อีกสิ่งหนึ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รู้ไว้ก็คือเรื่อง หน้าที่ของน้ำคร่ำ และ ปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์ ว่าส่งผลต่อทารกมากน้อยแค่ไหน หรือเป็นสิ่งบ่งบอกถึงอันตรายอย่างไร เพื่อความเข้าใจและทราบให้แน่ชัดถึงอันตรายที่อาจเกิดกับลูกน้อยในครรภ์ได้ เรามาทำความรู้จักกับเรื่องนี้กันค่ะ
น้ำคร่ำ คืออะไร มาจากไหน และหน้าที่ของน้ำคร่ำคืออะไร
น้ำคร่ำ ส่วนใหญ่เกิดจากทารกในครรภ์ปัสสาวะออกมา และการขับของเหลวภายในปอดของทารก รวมถึงน้ำที่ซึมมาจากรกแต่นับเป็นส่วนน้อย เมื่อปริมาณน้ำคร่ำมีมากเกินไป ทารกจะกำจัดน้ำในครรภ์โดยการกลืนหรือการหายใจเข้าไป ซึ่งน้ำคร่ำนี้จะช่วยในเรื่องการขยายตัวของปอด ส่วนประกอบของน้ำคร่ำ คือ น้ำ 98% และสารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน กรดยูริก สารยูเรีย รวมไปถึง ปัสสาวะของทารก ขี้ไคลของทารก ขนอ่อน อีก 2%
หน้าที่สำคัญของ น้ำคร่ำ
นอกจากช่วยการขยายปอดของทารกในครรภ์แล้ว หน้าที่หลักของน้ำคร่ำคือเป็นเกราะป้องกันอันตราย ที่เกิดจากแรงกระแทกภายนอกครรภ์คุณแม่ด้วย น้ำคร่ำจะช่วยลดแรงกระแทก เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต รวมถึงพัฒนาการอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งน้ำคร่ำในครรภ์ต้องมีความสมดุลระหว่างการสร้างและกำจัดด้วย ถ้าสมดุลดังกล่าวเสียขึ้นมา จะแบ่งเป็นมีน้ำคร่ำมากเกินไป และมีน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติเกี่ยวกับร่างกายคุณแม่
หากน้ำคร่ำมีมากเกินไปอาจเกิดได้จาก
คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะเบาหวาน การตีบตันของหลอดอาหาร หรือทารกเกิดความผิดปกติด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งก็ตาม ย่อมต้องเกิดปัญหาเป็นธรรมดา กล่าวคือ จะมีปริมาณน้ำคร่ำคั่งค้างมากผิดปกติ ทำให้แม่มีอาการบวม ตึงที่ท้อง ทำให้ท้องของคุณแม่ดูใหญ่กว่าอายุครรภ์
หากเป็นปริมาณน้ำคร่ำน้อยผิดปกติล่ะ
บ่งบอกได้ว่าการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ผิดปกติแล้ว ซึ่งรูปร่างของทารกมีความเสี่ยงผิดปกติ เพราะทารกเติบโตในโพรงมดลูกที่แคบผิดปกติ และยังอาจจะส่งผลต่อทารกในขณะคลอด รวมถึงมีโอกาสที่ทารกจะขาดออกซิเจนเนื่องจากน้ำคร่ำน้อย ทำให้การจำกัดหรือการหายใจเข้าทำได้ไม่เต็มที่ด้วย แม้จะช่วยทารกได้ทัน แต่มีโอกาสส่งผลต่อสมอง ทำให้สมองพิการตั้งแต่กำเนิด หรือมีปัญหาทางสมองตามมาภายหลัง
สูติแพทย์จึงจำเป็นที่จะต้องเจาะท้องเพื่อวัดปริมาณน้ำคร่ำ ให้ทราบถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ และเตรียมรับมือถ้ามีอันตรายกับทารกในครรภ์แล้ว
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ