน ซึ่งส่วนนี้จะค่อนข้างยาก แต่หากคุณมีอาการเครียดจนคลื่นไส้ คุณเองก็ต้องค่อย ๆ ปรับพฤติกรรม ณ ส่วนนี้เพื่อเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ
2.การรักษาด้วยการรักษาตามอาการ
ส่วนนี้ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินอาการเพื่อทำการรักษาในแต่ละบุคคล อาจมียาช่วยเคลือบกระเพาะ หรือ ยาช่วยลดกรดเกินภายในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
การป้องกันภาวะเครียดลงกระเพาะ
การป้องกันความเครียดลงกระเพาะสามารถทำได้ ดังนี้
1.การพักผ่อน
คุณควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง ซึ่งส่วนนี้ก็จะช่วยให้ร่างกายเกิดการฟื้นตัวได้อย่างเร็วที่สุด
2.การออกกำลังกาย
ควรเลือกลักษณะและชนิดการออกกำลังกายให้เกิดความเหมาะสมให้สภาพร่างกายของแต่ละท่าน ในส่วนของการออกกำลังกายนี้จะช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำให้เกิดการทำงานที่ไหลลื่นและคล่องตัวขึ้น
3.การรับประทานอาหาร
ควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และ ตามแต่ละช่วงวัย
4.การขับถ่าย
ควรทำในช่วงเช้าให้เป็นประจำ และ ควรสังเกตสีและลักษณะของอุจจาระและปัสสาวะด้วย เพราะอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพภายในของร่างกายได้
5.การตรวจสุขภาพประจำปี
สุขภาพของร่างกายบางอย่างไม่อาจมองเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตาเปล่า หรือ บางท่านก็อาจคิดว่าเกิดจากอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงช่วยให้คุณได้ทราบ เฝ้าระวัง และ ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
6.สังคม
เป็นอีกส่วนที่มีผลต่อสภาวะจิตใจ เพราะสภาพสังคมเป็นสิ่งที่คุณต้องเผชิญในแต่ละวันด้วยเวลาที่ค่อนข้างมาก จนทำให้เกิดความสัมพันธ์กับความรู้สึกนึกคิด แล้วนำมาซึ่งความเครียดตามมาได้
7.การทำงาน
เป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราเองสามารถบริหารและจัดการได้ กล่าวคือ การทำงานในบางตำแหน่งหรือบางลักษณะงานอาจต้องเผชิญทั้งต่อแรงกดดัน การแข่งขันกับเวลา การแข่งขันกับคู่แข่ง หรือ แม้กระทั่งการแข่งขันกับคนในทีมเอง นอกจากนี้บางสถานที่ทำงานก็มีกลุ่มคนที่ Toxic ที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการจัดการกับความรู้สึกนึกคิดของตัวคุณเอง กับ การเผชิญหน้ากับงานและกลุ่มคนเหล่านั้นอย่างชาญฉลาดจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยจัดการความคิด สภาพจิตใจ และสุขภาพร่างกายของคุณเองได้
ความเครียดจะเรียกว่าปกติก็ว่าได้ เพราะสามารถเกิดได้กับทุกคนและทุกวัย จากงานวิจัยในระดับนานาชาติก็พบว่าแม้แต่เด็กเล็กก็เกิดความเครียดได้ และความเครียดจะเกิดมากที่สุดในหนุ่มสาววัยทำงานทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็มาจากช่วงวัยดังกล่าวเป็นช่วงวัยแห่งความหวัง รวมถึงเป็นช่วงวัยที่ต้องเข้าสังคมมากที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต เมื่อเกิดเครียดลงกระเพาะขึ้นก็เป็นหนึ่งสัญญาณบ่งชี้ถึงสุขภาพร่างกายของผู้ที่มีอาการ ดังนั้นการดูแลรักษาอาการดังกล่าวจึงนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากเพื่อเป็นการบรรเทาอาการเครียดลงกระเพาะไม่ให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก รวมถึงตัวคุณเองก็ควรมีการป้องกันอาการดังกล่าวตามวิธีข้างต้นในบทความเพื่อให้คุณมีสุขภาพทั้งใจและกายที่แข็งแรงพร้อมกับการเผชิญกับทุกกิจวัตรในทุกวัน
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ