ธาลัสซีเมีย เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่ต้องระวัง ซึ่งจะมีการตรวจหาพาหะชนิดนี้ ตั้งแต่ก่อนเริ่มตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยที่คลอดออกมาเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือหากใครที่ตั้งครรภ์แล้ว แพทย์ก็จะทำการตรวจในช่วงฝากครรภ์แรกๆ เพื่อมองหาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากบางคนอาจมี พาหะธาลัสซีเมีย แต่ไม่รู้ตัว จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อทำการตรวจโดยแพทย์นั่นเอง ซึ่งโรคนี้คืออะไร และมีผลต่อการตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหน เราจะพาคุณแม่ไปหาคำตอบกันค่ะ
พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร
ต้องอธิบายก่อนเลยว่า ธาลัสซีเมีย ก็คือโรคเลือดจาง เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงออกมาได้อย่างเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ ตัวซีด เจ็บป่วยได้ง่าย และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้สูงอีกด้วย ซึ่งคนที่เป็นธาลัสซีเมียจะแสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัด แต่ก็มีบางคนที่ไม่แสดงอาการ เนื่องจากเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ทำให้ไม่รู้ตัว และอาจถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกได้ หากไม่ได้รับการตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ
การตรวจหา พาหะธาลัสซีเมีย ในคนท้อง
โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติของการผลิตฮีโมโกลบินในร่างกาย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผู้ที่เป็นพาหะและอาจส่งต่อไปยังลูกหลานได้ การตรวจหาพาหะธาลัสซีเมียในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในทารก โดยมีวิธีการตรวจดังนี้
1.การตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin Typing)
การตรวจชนิดของฮีโมโกลบินเป็นการวิเคราะห์ประเภทของฮีโมโกลบินในเลือด ซึ่งช่วยให้ทราบว่าผู้ป่วยมีฮีโมโกลบินชนิดใดบ้าง ตั้งแต่ฮีโมโกลบิน A, A2, และ F โดยปกติผู้ป่วยที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะมีปริมาณฮีโมโกลบิน A2 ที่สูงกว่าปกติ การทำการตรวจนี้มักจะทำควบคู่กับการตรวจเลือดทั่วไปเพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำ
2.การตรวจคัดกรอง (Screening Test)
การตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียมักจะทำกับผู้หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ โดยจะมีการตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ระดับฮีโมโกลบินและค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การตรวจคัดกรองนี้สามารถตรวจหาอาการโลหิตจางได้ในระยะเริ่มต้น และหากพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคจะมีการส่งตัวไปตรวจยืนยันเพิ่มเติม การตรวจคัดกรองช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก
3.การตรวจดีเอ็นเอ (DNA Analysis)
การตรวจดีเอ็นเอเป็นวิธีการที่มีความแม่นยำสูงในการระบุพาหะธาลัสซีเมีย โดยการวิเคราะห์ยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งจะช่วยระบุความเสี่ยงในการเกิดธาลัสซีเมียในทารกได้ นอกจากนี้ยังสามารถระบุชนิดของธาลัสซีเมียที่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ การตรวจดีเอ็นเอมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนการดูแลรักษาและการจัดการโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คนท้องเป็น พาหะธาลัสซีเมีย มีผลอย่างไร
คนท้องที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย จะทำให้ลูกเกิดมาเป็นพาหะหรือเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ โดยขึ้นอยู่กับฝ่ายพ่อด้วย ว่าเป็นพาหะด้วยหรือไม่ โดยมีเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงดังนี้
- ลูกเป็นธาลัสซีเมีย 100% ถ้าพ่อและแม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย
- ลูกเป็นพาหะ 100% ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรค และอีกคนไม่เป็น
- ลูกมีโอกาสเป็นธาลัสซีเมียหรืออาจปกติ 25% ถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะทั้งคู่ และมีโอกาสที่จะเป็นพาหะเหมือนพ่อกับแม่ 50%
- ลูกมีโอกาสที่จะเป็นพาหะหรือปกติ 50% ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะ และอีกคนไม่เป็น
- ลูกมีโอกาสเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะ 50% ถ้าพ่อและแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรค และอีกคนเป็นพาหะ
ป้องกันอย่างไร ไม่ให้ลูกเป็นธาลัสซีเมีย
คงไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกเกิดมาเป็นธาลัสซีเมีย ซึ่งวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือการวางแผนก่อนตั้งครรภ์ โดยเข้ารับการตรวจกับแพทย์ว่าคุณและคู่รัก เป็นพาหะหรือโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ รวมถึงประเมินความเสี่ยงว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่ลูกจะเป็นโรคหรือพาหะธาลัสซีเมียมากน้อยแค่ไหน ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำต่อไปหากตรวจพบ
ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อเป็นโรคธาลัสซีเมีย
สำหรับใครที่เป็นธาลัสซีเมีย ควรดูแลตัวเองให้ดี เพื่อรับมือกับโรคดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเน้นให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ที่จะช่วยฟื้นฟูและเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากขึ้น
- ควรหลีกเลี่ยงพวกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะจะยิ่งทำให้อาการป่วยรุนแรงมากขึ้น โดยอาจจะต้องศึกษาสักนิดว่ามีอาหารชนิดใดบ้าง ที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เครื่องใด ผักคะน้า ถั่วแดง งาดำ และหอยนางรม เป็นต้น
- พยายามอย่าทำงานหนัก หรือออกกำลังกายที่หนักเกินไป เพราะจะทำให้เหนื่อยล้า อ่อนเพลียมากขึ้น และอาจเป็นอันตรายได้
อย่ามองข้ามพาหะธาลัสซีเมีย เพราะอาจทำให้ลูกเสี่ยงเป็นธาลัสซีเมียได้สูง ดังนั้นควรตรวจคัดกรองตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือหากใครที่ตั้งครรภ์แล้ว ก็ควรรีบฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด จะได้ตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และทำการรักษาหรือรับมือได้ทันนั่นเอง รวมถึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์มีความแข็งแรงมากที่