fbpx
Homeการตั้งครรภ์อาการแท้ง มีกี่ประเภท และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการแท้งลูกได้      

อาการแท้ง มีกี่ประเภท และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการแท้งลูกได้      

การแท้งลูก นับว่าเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับหลาย ๆ และเป็นสิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ก็ต่างไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากการแท้งมีปัจจัยเสี่ยง และสาเหตุมากมาย แต่อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ท่านไหนที่กำลังมีแพลนตั้งท้อง สิ่งสำคัญก็คือ การวางแผนการตั้งครรภ์ให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิด การแท้งลูก นั่นเอง ซึ่งวันนี้เรามีปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลทำให้เกิดการแท้งมาฝาก เพื่อคุณแม่จะได้ระวังมากขึ้น พร้อมกับสัญญาณเตือน อาการแท้ง มีกี่ประเภท ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เกิดการแท้งได้ง่าย

อาการแท้ง มีกี่ประเภท แบบไหนบ้าง

อาการแท้งจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ประเภทดังต่อไปนี้

1.การแท้งแบบไม่สมบูรณ์ อาจเกิดจากยังมีบางส่วนที่ยังค้างอยู่ในโพรงมดลูก ทำให้เลือดออกไม่หยุด จำเป็นต้องทำการรักษาโดยการขูดมดลูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่

2.การแท้งแบบสมบูรณ์ เป็นอาการแท้งที่ไม่ต้องขูดมดลูก เนื่องจากร่างกายขับทารก รก และส่วนของเนื้อเยื้อออกมาหมดแล้ว อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการแท้งจะหายไปเอง

3.การแท้งแบบคุกคาม ลักษณะอาการแท้งจะมีเลือดออกกระปริดกระปรอย ไม่มีอาการปวดท้อง สาเหตุหลักเกิดจากความไม่สมดุลของทารก เมื่อมดลูกเกิดการบีบตัวจึงทำให้เกิดโอกาสแท้งได้สูงมาก

4.การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อาการแท้งที่เกิดจากครรภ์ได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง จนทำให้เลือดออกจากช่องคลอดมาก มีอาการปวดท้องน้อย ซึ่งเกิดจากการหดรัดของมดลูก และหากปากมดลูกเปิดออก จะทำให้ตัวอ่อนถูกขับออกมาทันที

5.การแท้งบุตรเป็นนิจ เป็นอาการแท้งที่เกิดตั้งแต่ท้องแรก โดยสาเหตุของการแท้งคือ เกิดจากมดลูกมีปัญหา ลูกคนที่สอง อาจจะเกิดอาการแท้งเหมือนกับท้องแรกได้เช่นกัน จำต้องปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการแท้ง และรับการรักษาอย่างถูกต้อง

รวมปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เสี่ยงแท้งมากขึ้น

รวมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแท้งซึ่งเกิดจากตัวของมารดาเอง และปัจจัยอื่น ๆ มีดังต่อไป

1.อาการแท้งอาจจะเกิดได้จากปัญหาสุขภาพระยะยาว โรคเรื้อรังที่เสี่ยงต่อการแท้งในช่วงอายุครรภ์ 3–6 เดือน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงรุนแรง โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคไต โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ และไฮโปไทรอยด์ เป็นต้น 

2.การติดเชื้อต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ หัดเยอรมัน เอชไอวี ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หนองในท้อง และเชื้อไวรัสซีเอ็มวี ตลอดจนโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการแท้ง

3.อาหารเป็นพิษ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแท้งได้ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน เช่น อาหารจากนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ อาหารดิบ ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ไข่ดิบหรือไข่ที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้คุณแม่มีโอกาสแท้งได้ง่าย

4.การใช้ยาบางชนิดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการแท้งได้ เช่น ยาเคมีบำบัด ยาเมโธเทรกเซต และไมโซพรอสทอลที่มักใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยาเรตินอยด์สำหรับรักษาสิว และโรคผื่นผิวหนังอักเสบ และอีกมากมาย เพราะฉะนั้นเมื่ออยู่ในระหว่างตั้งครรภ์จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องระวังในเรื่องของการใช้ยาต่าง ๆ

สัญญาณเตือนอาการแท้ง

สัญญาณของการแท้งบุตรที่พบได้บ่อยคือ คุณแม่จะมีเลือดออกทางช่องคลอด ร่วมกับมีอาการปวดท้องน้อย ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนอาการแท้งที่บ่งบอกได้ชัดเจน โดยอาจไหลออกมาเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การมีเลือดไหลทางช่องคลอดยังเป็นอาการที่พบได้ทั่วไประหว่างการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก ฉะนั้นเมื่อไหร่ที่มีเลือกออกทางช่องคลอดร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เกิดตะคริวอย่างรุนแรง ปวดเกร็งช่องท้องส่วนล่าง อ่อนล้า ไม่มีแรง ควรรีบพบแพทย์ทันที

ป้องกันการแท้งลูกได้อย่างไร

ส่วนมากอาการแท้งจะไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่ชัดเจนได้ ทำให้ไม่มีการป้องกันการแท้งที่ชัดเจน หรือให้ผลที่แน่นอนได้ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรักษาสุขภาพตนเองและลูกในครรภ์ให้แข็งแรง แต่เราสามารถลดปัจจัยเสี่ยงในการแท้งได้ โดยการ ไม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ หมั่นไปพบสูตินรีแพทย์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน 5 หมู่ โดยเน้นผักและผลไม้

การดูแลตัวเองหลังแท้งลูก

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่แท้งบุตรและเนื้อเยื่อจากการตั้งครรภ์ถูกขับออกไปหมดแล้ว ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาอีก แต่คุณแม่ที่มีอาการแท้ง และยังมีเนื้อเยื่อจากการตั้งครรภ์อยู่ภายในมดลูก แพทย์จะให้การแท้งดำเนินไปโดยธรรมชาติ และมีการขูดมดลูก ผู้ป่วยจะได้รับยาและคุณแม่เองจะต้องดูแลตนเองให้ดี หมั่นพบหมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอย่างเคร่งครัด

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการแท้งที่เรารวบรวมมาฝาก เพราะฉะนั้นคุณแม่ท่านไหนที่กำลังตั้งท้อง หรือกำลังวางแผนการตั้งครรภ์ ควรศึกษาและปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อน โดยเฉพาะในเรื่องของความพร้อมของร่างกาย เพราะสุขภาพที่ดีของคุณแม่ และลูกน้อยที่แข็งแรงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอดจนคลอด ฉะนั้นเมื่อไหร่ได้ทราบข้อมูลดี ๆ แบบนี้แล้ว เราจะสามารถดูแลตนเองได้ดียิ่งขึ้น หรือหากคุณแม่ท่านไหนที่เป็นกังวลใจควรปรึกษาแพทย์ตรวจร่างกายอย่างละเอียด และดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่ดีอยู่ตลอดเวลาด้วย

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular