กล้ามเนื้ออ่อนแรง อีกอาการที่น่าเป็นห่วงของคุณแม่ตั้งครรภ์
เคยหรือไม่? ที่อยู่ ๆ ก็พูดไม่ชัด หรือไม่สามารถยกแขนขาได้ อาการเบา ๆ ก็แค่หนังตาตกเท่านั้นเอง อาการที่แสดงออกมาก็เป็น ๆ หาย ๆ ทำให้คุณไม่รู้สึกเอะใจว่าป่วยเป็นอะไรกันแน่ หากปล่อยทิ้งไว้ให้อาการหนักขึ้น อาจส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์ได้
ทำความรู้จักกับภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง มักเกิดกับกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า โดยมีการทำงานสื่อสารกันระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลายผิดปกติ อันเนื่องมาจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำลายตัวรับสัญญาณเส้นประสาทบนกล้ามเนื้อ ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้ในที่สุด อาการเริ่มต้นที่ควรสังเกตคือหนังตาตก กลืนอาหารลำบาก พูดเริ่มไม่ชัด และยกแขน-ขาไม่ขึ้น
ผลกระทบต่อรางกายจากภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแล้ว อาการที่ร้ายแรงของโรคนี้คือส่งผลต่อการหายใจและทรวงอกได้ หากร่างกายแข็งแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วอาการอาจจะไม่หนักมาก คือโรคนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อคุณแม่มีร่างกายที่อ่อนแอ และมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การติดเชื้อ เป็นไข้ อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป ความเครียดสะสม ออกกำลังกายเกินพอดี
การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ทราบแล้วว่าตนมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง วิธีการดูแลตัวเองคือสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะคุณแม่จะมีอาการเพลียและเหน็ดเหนื่อยง่ายกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ตั้งครรภ์เป็นเท่าตัว การพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ออกกำลังกายได้แต่ไม่ควรเลือกประเภทที่ใช้แรงเยอะ และเสริมที่ยึดจับเพื่อช่วยพยุงคุณแม่จะได้ไม่ออกแรงมากเกินไป และข้อสำคัญคือ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องหมั่นพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ถ้าไม่รักษาอาการนี้ให้ดีขึ้นหรือหายขาดแล้ว โอกาสที่จะส่งต่อไปยังคุณลูกในครรภ์ก็เพิ่มมากขึ้น เพราะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นแอนติบอดี้ที่ไม่ดีในร่างกาย ซึ่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์คือ ระบบกล้ามเนื้อและระบบหายใจที่จะก่อปัญหาหลังคลอดด้วย ซึ่งแพทย์จะเฝ้าระวังและดูแลอาการอย่างใกล้ชิด ประมาณ 3-4 สัปดาห์ อาการที่เป็นก็จะค่อย ๆ หายขาดไปเองค่ะ
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ