fbpx
Homeผู้หญิงอาการฟันผุ เป็นอย่างไร เช็กสาเหตุและวิธีการดูแลรักษาป้องกัน       

อาการฟันผุ เป็นอย่างไร เช็กสาเหตุและวิธีการดูแลรักษาป้องกัน       

ฟันผุ นับว่าเป็นโรคในช่องปากชนิดหนึ่งที่พบบ่อยมาก ๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่  และมักจะไม่ค่อยแสดงอาการทำให้พ่อแม่หรือหลาย ๆ คนมารู้อีกทีเมื่อเกิด อาการฟันผุ ไปแล้วและเมื่อฟันผุหลายคนก็มักจะละเลยไม่ไปหาหมอฟัน จนกว่าจะมีอาการรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งรู้หรือไม่ว่าโรคนี้สามารถเกิดการลุกลามได้ง่าย หากปล่อยไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษา  ฟันผุจะทำลายฟัน และอาจทำลายเส้นประสาทที่ไวต่อความรู้สึกได้ด้วย ทำให้เกิดการติดเชื้อไปถึงปลายรากฟัน และจุดจบคือต้อง ถอนฟัน และรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการใส่ฟันปลอม วันนี้เราเลยจะพาไปรู้จักกับสาเหตุ วิธีการป้องกันไม่ให้ฟันผุมาฝาก ไปดูกันเลยดีกว่า

อาการฟันผุ เป็นอย่างไร

อาการฟันผุเป็นอย่างไร หลายคนคงทราบกันดี แต่เพื่อเป็นการรักษาไม่ให้ฟันผุ ควรทราบว่าอาการฟันผุ เป็นอย่างไรดีที่สุด โดยอาการหลัก ๆ ที่เรามักจะสังเกตได้ง่าย ๆ มีดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก ของอาการฟันผุ จะเริ่มต้นโดยจะพบรอยโรคขุ่นขาวบริเวณเคลือบฟันหรือหลุมร่องฟันก่อน แต่ในระยะนี้อาจจะยังไม่รู้สึกถึงอาการเสียวฟันหรือปวดฟันแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นเพียงอาการเริ่มต้นเท่านั้น
  • ระยะที่สอง รอยขุ่นขาวบริเวณเคลือบฟันจะมีการแตกหักของเนื้อฟันจนเกิดรอยผุ และเป็นรูบนตัวฟัน ส่งผลทำให้เกิดอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันตามมา โดยเฉพาะในช่วงเวลามีเศษอาหารติดฟันจะยิ่งมีอาการปวดฟันขั้นรุนแรง
  • ระยะที่สาม จะเป็นอาการฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน ส่งผลทำให้มีอาการปวดร่วมกับการอักเสบของเหงือกและอวัยวะรอบ ๆ ฟัน และอาจทำให้เกิดอาการที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขั้นต้องทำการรักษาด้วยการ ถอนฟัน

สาเหตุของอาการฟันผุ

สาเหตุของอาการฟันผุ หลัก ๆ ก็คือ การรับประทานอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล เพราะน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม ล้วนเป็นอาหารโปรดของแบคทีเรียในช่องปาก เมื่อสะสมจำนวนมาก แบคทีเรียในช่องปากและน้ำตาล จะทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์ในลักษณะแผ่นฟิล์มปกคลุมผิวฟัน หรือที่เรียกว่า คราบพลัค ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคฟันผุ หินปูน หรือโรคเหงือกได้โดยที่เราไม่รู้ตัวนั่นเอง ตลอดจนการสะสมของเศษอาหารและการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ทั่วถึงก็เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุทำให้ฟันผุได้ง่ายเช่นกัน จึงทำให้การทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการฟันผุ นั่นเอง

วิธีการดูแลรักษาเมื่อฟันผุ

การดูแลสุขภาพช่องปากเรื่องที่สำคัญและพ่อแม่ทุกคนก็ไม่ควรละเลยเป็นอย่างมาก จุดเริ่มต้นของการดูแลฟันให้มีสุขภาพแข็งแรงคือการทำความสะอาดช่องปากตั้งแต่ลูกน้อยเริ่มมีฟัน ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง พร้อมกับการดูแลเอใจใส่สุขภาพช่องปากให้ดีอยู่ตลอดเวลา กับวิธีการดูแลง่าย ๆ ดังนี้

  1. ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน การใช้ไหมขัดฟันหรือน้ำยาทำความสะอาดซอกฟันเพื่อทำความสะอาดซอกฟัน และขจัดคราบพลัคและเศษอาหารที่แปรงสีฟันอาจเข้าไม่ถึงก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการดูสุขภาพฟันได้ดีไม่น้อยเลยทีเดียว
  2. ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ กำหนดเวลาตรวจสุขภาพฟันและทำความสะอาดเป็นประจำเพื่อตรวจหาและแก้ไขฟันผุในระยะแรก ทันตแพทย์อาจแนะนำการรักษาเพิ่มเติม เช่น การอุดฟันหรือครอบฟัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการผุ หากมีฟันผุควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ
  3. หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิด อาการฟันผุ ได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นการทานขนมหวาน การไม่ใส่ใจในเรื่องของการทำความสะอาดช่องปาก เพราะสิ่งเหล่านี้จะยิ่งทำให้ฟันผุมากขึ้น

การป้องกัน อาการฟันผุ

ไม่อยากฟันผุสามารถป้องกันได้ด้วยตนเองง่าย ๆ ได้เลย โดยการป้องกันไม่ให้ฟันผุ และไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในช่องปากสามารถทำได้ดังนี้

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งอย่างถูกวิธี การป้องกันฟันผุที่ง่ายที่สุด คือ การแปรงฟันให้ถูกวิธี โดยแปรงวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยการวางขนแปรงที่บริเวณคอฟันและขอบเหงือก ทำมุม 45 องศากับขอบเหงือก เพื่อให้ได้สัมผัสถึงขนแปรงที่ซอกซอนเข้าไปในร่องเหงือก ที่เป็นจุดสะสมของคราบพลัคที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดหินปูนได้ และเริ่มแปรงจากด้านนอกของฟันบนก่อน ขยับแปรงวนเป็นวงกลมสั้น ๆ แล้วค่อย ๆ ขยับแปรงไล่ไปด้านในของฟันบนแล้ว จึงตามด้วยฟันล่างทั้งด้านนอกและด้านใน
  • รับประทานอาหารเป็นมื้อ ไม่ทานจุบจิบ หลีกเลี่ยงการทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในช่องปาก เพราะจะทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง

อยากมีฟันสวย สุขภาพที่ดี เริ่มต้นได้ด้วยตนเองได้ง่าย ๆ หมั่นทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดอย่างถูกต้อง ใส่ใจสุขภาพฟัน หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีน้ำตาล หากไม่อยากให้ฟันผุ แค่รู้จักรักษาความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้อง ก็ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะเกิดปัญหาฟันผุตามมา

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular