fbpx
Homeการเลี้ยงลูกลูกชอบโยนของ รับมือได้อย่างไร คำแนะนำดีๆ ที่คุณแม่ต้องอ่าน      

ลูกชอบโยนของ รับมือได้อย่างไร คำแนะนำดีๆ ที่คุณแม่ต้องอ่าน      

    ลูกชอบโยนของ ปาข้าวของลงพื้น หรือปาข้าวของใส่คนอื่น ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก และคุณแม่จะต้องไม่มองข้าม ควรรีบหาวิธีหยุดพฤติกรรมนี้ เพราะหากคิดว่าไม่เป็นไร เป็นเพียงแค่นิสัยของเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปล่อยผ่านไปเรื่อย ๆ ไม่นานลูกจะติดเป็นนิสัย และเมื่อไม่ได้ดังใจเมื่อไหร่ ก็จะแสดงพฤติกรรมปาข้าวของ เพื่อระบายอารมณ์ความโกรธ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็คงจะไม่น่ารักเลย ลูกชอบโยนของ รับมืออย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่มาดูกันเลยดีกว่า

วิธีการรับมือหาก ลูกชอบโยนของ

ลูกชอบโยนของปาข้าวของ รับมืออย่างไร ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า หากลูกวัย 1 – 3 ขวบมีพฤติกรรมชอบโยนของ นั่นถือเป็นพฤติกรรมเรียนรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งเด็กที่อยู่ในวัยนี้ เป็นวัยที่กล้ามเนื้อกล้ามเนื้อ และทักษะทางร่างกายหลายๆ อย่างกำลังพัฒนา เด็กจึงรู้สึกตื่นเต้น และต้องการเรียนรู้ทดลองสิ่งต่างๆ ว่าเขาสามารถทำได้ด้วยตัวเองหรือไม่ และถ้าลองสังเกตดูก็จะเห็นว่าพอปาข้าวของเสร็จถ้าโดนดุ เด็กบางคนกลับยิ้มหัวเราะชอบใจด้วยซ้ำ เพราะเหมือนยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนเขาก็คือ ลูกชอบโยนของ ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าสิ่งใดโยนได้ สิ่งใดโยนไม่ได้ พร้อมกับแนะนำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเขาดังนี้

1.ชวนลูกเล่นเก็บของ

เมื่อเห็นลูกชอบโยนของ ปาข้าวของ คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะห้าม แต่น้อยคนนัก ที่จะมองว่าสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่นั้นอาจเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง เป็นเหมือนกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อแขน ลองให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่ ลูกชอบโยนของเพียงแต่แนะนำลูกว่าสิ่งไหนโยนได้ สิ่งไหนโยนไม่ได้เพราะอันตราย และเมื่อลูกเล่นเสร็จแล้ว คุณแม่เพียงแต่ชวนลูกมาเล่นเก็บของ โดยการเปิดเพลงที่ลูกชอบ แล้วชวนลูกมาเก็บของให้เสร็จก่อนที่เพลงจะจบ หรือไม่ก็ให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับลูก

2.สอนให้ลูกมีความรับผิดชอบ

เด็กวัย 1 – 3 ขวบจะเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ ได้ดี วัยนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักรับผิดชอบสิ่งที่ทำ หาก ลูกชอบโยนของ คุณแม่ต้องบอกว่า ถ้าโยนของเสร็จแล้ว จะต้องรู้จักเก็บของคืนที่ด้วย โดยแรกๆ คุณแม่อาจจะเก็บของให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง หาตะกร้า หรือลังมาเก็บของลูกโดยเฉพาะ เพื่อให้ลูกเก็บของลงตะกร้าให้เป็นระเบียบ ทำบ่อย ๆ ลูกก็จะเคยชิน และรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง

3.สอนลูกชัดเจนพฤติกรรมไหนทำได้ – ทำไม่ได้

การบอกสอนลูกอย่างชัดเจน กับพฤติกรรมที่ลูกทำได้ และทำไม่ได้ เช่นลูกชอบโยนของ การโยนอาหาร คุณแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า อาหารไม่ใช่ของเล่น โยนทิ้งไม่ได้ แต่หากลูกยังไม่สนใจยังทำต่อ จะต้องพูดให้หนักแน่น พร้อมกับจับมือลูกและบอกจริงจังว่า ไม่โยนอาหารเล่น เพราะอาหารคือของกิน ไม่ใช่ของเล่น แรกๆ ลูกอาจจะไม่ฟัง แต่เมื่อเกิดพฤติกรรมนั้นอีก คุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนอย่างใจเย็น และชัดเจนย้ำในเรื่องเดิมจนกว่าเขาจะเข้าใจ

4.ชื่นชมลูกเมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ดี

การชื่นชมลูกเมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ดี เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกไว้ เพราะการชื่นชมลูก เป็นการตอบสนองความพยายามของลูก ทำให้ลูกมีกำลังใจ และเรียนรู้ที่จะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ การชื่นชมนอกจากคำพูดแล้ว พ่อแม่จะต้องชื่นชมด้วยสีหน้า และรอยยิ้ม ต่อผลงานของลูกด้วยเพื่อให้ลูกเห็นอย่างชัดเจน

5.ลูกชอบโยนของเวลาโกรธ

การที่ลูกวัยเตาะแตะชอบโยนของ เพื่อเป็นการเรียนรู้ เขาจะสนุกเมื่อเห็นพ่อแม่ตามเก็บของที่โยนไป แต่หาก ลูกชอบโยนของเพราะมีอารมณ์โกรธ พร้อมทั้งมีพฤติกรรม โมโหร้าย อาละวาด ล้มลงไปชักดิ้นชักงอกับพื้น แบบนี้ถือเป็นการแสดงอารมณ์โกรธไม่ธรรมดา พ่อแม่จะต้องหันมาใส่ใจ พร้อมกับสอนไม่ให้ลูกแสดงความโกรธก้าวร้าวรุนแรงด้วยการจัดการความโกรธอย่างถูกต้อง 

เคล็ดลับสอนลูกให้เชื่อฟัง ไม่ใช้แต่อารมณ์

คุณพ่อคุณแม่ต่างก็อยากให้ลูกเป็นคนดี มีอารมณ์ที่ดี เพราะฉะนั้นการสอนลูกให้รู้จักวิธีควบคุมอารมณ์บริหารความโกรธ ไม่ให้ใช้แต่อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ เพราะลูกจะได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข วิธีการเลี้ยงลูก ให้เชื่อฟัง ไม่ใช้อารมณ์คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ไม่ยากดังนี้

  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น เพราะพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกได้ดีที่สุด เมื่อมีความโกรธให้นิ่ง อย่าโวยวาย ให้ปลีกตัวออกมา หายโกรธแล้วค่อยพูดคุยกับคนในครอบครัวอย่างนุ่มนวล หากลูกเห็นเป็นประจำ ก็จะซึมซับแบบอย่างที่ดีในการจัดการอารมณ์ความโกรธ
  • เข้าใจความโกรธของลูก เมื่อเห็นลูกโกรธคุณพ่อคุณแม่ควรบอกให้ลูกรู้ว่าความโกรธคือเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะโกรธ แต่สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักวิธีที่จะระงับสติอารมณ์ ไม่ให้ความโกรธรุนแรงขึ้นเป็นอันดับแรก การเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อให้อารมณ์นิ่งขึ้นเป็นสิ่งที่ควรแนะนำลูก และเมื่อลูกนิ่งพอแล้ว ให้ลูกเลือกวิธีจัดการกับความโกรธอย่างเหมาะสม โดยเปิดโอกาสให้ลูกได้คิด และเรียนรู้ โดยมีพ่อแม่คอยแนะนำประคับประคอง
  • ปล่อยลูกให้อยู่กับตัวเองก่อน หากลูกมีความโกรธที่ไม่รุนแรงมาก ควรปล่อยให้ลูกอยู่กับตัวเองจนกว่าจะใจเย็นลงก่อน พ่อแม่จึงเข้ามาถามรู้สึก พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าถึงความโกรธของเขาว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และควรใช้โอกาสนี้รับฟัง อย่าเพิ่งตำหนิลูก แต่ควรชี้ให้เขาเห็นว่าอะไรคือผลที่จะตามมา สอนให้ลูกรู้จักขอโทษ และให้อภัย และบอกถึงวิธีจัดการความโกรธที่เหมาะสมเช่น เมื่อโกรธให้ถอยออกมา สงบสติอารมณ์ก่อน แยกตัวไปเล่นกีฬา เล่นดนตรี เล่นกับสัตว์เลี้ยงเป็นต้น

ลูกชอบโยนของในวัยเตาะแตะถือเป็นการเรียนรู้ และอยากทดลองของลูก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรห้าม แต่ควรสอนลูกให้รู้จักเก็บของที่โยน ปา ทิ้งไปให้กลับมาอยู่ในที่จัดเก็บ แต่หากลูกชอบโยนของเพราะเป็นการระบายความโกรธแบบนี้ไม่ดีแน่ คุณแม่จึงควรสอนลูกให้รู้จักการจัดการอารมณ์ความโกรธ ไม่ให้โยนปาข้าวของทิ้ง แต่ให้รู้จักการระงับความโกรธอย่างเหมาะสม ทำบ่อยๆ ลูกก็จะค่อยๆ ซึมซับ และเลิกพฤติกรรมโยนของไปในที่สุด

 

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular